The Development of Administrative Model on School-Based Management to Enhance the Effectiveness of Operations in the International Standard School of Traimit Wittayalai School Affiliated to The Secondary Educational Service Area Office 1
พิสิษฐ์ ศุภวัฒน์ธนบดี
Pisit Suppawattanabodee
ปีการศึกษา 2565-2567
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) พัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียน ไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ขั้นตอนที่ 3 การทดลองรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ในการดำเนินการในขั้นตอนที่ 4 ผู้วิจัยได้ดำเนินการประเมิน โดยการใช้แบบประเมิน 2 ด้าน คือ 1) ด้านความเป็นไปได้ (Feasibity) และ 2) ด้านความประโยชน์ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า การบริหารงานงบประมาณ มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การบริหารงานวิชาการ มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด การบริหารงานทั่วไป มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และการบริหาร งานบุคคล มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย 3 วิธี ได้แก่ 1) การสังเคราะห์ องค์ประกอบ จากแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การยืนยันองค์ประกอบโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารการศึกษา และมีความเต็มใจให้ความคิดเห็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) การศึกษาความเหมาะสมขององค์ประกอบ สรุปผลดังนี้
2.1 ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบ จากการสังเคราะห์องค์ประกอบ จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของผู้วิจัยในเบื้องต้น พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไปในแต่ละองค์ประกอบ จะประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ได้แก่ หลักการกระจายอำนาจ หลักการมีส่วนร่วม หลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน หลักการบริหารจัดการตนเอง และหลักการตรวจสอบถ่วงดุล จากองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ 20 องค์ประกอบย่อย และ 140 ตัวชี้วัด
2.2 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงาน โรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวม มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า การบริหารงานวิชาการ มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน และการบริหารงานบุคคล มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ผลการประเมินด้านความเป็นไปได้ (Feasibity) และด้านความเป็นประโยชน์ (Utility) โดยผู้เกี่ยวข้องและผู้ใช้ได้ประเมินรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยภาพรวม พบว่า รูปแบบมีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ ในการใช้งานจริงของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุดและด้านความเป็นไปได้ของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: รูปแบบการบริหาร, การบริหาร, โรงเรียนเป็นฐาน, โรงเรียนมาตรฐานสากล
Abstract
This research is a Research and Development (R&D) Project aimed at achieving the following objectives: 1), to examine an administrative model on school-based management to enhance the effectiveness of operations in the international standard school of Traimit Wittayalai School affiliated to The Secondary Educational Service Area Office 1, 2)to develop an administrative model on school-based management to enhance an effectiveness of operations in the international standard school of Traimit Wittayalai School Affiliated to The Secondary Educational Service Area Office 1, and 3)to evaluate an administrative model on school-based management to enhance an effectiveness of operations in the international standard school of Traimit Wittayalai School Affiliated to The Secondary Educational Service Area Office 1.
The results of the research were as follows :
1. The level of school-based management condition to enhance an effectiveness of operations in the international standard school of Traimit Wittayalai School affiliated to The Secondary Educational Service Area Office 1, was in the highest level.
2. The results of the development of administrative model on school-based management to enhance the effectiveness of operations in the international standard school of Traimit Wittayalai School affiliated to The Secondary Educational Service Area Office 1 using 3 research methodologies including elements from related theories and synthesized research, interviewing the sample of experts who possessed knowledge and expertise in education administration and were willing to provide opinions served as confirmation of the composition in the development of administrative model on school-based management to enhance the effectiveness of operations in the international standard school of Traimit Wittayalai School affiliated to The Secondary Educational Service Area Office 1, and he results of the study on the suitability of the elements could be summarized as follows:
2.1 Referring to results from element synthesis from concepts, relevant studies and theories, the researcher’s theories and associated research, it could be concluded that it was composed of the following four components including academic, general, budget, and personnel administrations. The principle of self-management and the principle of checks and balances from the elements of the development of administrative model on school-based management to enhance the effectiveness of operations in the international standard school of Traimit Wittayalai School affiliated to The Secondary Educational Service Area Office 1 consisted of 4 components, 20 sub-components, and 140 indicators.
2.2 The results of the development of administrative model on school-based management to enhance the effectiveness of operations in the international standard school of Traimit Wittayalai School affiliated to The Secondary Educational Service Area Office 1 was in the highest level of measurement of development. The academic administrations exhibited the highest level of development after analyzing each aspect in descending order of average, followed by the budget administrations and general administrations which exhibited the same degree of development and personnel administrations.
3. The results of the evaluation of the development of administrative model on school-based management to enhance the effectiveness of operations in the international standard school of Traimit Wittayalai School affiliated to The Secondary Educational Service Area Office 1 based on assessment of feasibility by administrative model on school-based management of stakeholders showed that both factors were in the highest level.
Keywords : Administrative Model, Administration, School-Based Management, The International Standard School