|
|
ชื่อเรื่อง : รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้างสุขด้วยกระบวนการ PDC2A โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1
ผู้วิจัย : สุธีรัตน์ อริเดช
ปีที่พิมพ์ : 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการ จำเป็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้างสุข 2) พัฒนารูปแบบ การบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้างสุขด้วยกระบวนการ PDC2A 3) ศึกษาผล การใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้างสุขด้วยกระบวนการ PDC2A และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้างสุขด้วย กระบวนการ PDC2A โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์ และความ ต้องการจำเป็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้างสุข โดยสอบถามความ คิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 83 คน ครูหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ จำนวน 83 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อ พัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้างสุขด้วยกระบวนการ PDC2A โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และ ตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้าง สุขด้วยกระบวนการ PDC2A โดยการสอบถามความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ จำนวน 18 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 83 คน ครูหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ จำนวน 83 คน การประเมิน คุณภาพห้องเรียนสร้างสุข โดยการประเมินของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 3 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 18 คน และสอบถามความพึงพอใจของผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 83 คน ครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 581 คน ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการบริหาร แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้างสุขด้วยกระบวนการ PDC2A โดยการสอบถามความ คิดเห็นของศึกษานิเทศก์ จำนวน 18 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 83 คน ครูหัวหน้ากลุ่ม บริหารวิชาการ จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และ แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารแบบมีส่วน ร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้างสุข โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลำพูน เขต 1 พบว่า มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ด้านที่ 4 โอกาส มีความ ต้องการในการพัฒนามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านที่ 2 ความเสมอภาค ด้านที่ 3 ความปลอดภัย ด้าน ที่ 1 บรรยากาศ และด้านที่ 5 คุณภาพผู้เรียน ตามลำดับ
2. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้างสุขด้วยกระบวนการ PDC2A โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ใช้หลักการบริหาร แบบมีส่วนร่วม และการบริหารจัดการคุณภาพ (PDCA) ซึ่งประกอบด้วย 1) ชื่อรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) หลักการของรูปแบบ 4) กระบวนการของรูปแบบ ได้แก่ 4.1) การร่วมวางแผน 4.2) การร่วมดำเนินการ 4.3) การร่วมตรวจสอบ ประเมินผล 4.4) การร่วมปรับปรุงพัฒนา 4.5) การร่วม ชื่นชมยินดี 5) แนวทางการประเมินผลรูปแบบ และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ส่วนการ ตรวจสอบร่างรูปแบบ ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพบว่า ด้านความเป็นไปได้ ระดับความคิดเห็นมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง ตามลำดับ
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้างสุขด้วย กระบวนการ PDC2A โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 พบว่า
3.1 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้าง สุขด้วยกระบวนการ PDC2A โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพบว่า ขั้นตอนที่ 5 การร่วมชื่นชมยินดี ระดับความ คิดเห็นมากที่สุด รองลงมา คือ ขั้นตอนที่ 1 การร่วมวางแผน ขั้นตอนที่ 4 การร่วมปรับปรุงพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 การร่วมดำเนินการ และขั้นตอนที่ 3 การร่วมตรวจสอบ ประเมินผล ตามลำดับ
3.2 ผลการประเมินคุณภาพห้องเรียนสร้างสุข พบว่า 1) ประเภทสถานศึกษา มี สถานศึกษาที่มีจำนวนหองเรียนผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานหองเรียนสร้างสุข ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป ของจำนวนห้องเรียนทั้งหมดในโรงเรียน จำนวน 23 โรงเรียน และสถานศึกษาที่มีจำนวนห้องเรียน ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานห้องเรียนสร้างสุข ตั้งแต่ร้อยละ 30 ขึ้นไป ของจำนวนห้องเรียนทั้งหมดใน โรงเรียน จำนวน 10 โรงเรียน 2) ประเภทผู้บริหารสถานศึกษา มีผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลงานด้าน การบริหารจัดการพัฒนาห้องเรียนสร้างสุข ระดับดีเยี่ยม (One of the best) จำนวน 4 รางวัล และ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลงานระดับดีเยี่ยม จำนวน 7 รางวัล 3) ประเภทครูผู้สอน มีครูผู้สอนที่มี ผลงานการพัฒนาห้องเรียนตามมาตรฐานห้องเรียนสร้างสุข รางวัลชนะเลิศระดับดีเยี่ยม (One of the best) จำนวน 9 รางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับดีเยี่ยม จำนวน 9 รางวัล และรางวัลรอง ชนะเลิศอันดับ 2 ระดับดีเยี่ยม จำนวน 8 รางวัล นอกจากนี้ มีครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม พัฒนาผู้เรียน พัฒนาห้องเรียนตามมาตรฐานห้องเรียนสร้างสุข ระดับดีเยี่ยม/ดีมาก/ดี จำนวน 227 คน/ห้องเรียน
3.3 ความพึงพอใจที่มีต่อห้องเรียนสร้างสุข ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ที่สุด โดยพบว่า ด้านที่ 1 บรรยากาศ ระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านที่ 2 ความเสมอ ภาค ด้านที่ 5 คุณภาพผู้เรียน ด้านที่ 3 ความปลอดภัย และด้านที่ 4 โอกาส ตามลำดับ
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพห้องเรียนสร้างสุข ด้วยกระบวนการ PDC2A โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ ระดับความคิดเห็น มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสม ตามลำดับ
คำสำคัญ : รูปแบบการบริหาร การบริหารแบบมีส่วนร่วม ห้องเรียนสร้างสุข
|
โพสต์โดย สุธีรัตน์ : [22 ธ.ค. 2567 (05:23 น.)] อ่าน [58] ไอพี : 58.11.93.49
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 44,668 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,808 ครั้ง
| เปิดอ่าน 26,057 ครั้ง
| เปิดอ่าน 9,300 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,787 ครั้ง
| เปิดอ่าน 8,594 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,442 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,918 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,992 ครั้ง
| เปิดอ่าน 65,595 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,245 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,066 ครั้ง
| เปิดอ่าน 96,472 ครั้ง
| เปิดอ่าน 19,535 ครั้ง
| เปิดอ่าน 29,519 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 26,632 ครั้ง
| เปิดอ่าน 1,534 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,729 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,794 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,436 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|