ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
ผู้วิจัย อนุสรณ์ ทาสระคู
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยมีการวิจัย 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองจำนวน 754 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน5 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน7 คน ระยะที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร และครู จำนวน100 คน ระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบ
การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน114 คน และผู้เรียน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึก และ3) แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด สามารถสรุปผลการวิจัยดังนี้
1.1 ผลการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
1) แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบและการพัฒนารูปแบบ 2) แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ3) แนวคิดและทฤษฎีการบริหารจัดการ 4) ความส าคัญของดนตรีไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษา 5) แนวคิดและทฤษฎีขององค์ประกอบวงดนตรีพื้นบ้าน 6) บริบทโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร และ 7) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.2 สภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก สภาพที่คาดหวังในการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการในการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด เมื่อจัดล าดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการนำนโยบายคุณภาพสู่การปฏิบัติ ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน และด้านการมุ่งเน้นบุคลากร
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ
1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) การดำเนินการ 5) การประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความส าเร็จ ซึ่งรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านของโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด สามารถสรุปผลการวิจัยดังนี้
3.1 ผลการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านอีสานโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ก่อนการพัฒนามีการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก หลังการพัฒนามีการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติระหว่างก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลการประเมินระดับทักษะการปฏิบัติของครูและนักเรียน ก่อนการพัฒนามีการทักษะการปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับดี หลังการพัฒนามีการทักษะการปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรม พบว่า หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านอีสาน
โรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด สามารถสรุปผลการวิจัยดังนี้
4.1 ผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านวงดนตรีพื้นบ้านโรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4.3 ผลการประเมินเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิชาดนตรีพื้นบ้าน โดยรวมอยู่ในระดับดี