โรงเรียนบ้านนิบงพัฒนา มีนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการจัดประสบการณ์ปฐมวัย ที่เกิดจากปัญหาในชั้นเรียน นั่นคือ เด็กมีพัฒนาการด้านการใช้กรรไกรตัดกระดาษอยู่ในระดับที่ควรส่งเสริม ทางโรงเรียนจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้คิดค้นนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา โดยใช้นวัตกรรม หนูน้อยสร้างสรรค์ มหัศจรรย์ด้วยพลังมือ เพื่อให้เด็กมีกล้ามเนื้อมือและตาที่ประสานสัมพันธ์กัน สามารถบังคับการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ กล้ามเนื้อมือ ไหล่ ให้ประสานสัมพันธ์กัน และมีความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านการใช้กรรไกรตัดกระดาษที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์
1 เพื่อให้เด็กมีกล้ามเนื้อมือและตาที่ประสานสัมพันธ์กัน
2 เพื่อให้เด็กสามารถบังคับการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ กล้ามเนื้อมือ ไหล่ ให้ประสานสัมพันธ์กัน
3 เพื่อให้เด็กมีความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
เป้าหมาย
1 เชิงปริมาณ นักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 จำนวน 176 คน
2 เชิงคุณภาพ เด็กมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมือและตาที่ประสานสัมพันธ์กัน สามารถบังคับการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ กล้ามเนื้อมือ ไหล่ ให้ประสานสัมพันธ์กัน และมีความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการ วิธีการและนวัตกรรมที่เป็น Best Practice
4.1 การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม ครูผู้สอนจัดกิจกรรมในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่
4.1.1 ลูกชิ้นเรนโบว์ : เป็นการปั้นดินน้ำมันให้เป็นลูกชิ้นตามจินตนาการ โดยใช้ดินน้ำมันหลากสี
4.1.2 นักคีบตัวจิ๋ว : เป็นการคีบลูกปัดหลากสีให้ตรงตามจำนวนตัวเลขและสีตามที่กำหนด
4.1.3 นักคีบจอมพลัง : เป็นการคีบที่ใช้ตัวคีบที่หลากหลาย คือ ตัวคีบไม้ ตัวคีบพลาสติก ตัวคีบสเตนเลส และใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จะคีบอย่างหลากหลาย คือ แผ่นกระดาษเรียบ กระดาษที่ขยำเป็นก้อน ลูกปิงปอง
4.1.4 ร้อยเชือกมหาสนุก : เป็นการร้อยเชือกตามรูปแบบที่กำหนดอย่งหลากหลาย เช่น รูปรองเท้า รูปเสื้อ รูปผลไม้ เป็นต้น
4.1.5 หนูน้อยนักดีไซน์ : เป็นการใช้กรรไกรตัดกระดาษตามรูปแบบเสื้อ แล้วนำไปออกแบบลวดลายตามจินตนาการของเด็ก โดยใช้สื่อวัสดุตามธรรมชาติ
4.1.6 สานนี้เพื่อหนู : เป็นการใช้กระดาษสีที่หลากหลายมาสานบนรูปภาพตามจินตนาการของเด็ก
ผลการดำเนินงาน
เด็กปฐมวัยทุกคน มีพัฒนาการกล้ามเนื้อมือและตาที่ประสานสัมพันธ์กัน สามารถบังคับการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ กล้ามเนื้อมือ ไหล่ ให้ประสานสัมพันธ์กัน และมีความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก อยู่ในระดับดี ร้อยละ 86.36