ผู้วิจัย นางญาณินท์ จิตตุรงค์อาภรณ์
ปี พ.ศ. 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 2) พัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 4) ประเมินรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 งานวิจัยเป็นงานวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา/รักษาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 141 คน ครู จำนวน 141 คน นักเรียน จำนวน 18,619 คน ภาคีเครือข่าย จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกประเด็นการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ แบบรายงานผลการดำเนินงาน แบบตรวจสอบและยืนยันรูปแบบ แบบประเมินคุณภาพผู้เรียน และแบบประเมินคุณภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 มีดังนี้
1.1 สภาพปัจจุบันการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ในภาพรวมและรายด้าน 4 ด้าน อยู่ในระดับน้อย
1.2 ปัญหาการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 อยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 แนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม PIEAS มี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการวางแผนพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Planning) 2) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการปฏิบัติกิจกรรมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน (Implementation) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการประเมินระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Evaluation 4) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการทบทวนหลังปฏิบัติงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (After Action Review) 5) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการยินดีกับความสำเร็จระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Success Sharing)
2. รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ทิศทางของรูปแบบ ระบบและกลไกของรูปแบบ กระบวนการของรูปแบบ ผลลัพธ์ของรูปแบบ เงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้ ซึ่งมีผลการตรวจสอบความถูกต้อง ครอบคลุม ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 มีดังนี้
3.1 ด้านคุณภาพของผู้เรียน พบว่า ผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียนหลังการใช้รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ
3.2 ด้านคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา พบว่า โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 อยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป
4. ผลการประเมินรูปแบบด้านความถูกต้องครอบคลุม ความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 4 ด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความถูกต้องครอบคลุม ตามลำดับ