1. ความเป็นมาและความสำคัญของวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
กระบวนการนำไปสู่การพัฒนาความรู้ความคิดควรเริ่มต้นวางรากฐานเพื่อเป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและเต็มตามศักยภาพ การศึกษาเป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนาบุคคลให้มีความเจริญงอกงามตามทิศทางที่สังคมปรารถนาโดยพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของสังคมเพราะการศึกษาเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติต่อไป การศึกษาจะต้องสร้างคนให้เป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขนั่นคือทำให้คนไทยมีคุณภาพที่พึงประสงค์โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ รักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต รู้จักคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ มีเหตุผล มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2545 โดยหมวดที่ 6 มาตรา 47 กล่าวไว้ว่าให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบประกันคุณภาพภายในและระบบประกันคุณภาพภายนอก หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและมาตรา 48 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
โรงเรียนบ้านปาโจเป็นโรงเรียนขนาดกลางจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล) ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนแต่ละปีประมาณ 189 คนมีครูและบุคลากรทางการศึกษา 18 คน ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาคุณภาพโดยทั่วไปอยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตามจากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกปีงบประมาณ 2565 มีผลการประเมินในรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านปาโจ ในรอบที่ 4 ได้ให้ข้อเสนอแนะโรงเรียนไว้ว่า ควรจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษากำหนดแผนงานโครงการ/กิจกรรมในการพัฒนาโดยกำหนดเป้าหมาย ระบุวิธีการดำเนินงาน วิธีการประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน โดยเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ว่าเป็นไปตามแผนหรือสูงกว่าแผนหรือต่ำกว่าแผนโดยการนำผลจากการประเมินในปีที่ผ่านมาหรือผลการประเมินคุณภาพภายนอกหรือผลจากการชี้แนะในการกำกับหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและการรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เช่น การประชุมครูหรือผู้ปกครองหรือการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นต้น
วาระสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบันการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า15 ปีซึ่งสูงมากกว่าอุบัติเหตุจราจรถึง 2 เท่า การสอนเด็กให้ว่ายน้ำเป็น รู้จักวิธีการเอาชีวิตรอดและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการจมน้ำของเด็ก ซึ่งกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขเผยแพร่ข้อมูลจากมรณบัตร ในปี พ.ศ.2562 มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำสูงถึง 3,306 ราย เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 559 ราย ส่วนข้อมูลจากคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) ของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าในปี 2565 นี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 30 กันยายน 2566 มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีประสบเหตุจมน้ำมากถึง 692 ราย (การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการพลัดตกน้ำ ว่ายน้ำไม่เป็น ขาดทักษะการเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือที่ถูกต้อง
จากมูลเหตุดังกล่าว หากจะป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการตายจากการจมน้ำของเด็กจำเป็นจะต้องฝึกหัดให้เด็กในกลุ่มเสี่ยงได้ฝึกหัดว่ายน้ำหรือว่ายน้ำเป็นและเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีช่วยชีวิตคนจากการจมน้ำแบบวิธีช่วยเหลือมาตรฐานสากลโดยใช้อุปกรณ์ใกล้มือ จากข้อมูลพบว่าเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปีว่ายน้ำเป็นร้อยละ16.3 และเด็กส่วนใหญ่ไม่เรียนว่ายน้ำจนกว่าอายุ 9 ปีขึ้นไป ยิ่งไปกว่านั้น การเรียนว่ายน้ำในปัจจุบันของเด็กยังอยู่ในวงจำกัด เช่น สระว่ายน้ำที่มีอยู่มีจำนวนไม่มาก โอกาสในการเข้าถึงสระว่ายน้ำ ทัศนคติของผู้ปกครอง ขาดบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับทักษะความปลอดภัยทางน้ำ และการสอนว่ายน้ำที่มีอยู่ยังไม่เน้นในเรื่องของทักษะความปลอดภัยทางน้ำ วิธีการเอาชีวิตรอดและวิธีการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำซึ่งเป็นทักษะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นที่เด็กควรจะได้เรียนรู้ ประกอบกับข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่า สาเหตุการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กส่วนใหญ่เกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก การขาดทักษะการเอาชีวิตรอดและทักษะการช่วยชีวิต โดยมักจะพบบ่อยในกลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปี การจัดการศึกษาและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (ฉบับที่3) พ.ศ.2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 มาตรา24(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมสื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้
โรงเรียนบ้านปาโจได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้กับนักเรียนตลอดระยะเวลา 6 ปีการศึกษาที่ผ่านมาทำให้เด็กนักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะในการเอาตัวรอดในการจมน้ำได้ จึงมีผลทำให้ โรงเรียนบ้านปาโจไม่มีนักเรียนเสียชีวิตจากการจมน้ำ ต่อมาในปีการศึกษา 2564 กรรมการสถานศึกษาจึงมีแนวคิดสร้างสระว่ายน้ำสำหรับเด็กนักเรียนขึ้น เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนในวิชาเสริมหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น ซึ่งมีแหล่งน้ำอยู่ทั่วไปรวมทั้งคูคลองหนองน้ำมากมายในชุมชน จุดประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายจากการจมน้ำ
จากความข้างต้น โรงเรียนบ้านปาโจจึงได้เห็นความสำคัญจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำการปฏิบัติ ที่เป็นเลิศด้านส่งเสริมความปลอดภัยเรื่องการว่ายน้ำเพื่อชีวิตลอยน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัยขึ้น เพื่อการพัฒนาเด็กนักเรียนอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
2. วัตถุประสงค์
2.1.1. เพื่อให้นักเรียนมีพัฒนาด้านร่างกาย กล้ามเนื้อ ทักษะการเคลื่อนไหวและประสาทสัมพันธ์
2.1.2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เรื่องอันตรายและการป้องกันภัยทางน้ำ
2.1.3. เพื่อให้นักเรียนสามารถเอาตัวรอดจากการจมน้ำและช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำ
3. เป้าหมาย
3.2.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน (จำนวน 187 คน) เข้าร่วมกิจกรรม
3.2.2 เชิงคุณภาพ
1.นักเรียนมีพัฒนาด้านร่างกายกล้ามเนื้อ ทักษะการเคลื่อนไหวและประสาทสัมผัส
2.นักเรียนมีความรู้เรื่องอันตรายและการป้องกันภัยทางน้ำ
3.นักเรียนสามารถเอาตัวรอดจากการจมน้ำและช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำ
3.1 การดำเนินงานตามกิจกรรม :
มีการดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.ขั้นเตรียมการ
1.1 แต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการจัดทำคู่มือการจัดการเรียนรู้เรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด เริ่มตั้งแต่ กระบวนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ศึกษานโยบายและกรอบงานที่เกี่ยวข้อง โครงสร้างการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนและการบูรณาการ เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ แนวทางการเชื่อมโยงเนื้อหากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.2 เตรียมพร้อมเรื่องความสะอาด ปลอดภัยของสระน้ำ
1.3 แต่งตั้งมอบหมายผู้รับผิดชอบ ผู้ดูแลช่วยเหลือเด็กและครูผู้สอน
2. ขั้นดำเนินการ
ดำเนินการจัดกิจกรรมตามตารางที่วางไว้ ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้
2.1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำการเรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งน้ำเสี่ยง การเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแหล่งน้ำ การเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะความปลอดภัยในกิจกรรมทางน้ำ การเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ
2.2 การลอยตัวและการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ทักษะการดำน้ำ กลั้นหายใจ และการหายใจในการว่ายน้ำ ทักษะการลอยตัว การเอาชีวิตรอดในน้ำ และการใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอด ทักษะพื้นฐานการว่ายน้ำ
2.3 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ การร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ การช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนอุปกรณ์ การช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการยื่นอุปกรณ์
2.4 การปฐมพยาบาลผู้จมน้ำและการช่วยฟื้นคืนชีพ การปฐมพยาบาลผู้จมน้ำการช่วยฟื้นคืนชีพ
2.5 ประเมินผลตามหัวข้อประเมินในแต่ละชั่วโมงเรียน โดยเมื่อจบการเรียนตามเนื้อหาแล้วผู้เรียนควรลอยตัวในน้ำลึกได้ และว่ายน้ำในท่าใดก็ได้โดยเคลื่อนที่ได้ รวมถึงทักษะอื่นๆตามหัวข้อการประเมินซึ่งทักษะการลอยตัวและการเคลื่อนที่ในน้ำจะทำให้เด็กสามารถเอาชีวิตรอดเมื่อเผชิญกับภัยจมน้ำได้
ผลการจัดกิจกรรมว่ายน้ำเพื่อชีวิต ลอยตัวเป็น เล่นน้ำปลอดภัยนักเรียนโรงเรียนบ้านปาโจ ประจำปีงบประมาณ 2566 สามารถสรุปได้ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงาน (ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์)
4.1.1 นักเรียนโรงเรียนบ้านปาโจได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย กล้ามเนื้อ ทักษะการเคลื่อนไหวและประสาทสัมพันธ์ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมว่ายน้ำ ตามหลักสูตรที่กำหนดขึ้น
4.1.2 นักเรียนมีความรู้เรื่องอันตรายและการป้องกันภัยทางน้ำ
4.1.3 นักเรียนสามารถเอาตัวรอดจากการจมน้ำและช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำ
4.2 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
4.2.1 จากการวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลัง
1.นักเรียน ร้อยละ 97.65 มีพัฒนาด้านร่างกาย กล้ามเนื้อ ทักษะการเคลื่อนไหวและประสาทสัมพันธ์ และค่าพัฒนาร้อยละ 7.25
2.นักเรียน ร้อยละ 79.67 มีความรู้เรื่องอันตรายและการป้องกันภัยทางน้ำและค่าพัฒนาร้อยละ 5.74
