การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์รีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ไฝ่เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้สอนจะต้องศึกษาเป้าหมายและปรัชญาของการจัดการเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการและผู้เรียนเป็นสำคัญ แล้วพิจารณาเลือกนำไปใช้ออกแบบกิจกรรมที่หลากหลายให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ เหมาะกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและแหล่งความรู้ท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ที่โรงเรียนจะต้องจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เทียบเคียงมาตรฐานสากล (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒. ๒๕๕๒: ๓)
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลกยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความ รู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. ๒๕๕๑: ๕)
จากจุดเน้นตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่สอดคล้องตามจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่เน้นการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นสำคัญและมุ่งให้นักเรียนได้ค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้ชี้แนะให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ผู้วิจัยจึงได้ศึกษารูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL Model เพื่อนำมาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จากการศึกษาปัญหาในการเรียนการสอนวิซาวิทยาการคำนวณของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองเต็งพบว่านักเรียนยังใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานในการเรียนในระดับที่สูงต่อไป ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning Model (CBL) เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
จากการศึกษาปัญหาในการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองเต็งพบว่านักเรียนยังใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งมีความสำคัญและจำเปั่นอย่างยิ่งสำหรับการนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานในการเรียนในระดับที่สูงต่อไป จึงได้จัดการเรียนการสอนโดยแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning Model (CBL) ดังนี้
การสอนแบบสร้างสรรค์เปั่นฐาน Creativity-based Learning Model (CBL) รูปแบบการสอนนี้ได้ทำการวิจัยต่อยอดมาจาก Problem-based Learning (PBL) ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางซึ่งได้ผลดีในหลายประเทศ เป็นการสอนแบบ Active Learning คือการจัดการสอนให้ผู้เรียนตื่นตัวในการเรียนการกันคว้าแทนที่จะรอรับการบรรยายแบบเดิม ผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้บรรยายเนื้อหาต่างๆ อย่างละเอียดมาเป็นผู้อำนวยการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีขั้นตอนการ
เรียนการสอนดังนี้
ขั้นที่ ๑ ขั้นกระตุ้นความสนใจ เช่น ใช้สื่อรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพ คลิปวิดีโอ ข่าวเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
ขั้นที่ 2 ขั้นตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ผู้เรียนจะช่วยกันตั้งปัญหาที่ตนเองสงสัยจากสื่อที่ผู้สอนนำเสนอ เมื่อผู้เรียนพบปัญหาที่สงสัยแล้วจึงทำการแบ่งกลุ่ม
ขั้นที่ ๓ ขั้นค้นคว้าและคิด ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดและค้นคว้าหาคำตอบจากแหล่งข้อมูล
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้สอนจะเดินให้คำปรึกษาเวลาที่ผู้เรียนมีปัญหาตามกลุ่ม
ขั้นที่ ๔ ขั้นนำเสนอผลงาน ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานสิ่งที่ได้ไปค้นคว้ามา อย่างสร้างสรรค์
ชั้นที่ ๕ ขั้นประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้โดยประเมินจากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมการทำงานกลุ่ม และชิ้นงานและทำการสอนโดยกระบวนการ ๘ ข้อ และบรรยากาศ ๙ ข้อ ต่อไปนี้
กระบวนการ ๘ ข้อ
๑. สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความอยากรู้ (Inspiration)
๒. เปิดโอกาสให้ค้นหา รวบรวมข้อมูล แยกแยะและนำมาสร้างเป็นความรู้ (Self-study)
การสอนมักจะทำเมื่อมีคำถาม เป็นการสอนแบบรายคนหรือรายกลุ่ม มากกว่าการสอนรวม
๓. ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง (Individual problem solving)
๙.. ใช้เกมให้มีส่วนในการเรียนรู้ในห้องเรียน (Game-based learning)
๕. แบ่งกลุ่มทำโครงงาน (team project)
๖. ให้นำเสนอผลงานด้วยวิธีการต่างๆอย่างสร้างสรรค์ (creative presentation)
๗. ใช้การวัดผลที่เป็นการวัดผลด้านต่างๆ ออกมา ตามเป้าหมายที่ได้ออกแบบไว้
๘. Informal assessments and multidimensional assessment Tools