ชื่อเรื่อง รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SPARPS Model โดยใช้ชุดสื่อประสมคำคล้องจองประกอบภาพเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ชุด คำคล้องจองเพลินใจ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย นางอุมาพร รุ่งเรือง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนหินกอง (พิบูลอนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี
เขต 2
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SPARPS Model โดยใช้ชุดสื่อประสมคำคล้องจองประกอบภาพเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ชุด คำคล้องจองเพลินใจ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SPARPS Model โดยใช้ชุดสื่อประสมคำคล้องจองประกอบภาพเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ชุด คำคล้องจองเพลินใจ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SPARPS Model โดยใช้ชุดสื่อประสมคำคล้องจองประกอบภาพเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ชุด คำคล้องจองเพลินใจ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) ศึกษาความสามารถด้านทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SPARPS Model โดยใช้ชุดสื่อประสมคำคล้องจองประกอบภาพเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ชุด คำคล้องจองเพลินใจ 4) ศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SPARPS Model โดยใช้ชุดสื่อประสมคำคล้องจองประกอบภาพเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ชุด คำคล้องจองเพลินใจ สำหรับเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนหินกอง (พิบูลอนุสรณ์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน และครูที่ปฏิบัติการสอนเด็กปฐมวัยในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์จัดประสบการณ์การเรียนรู้ SPARES Model โดยใช้สื่อประสมคำคล้องจองประกอบภาพ 2) แบบทดสอบวัดทักษะความสามารถทางภาษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t – test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้สื่อประสมหนังสือคำคล้องจองประกอบภาพเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา ชุด คำคล้องจองเพลินใจ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีชื่อเรียกว่า SPARES Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดประสบการณ์ สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนองซึ่งกระบวนการจัดประสบการณ์มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นกระตุ้นเร้า (Stimulus : S) ชั้นตอนที่ 2 ขั้นวางแผน (Plan : P) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นเรียนรู้ (Active Leaming : A) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นซ้ำทวน (Repeat : R) ขั้นตอนที่ 5 ขั้นนำเสนอ (Presentation : P) และขั้นตอนที่ 6 ขั้นแบ่งปัน (Share Ideas : S)
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SPARPS Model โดยใช้ชุดสื่อประสมคำคล้องจองประกอบภาพเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ชุด คำคล้องจองเพลินใจ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.25/85.41 สู่งกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ความสามารถด้านทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SPARPS Model โดยใช้ชุดสื่อประสมคำคล้องจองประกอบภาพเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ชุด คำคล้องจองเพลินใจ พบว่าเด็กปฐมวัยผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนเด็กปฐมวัยทั้งหมด ซึ่งสู่งกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ SPARPS Model โดยใช้ชุดสื่อประสมคำคล้องจองประกอบภาพเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ชุด คำคล้องจองเพลินใจ มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด