บทคัดย่อ
ชื่อนวัตกรรม รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนเขาดินประชานุกูล โดยใช้ DTS SMART Model
ชื่อเจ้าของนวัตกรรม นายธนพล เต็มทับ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนาให้เกิดผลที่ตัวผู้เรียน ซึ่งนับเป็นผลผลิตสุดท้ายที่ทุกเป้าหมายของการจัดการศึกษาต้องเกิดที่ตัวของนักเรียน ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตและความรู้ความสามารถของผู้เรียน ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ และพร้อมที่จะทำประโยชน์ให้กับสังคมตามบทบาทและหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองดี โดยให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิตทันต่อการเปลี่ยนแปลงมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ รับผิดชอบต่อหน้าที่ และครองชีวิตอย่างสงบสุข แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังเป็นสิ่งแรกที่ชี้วัดถึงความสำเร็จของการจัดการศึกษา ที่ผู้จัดการศึกษาและสังคมปรารถนาที่จะเห็นความก้าวหน้าของคุณภาพการศึกษา โดยการเทียบเคียงจากการพัฒนาของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาตั้งแต่ระดับชาติไปจนถึงระดับหน่วยปฏิบัติ คือ โรงเรียน แต่ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยในปัจจุบันผลที่ปรากฏยังไม่ถึงระดับมาตรฐานสากล
แผนการจัดการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๙ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการศึกษาภายใต้ ๖ ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์หลักที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๘๐) เพื่อให้แผนการศึกษาแห่งชาติบรรลุเป้าหมายตามจุดมุ่งหมายวิสัยทัศน์ และแนวคิดการจัดการการศึกษา โดยได้กำหนดในยุทธศาสตร์ ที่ ๑ การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ - ๒๕๖๙ โดยมุ่งมั่นสานต่อนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนเป็นที่ประจักษ์ ภายได้หลักการ "การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต" ใช้แนวทางการทำงาน "จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน" มุ่งสร้าง "การศึกษาเท่าเทียม" ผ่านเครือข่ายการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทกระดับให้ทันสมัยได้มาตรฐานสากล ภายใต้แนวคิด "ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ" เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนในทุกช่วงวัยให้ "ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ" มีศักยภาพและความพร้อมสนับสนุนการพัฒนาประเทศให้ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ นำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย
ทั้งนี้นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-๒๕๖๘ มุ่งเน้นให้สถานศึกษาต้องดำเนินการการยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ในข้อที่ ๒ ยกระดับคุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
จากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษา บริบทสถานศึกษา ทบทวน ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย ทฤษฎี และแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา โดยพบว่าโรงเรียนเขาดินประชานุกูล มีการบริหารจัดการโรงเรียนโดยใช้แนวคิด KDPS Model ซึ่งมุ่งเน้นไปยังคุณภาพผู้เรียน ทั้งนี้ในบทบาทของรองผู้อำนวยการโรงเรียน ข้าพเจ้าได้ให้ความสำคัญกับการนำองค์กร เพราะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดและเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ตลอดจนรูปแบบของการบริหารโรงเรียน ดังนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือสำหรับการขับเคลื่อนการบริหารจัดการโรงเรียน เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของโรงเรียน ข้าพเจ้าจึงต้องการออกแบบนวัตกรรม ด้วยกระบวนการ PDCA เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนเขาดินประชานุกูล โดยใช้ชื่อว่า การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนเขาดินประชานุกูล โดยใช้รูปแบบ DTS SMART Model
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนเขาดินประชานุกูล โดยใช้รูปแบบ DTS SMART Model จึงมีลักษณะเป็นการร่วมมือร่วมใจกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปยังผู้บริหาร ครู และนักเรียน เพื่อให้สามารถพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งระบบ โดยใช้กระบวนการ PDCA ประกอบด้วย P = Plan คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาหรือไม่ A= Act (การปรับปรุงพัฒนา) การดำเนินการตามกระบวนการ จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่คาดหวังตามเป้าหมายที่วางไว้ ๓ ด้าน ดังนี้ ๑) Quality Director ผู้บริหารนำวิชาการก้าวหน้า ๒) Quality Teacher ครูเชี่ยวชาญพัฒนาการสอน ๓) Quality Student นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนเขาดินประชานุกูล ๒. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งในระดับโรงเรียนและระดับชาติของผู้เรียน ๓. เพื่อยกระดับกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
ผลการดำเนินงานพบว่า
- ได้รูปแบบ DTS SMART Model ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่มีโครงสร้างชัดเจน ประกอบด้วย SMART Director, SMART Teacher และ SMART Student
- รูปแบบนี้สามารถนำไปใช้พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนได้อย่างเป็นระบบ
- มีการประเมินและปรับปรุงรูปแบบอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ข้อมูลจากการดำเนินงานจริง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและบริบทของโรงเรียน
- นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคะแนน O-NET ของโรงเรียนเขาดินประชานุกูล
- นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น คุณธรรม จริยธรรม และทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
- ครูมีการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Active Learning) และนำนวัตกรรมมาปรับใช้ในชั้นเรียน
- มีการส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน และจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน
- นักเรียนพัฒนาทักษะการคิด การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการทำงานร่วมกันในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ
- มีการประเมินผลอย่างหลากหลาย ทั้งการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการพัฒนาทักษะชีวิต เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