3.นักเรียน ร้อยละ 70.20 สามารถเอาตัวรอดจากการจมน้ำและช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำ และ ค่าพัฒนาร้อยละ 21.37
4.2.2 จากการตอบแบบสอบถามการจัดกิจกรรม
1. ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม คะแนนเฉลี่ย 4.60 โรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อทักษะการเคลื่อนไหวและประสาทสัมพันธ์ ให้นักเรียนทุกคน
2. ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ดีมาก คะแนนเฉลี่ย 4.20 โรงเรียนสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เรื่องอันตรายและการป้องกันภัยทางน้ำ
3. ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ดีมาก คะแนนเฉลี่ย 3.68 โรงเรียนสามารถฝึกทักษะเอาตัวรอดจากการจมน้ำและช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำ
4. ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม คะแนนเฉลี่ย 4.72 โรงเรียนได้รับความนิยมจากผู้ปกครอง ในเขตบริการให้บุตร หลานเข้าเรียน
5. ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม คะแนนเฉลี่ย 4.52 โรงเรียนสามารถส่งเสริมให้นักเรียน มีความสุขและสนุกในการเรียนรู้
6. ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม คะแนนเฉลี่ย 4.51 โรงเรียนสามารถเป็นแบบอย่างในการบริหารจัดการสระว่ายน้ำแก่โรงเรียนในเครือข่าย
7. ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ดีมาก คะแนนเฉลี่ย 4.44 โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ในการดำเนินกิจกรรม
8. ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม คะแนนเฉลี่ย 4.70 โรงเรียนได้รับการยอบรับผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม
9. ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ดีมาก คะแนนเฉลี่ย 3.81 โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้ได้จริง
10. ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม คะแนนเฉลี่ย 5.00 โรงเรียนป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากการจมน้ำ
11. โรงเรียนได้รับข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมโดยเน้นการเล่นอย่างมีความสุขและปลอดภัย และจัดหาอุปกรณ์และชุดว่ายน้ำให้กับนักเรียนทุกคน
4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ประโยชน์ต่อนักเรียน
(1) นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ
(2) นักเรียนรู้จักสันนิษฐานแหล่งน้ำที่อันตรายและปลอดภัย
(3) นักเรียนรู้จักความเสี่ยงเกี่ยวกับแหล่งน้ำเสี่ยงหรืออันตราย
(4) นักเรียนรู้เกี่ยวกับเรียนรู้ทักษะความปลอดภัยในกิจกรรมทางน้ำ
(5) นักเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ
(6) นักเรียนมีทักษะการดำน้ำกลั้นหายใจ
(7) นักเรียนสามารถหายใจในการว่ายน้ำ
(8) นักเรียนมีทักษะการลอยตัวการเอาชีวิตรอดในน้ำ
(9) นักเรียนสามารถใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอด
(10) นักเรียนสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำได้
(11) นักเรียนสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่
(12) นักเรียนสามารถให้การช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนและการยื่นอุปกรณ์
(13) นักเรียนรู้ถึงการปฐมพยาบาลผู้จมน้ำและการช่วยฟื้นคืนชีพ
 
2. ประโยชน์ต่อโรงเรียน
(1) โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อทักษะการเคลื่อนไหวและประสาท
สัมพันธ์ให้นักเรียนทุกคน
(2) โรงเรียนสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เรื่องอันตรายและการป้องกันภัยทางน้ำ
(3) โรงเรียนสามารถฝึกทักษะเอาตัวรอดจากการจมน้ำและช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำ
(4) โรงเรียนได้รับความนิยมจากผู้ปกครองในเขตบริการให้บุตรหลานเข้าเรียน
(5) โรงเรียนสามารถส่งเสริมให้เด็กมีความสุขและสนุกในการเรียนรู้
(6)โรงเรียนสามารถเป็นแบบอย่างในการบริหารจัดการสระว่ายน้ำแก่โรงเรียนในเครือข่าย
(7) โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ในการดำเนินกิจกรรม
(8) โรงเรียนได้รับการยอบรับจากผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม
(9) โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้ได้จริง
(10) โรงเรียนไม่มีนักเรียนเสียชีวิตจากการจมน้ำ
5.1. ปัจจัยความสำเร็จ
5.1.1 การมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและพร้อมพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญในสายงาน
ด้วยประสบการณ์
5.1.2 โครงสร้างการบริหารมีโครงสร้างการบริหารโรงเรียนมีความสอดคล้องกับการบริหารงานบุคคล
5.1.3 แผนการปฏิบัติงานประจำปีมีแผนการปฏิบัติงานประจำปีที่โครงการสามารถรองรับการปฏิบัติ
กิจกรรมการนิเทศได้อย่างสมดุล
5.1.4 ชุมชนมีความเข้มแข็งในการช่วยเหลือโรงเรียน
5.2. บทเรียนที่ได้รับ
5.2.1 การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรว่ายน้ำและเอาตัวรอดจากการจมน้ำ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สถานศึกษาจะต้องมีความพร้อมในทุกๆด้าน ทั้งสภาพแวดล้อม สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน
5.2.2 มีการจัดตารางเรียนและเวลาเรียนที่ชัดเจน เพื่อไม่กระทบต่อการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นๆตามหลักสูตร
5.2.3 มีการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้กับผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้เห็นถึงเป้าหมาย ความจำเป็นและความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรว่ายน้ำให้ชัดเจน