ความพอดีกับชีวิตในการบริหารจัดการสถานศึกษา หมายถึง ความพอประมาณ การใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความมีเหตุผล การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริงและเหตุผล ไม่ใช่อารมณ์หรือความต้องการส่วนตัว และมีภูมิคุ้มกันในการสร้างระบบที่แข็งแรงและยืดหยุ่น สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตได้
จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างสมดุลในการมองหาจุดสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า พัฒนานวัตกรรมที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากร เช่น พลังงาน น้ำ และวัตถุดิบ การสร้างภูมิคุ้มกัน พัฒนาระบบการบริหารที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงได้ การกระจายอำนาจ ส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยนำเป้าหมาย SDGs มาเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างสังคมที่เท่าเทียม และการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน ตลอดจนการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน พัฒนานวัตกรรมที่ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดการสร้างขยะ และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ส่งเสนิมสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี พัฒนานวัตกรรมที่ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสให้กับทุกคน สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งเสริมความสุขและความพึงพอใจในการทำงาน
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
กระบวนการหรือวิธีการในการผลิต และการพัฒนานวัตกรรม โดยมีขั้นตอนต่อเนื่องสัมพันธ์กันและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม "พอดีกับชีวิต สู่ความสุขที่ยั่งยืน"
นวัตกรรม "พอดีกับชีวิต สู่ความสุขที่ยั่งยืน" เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการสร้างความสมดุลในชีวิต การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน มีการวางแผนและดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายและขอบเขตของนวัตกรรม Setting
ระบุปัญหา กำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข ความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ไม่พอดี เกินฐานะ ทำให้ตนเองมีความเดือดร้อน
กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการครู นักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
กำหนดผลลัพธ์ที่คาดหวัง ข้าราชการครู นักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 มีความพอดี มีวิถีชีวิตพอเพียง นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
2. ศึกษาข้อมูลและพัฒนานวัตกรรม Information
ศึกษาข้อมูล ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความพอเพียง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พัฒนานวัตกรรม พัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับปัญหาและเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้และทรัพยากรที่มีในบริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 และสถานศึกษาในสังกัด
3. วางแผนการดำเนินงาน Plan
จัดทำแผนปฏิบัติการ กำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการ กำหนดระยะเวลา และกำหนดผู้รับผิดชอบ
จัดสรรงบประมาณ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และหาแหล่งเงินทุน
สร้างความร่วมมือ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน
4. ดำเนินการ Process
สื่อสารและประชาสัมพันธ์ สื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจถึงแนวคิดและประโยชน์ ของนวัตกรรม "พอดีกับชีวิต สู่ความสุขที่ยั่งยืน"
ฝึกอบรม จัดอบรมให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ติดตามและประเมินผล ติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงาน และประเมินผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
5. ขยายผลและสร้างความยั่งยืน "Expand and sustainability"
เผยแพร่ผลสำเร็จ เผยแพร่ผลสำเร็จของนวัตกรรมเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่น
สร้างเครือข่าย สร้างเครือข่ายกับกลุ่มคนที่สนใจในแนวคิดพอดีกับชีวิต สู่ความสุขที่ยั่งยืน
พัฒนาต่อยอด พัฒนาและปรับปรุงนวัตกรรม พอดีกับชีวิต สู่ความสุขที่ยั่งยืน
ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป