ที่มาและความสำคัญ
1.1สภาพปัจจุบัน ความสำคัญและความจำเป็น
การพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นผู้เรียนที่สมบูรณ์และสมดุล ด้านจิตใจร่างกายสติปัญญาอารมณ์และสังคม โดยมุ่งเน้น การพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการและวิชาชีพเพื่อสามารถดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข พึ่งพาตนเองได้ อยู่กับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
ภาษาไทยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะการพูด การดู การอ่าน และการเขียนการส่งเสริมความสามารถทางภาษาไทยของผู้เรียนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนการส่งเสริมให้นักเรียน มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนในด้านการใช้ภาษาและการแสดงออกให้ถูกต้องเหมาะสมทั้งการฟัง การพูดการ อ่านการเขียน โดยครูจะต้องจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร และเนื้อหาวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านคำนางโอกจึงจัดทำโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์คะแนน o-net ขึ้นเพื่อพัฒนาครู นักเรียน และสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพต่อไปในด้านวิชาการ
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในด้านการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (o-net) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศจากการทดสอบโรงเรียนบ้าน คำนางโอก โดยภาพรวมพบว่ายังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและในระดับชาติประกอบกับนโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารให้ความสำคัญกับผลการสอบ o-net เป็นอย่างมากทางโรงเรียนบ้านคำนางโอกได้กำหนดแผนงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลการสอบ o-net และยกระดับคุณภาพการอ่านออกเขียนได้ให้สูงขึ้นเป็นนโยบายพิเศษและเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพมีทักษะมีความรู้ความสามารถในการจัดทำข้อสอบ o-net ให้ได้เพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้โรงเรียนบ้านคำนางโอก ผู้บริหารและคณะครูได้ร่วมกันพัฒนา การยกระดับผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทยของนักเรียนด้วยกระบวนการ 2KNO (Khamnangoke) MODEL มีความหมายดังนี้ K มาจากคำว่า Knowledge หมายถึง ความรู้ K มาจากคำว่า Kindness หมายถึง มีคุณธรรม จริยธรรม N มาจากคำว่า Network Learning หมายถึง สร้างภาคีเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ และ O มาจากคำว่า Opportunity Learning หมายถึง สร้างโอกาสในการเรียนรู้ โดยวิธีการอันเป็นที่เชื่อถือได้ ซึ่งจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์จากแนวคิดทฤษฎีต่างๆ โรงเรียนกำหนดเป็นขั้นตอน 5 ขั้นตอน คือ 1.) ขั้นสำรวจปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา 2.) คั่นแนวทางดำเนินการแก้ปัญหา 3.) ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา 4.) ขั้นรายงานผลการดำเนินงาน 5.) ขั้นขยายผลและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพครูจะต้องศึกษาค้นคว้าจากแนวคิดทฤษฎีต่างๆในการจัดการเรียนการสอนที่ประสบผลสำเร็จเพื่อมาแก้ปัญหานักเรียนในการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้นซึ่งจากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยต่างๆของครู จะส่งผลให้คณะครูเกิดความรู้ความสามารถและทักษะในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือครูจะเกิด knowledge และทักษะนั่นเองซึ่งครูมีความรู้ความสามารถและทักษะในการจัดการเรียนการสอนแล้วก็จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและทักษะในการเรียนรู้ที่ดีขึ้นได้
จากการรายงานผลการจัดการศึกษาพบว่า ด้านคุณภาพการศึกษาพบว่า ผลการพัฒนายังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก และต่ำกว่าหลายประเทศในแถบ เอเชีย ส่วนประเด็นคุณธรรม จริยธรรมของเด็กและเยาวชนยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น (สำนักงานเลขาธิการสภา การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2559 : 4) และจากการศึกษาสภาพปัญหาด้านคุณภาพหรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคำนางโอก อำเภอเมืองนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร จากการประเมินผลการทดสอบ ความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (o-net) ปีการศึกษา ในปีการศึกษา 2565 พบว่า นักเรียนมีผลการทดสอบ วิชาภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 66.58 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2565 อยู่ 2.59 แต่ยังสูงกว่ารับดับเขตพื้นที่และ ระดับประเทศ โรงเรียนบ้านคำนางโอกจึงต้องการความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (o-net) รายวิชา ภาษาไทย ให้มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น อีกทั้งยังร่วมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานที่นักเรียน ต้อง อ่าน ออก เขียนได้ การสอนวิชาภาษาไทยจึงเป็นสิ่งจำเป็นอีกรายวิชาหนึ่ง ไม่ใช่แค่การสอบวัดความสามารถ พื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (o-net) เพียงแต่อย่างเดียวแต่ กับรวมถึงการสอบ วัดผลจากการประเมินความสามารถ ด้านการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ การสอบวัดความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน ระดับชาติ(NT) ของชั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นก้าวแรกที่ต้องอ่านออกเขียนได้ทุก คน หากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีปัญหาในการอ่านและการเขียนแล้วก็จะเป็นอุปสรรคในการเรียนระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป ส่งผลให้เป็นปัญหาอื่นตามมา เช่น นักเรียนไม่อยากมาโรงเรียนเพราะอ่านหนังสือไม่ออก อีกทั้งวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่ ต้องใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่น ๆ นักเรียนจึงต้องมีความสามารถด้านการอ่านที่สูงกว่านี้ โรงเรียนจึงต้องการพัฒนา ผู้เรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ให้มีความสามารถด้านการอ่าน การเขียน ให้มีคุณภาพอยู่ในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิม แต่ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ก็นับว่าเป็นปัญหาระดับหนึ่งในการจัดการเรียน การสอนให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมาย แต่หากสถานศึกษาและครูมีรูปแบบการบริหารงานในการจัดการเรียนการสอน ที่ดีมีประสิทธิภาพแล้ว ปัญหาดังกล่าวก็สามารถแก้ไขและพัฒนาผู้เรียนได้โดยไม่ยากเกินความสามารถของสถานศึกษา และคณะครู "รูปแบบการบริหารงานเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน เขียน และการคิด คำนวณ (กลุ่มสาระภาษาไทย และคณิตศาสตร์) ของนักเรียนโดยใช้ KNO (KHAMNANGOKE) MODEL โดยใช้ร่วมกับ กระบวนการระบบวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA และกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Leaming Community: PLC ในการดำเนินงาน
2.จุดประสงค์ของการดำเนินงาน
1.)เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของการทดสอบระดับชาติ O-net ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
2) เพื่อเสริมสร้างเจตติที่ดีต่อการทดสอบให้นักเรียนเกิดความตระหนักเห็นความสำคัญของการสอบมากขึ้น
3) เพื่อจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้นักเรียนก่อนการทดสอบระดับชาติ (O-net)
4) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารงานเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน เขียน และ
การคิดคำนวณ (กลุ่มสาระภาษาไทย) ของนักเรียนโดยใช้ "2KNO (KHAMNANGOKE) MODEL
3.ขอบเขตการดำเนินงาน
3.1) เป้าหมายในการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1.) ร้อยละ 65 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบระดับชาติ (O-net) สาระวิชาภาษาไทย เพิ่ม
2.) ร้อยละ 90 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะและความรู้
3) ร้อยละ 90 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการสอนเสริมความรู้ สาระวิชาภาษาไทย เพื่อพัฒนา
ความรู้ ความสามารถ เตรียมพร้อมเข้ารับการทดสอบระดับชาติ และยกระดับสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
4.) ครูมีความรู้ความสามารถ และทักษะในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับดีขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
เชิงคุณภาพ
1.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-net) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระภาษาไทยสูงขึ้น
2.) นักเรียนได้รับทักษะ ความรู้และเจตคติที่ดีต่อวิชา ต่อวิชาภาษาไทย
กลุ่มเป้าหมาย
1) ครูโรงเรียนบ้านคำนางโอก อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งสิ้น 8 คน
2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคำนางโอก อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ปีการศึกษา
2566 จํานวน 16 คน
3.2 ขอบเขตของเนื้อหา
นิยามศัพท์เฉพาะ
1) รูปแบบการบริหารงานเพื่อพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน เขียน กลุ่มสาระภาษาไทย ของนักเรียนโดยใช้ "2KNO (KHAMNANGOKE) MODEL" หมายถึง การดำเนินงานโดยใช้ กระบวนการ 5 ขั้นตอนในการดำเนินงาน ได้แก่ 1) ขั้นสำรวจปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา (2) ชั้นแนวทางดำเนินการ
แก้ปัญหา 3) ชั้นดำเนินการแก้ปัญหา (4) ชั้นรายงานผลการดำเนินงาน 5) ชั้นขยายผลและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน โดย ใช้กระบวนการระบบวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA และกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ในการร่วมกันดำเนินงาน
2) การพัฒนาศักยภาพครู หมายถึง ครูโรงเรียนบ้านคำนางโอก อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร มี ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการบริหารงาน "2KNO (KHAMNANGOKE)
MODEL
3) นักเรียน หมายถึง นักเรียนโรงเรียนบ้านคำนางโอก อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ปีการศึกษา 2566
แนวคิดทฤษฎีประกอบในการดำเนินงาน
รูปแบบการบริหารงานเพื่อพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนในการพัฒนาความสามารถ ด้านการอ่าน เขียน กลุ่มสาระภาษาไทย ของนักเรียนโดยใช้ 2KNO (KHAMNANGOKE) MODEL"
2KNO (KHAMNANGOKE) MODEL มีความหมายดังนี้ "K" มาจากคำว่า Knowledge หมายถึง ความรู้ความรู้ K มาจากคำว่า Kindness หมายถึง มีคุณธรรม จริยธรรม "N" มาจากคำ ว่า Network Leaming หมายถึง มีสร้างเครือข่ายแห่งหารเรียนรู้ และ "0" มาจากค้าว่า Opportunity Learning หมายถึง สร้างโอกาสทางการเรียนรู้
K = Knowledge หมายถึง ครูมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติการสอนจากการวิจัยในชั้นเรียนภายใต้ รูปแบบการบริหารงาน "KNO (KHAMNANGOKE) MODEL "โดยมีการศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎีจากงานวิจัย/การ สร้างสือนวัตกรรมในการสอนให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล
K : Kindness หมายถึง มีคุณธรรม จริยธรรม
N :Network Learning หมายถึง มีสร้างเครือข่ายแห่งหารเรียนรู้
O :Opportunity Learning หมายถึง สร้างโอกาสทางการเรียนรู้
มีการดำเนินงานโดยใช้กระบวนการทางการวิจัย 5 ขั้นตอนในการดำเนินงาน ได้แก่ 1) ชั้นสำรวจปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา 2) ชั้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา (3) ชั้นดำเนินการแก้ปัญหา 4) ชั้นรายงานผลการดำเนินงาน 5) ชั้นเผยแพร่ ผลงาน ร่วมกับระบบวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA และกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)
2KNO (KHAMNANGOKE) MODEL หมายถึง รูปแบบการบริหารเป็นชื่อของโรงเรียนบ้านคำนางโอก ซึ่งจากการวิเคราะห์สังเคราะห์โรงเรียนบ้านคำนางโอกกำหนดเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นสำรวจปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา (2) ชั้นแนวทางดำเนินการแก้ปัญหา (3) ชั้นดำเนินการแก้ปัญหา 4) ขั้นรายงานผลการดำเนินงาน 5) ชั้น ขยายผลและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน โดยใช้ร่วมกับกระบวนการควบคุมคุณภาพ PDCA และกระบวนการชุมชนการ เรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Leaming Community: PLC)
1.1) ชั้นสำรวจปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา : (ชั้น Plan) หมายถึง เป็นขั้นตอนที่ผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ คณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู และผู้บริหารร่วมกันวางแผน (ชั้น Plan) ในการในการพัฒนาผู้เรียน สำรวจ ศึกษา สภาพปัจจุบันของโรงเรียนและปัญหาที่เกิดจากการเรียนรู้ ตั้งแต่ทางโรงเรียนแจ้งรายงานผลการดำเนินงานด้านคุณภาพ ผู้เรียนในผลการเรียนและผลการสอบ O-netด้านประสบความสำเร็จ และไม่สำเร็จหรือยังไม่พึงพอใจแก่คณะกรรมการ สถานศึกษา แล้วคณะกรรมการร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียนที่ชุมชนหรือผู้ปกครองต้องการร่วมกันกับคณะครู กำหนดเป้าหมายของนักเรียนด้านผลสอบ O-net ร่วมกัน โดยสำรวจสภาพปัญหาของโรงเรียนที่นักเรียนยังมี O-net ต่ำ หรือยังไม่พึงพอใจ แล้วร่วมกันวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นกับตัวนักเรียน วิเคราะห์หาสาเหตุจากด้านตัวครูผู้สอน
วิเคราะห์สาเหตุในด้านการบริหาร/ผู้บริหาร เป็นต้น ซึ่งขั้นนี้คณะครู ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาจะร่วมกัน วางแผนร่วมกัน และ PLC มีการจัดตั้งกรรมการเพื่อวางแผนการยกระดับคุณภาพการศึกษา
1.2) ขั้นแนวทางดำเนินการแก้ปัญหา : (ขั้น Plan) หมายถึง ในขั้นนี้คณะครูจะร่วมกันวางแผนในการศึกษา ค้นคว้าตำรา เอกสาร/งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการจัดการเรียนการ สอน ซึ่งครูจะเกิด Knowledge (K) และ Skill (5) ในขั้นนี้คณะครูจะร่วมกัน PLC เพื่อเลือกรูปแบบ/วิธีการที่คิดว่าจะ สามารถทำได้และได้ผลดีที่สุด
1.3) ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา : (ขั้น Do) หมายถึง การใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนตรวจสอบผู้เรียนแล้ว คณะครูนำเครื่องมือที่สร้างไว้ ได้แก่ แผนการสอน, สื่อ/นวัตกรรมการเรียนการสอน, และเครื่องมือวัดและประเมินผล ลงไปใช้ในการสอนในห้องเรียนกับนักเรียน เช่น จัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย มีการคัดกรอง นักเรียน เพื่อสอนเสริมเด็กเก่ง และสอนซ่อมเสริมเด็กอ่อนเพื่อพัฒนานักเรียน จัดกิจกรรมติวเตอร์ในช่วงก่อนสอบ O-net เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา จัดกิจกรรมสอนเสริมเพิ่มความรู้สู่ O-net มีการส่งเสริมการอ่านภาษาไทย และมีการจัด สอย Pre O-net โดยใช้ข้อสอบเก่า 3-4 ปี ย้อนหลัง มีการจัดเครื่องข่ายติวเตอร์ เพื่อช่วยเหลือกันภายในกลุ่มเครือข่ายร่ม กกชัยพัฒนา เพื่อพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์ไปด้วยกัน
4) ขั้นรายงานผลการดำเนินงาน (Check) หมายถึง ขั้นตอนนี้คณะครูร่วมกันรายงานผลที่เกิดขึ้นกับ ผู้เรียนว่าจากการดำเนินการสอนนักเรียนมาตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการพัฒนา มีการนิเทศติดตาม สรุปผลการดำเนินงาน
5) ขั้นขยายผลและเผยแพร่ผลการดำเนินงานผู้บริหารนำเสนอผลงานการดำเนินงาน ความสามารถด้านการอ่าน เขียน กลุ่มสาระภาษาไทย ของ นักเรียนโดยใช้แก่ผู้ปกครองชุมชน หรือกลุ่มเครือข่าย ทางกลุ่ม Line /Feacbook/เวปไซต์โรงเรียนบ้านคำนางโอก/การ ประชุมผู้ปกครองนักเรียน เป็นต้น
ระบบวงจรควบคุมคุณภาพเดมมิ่ง (Deming Cycle) หรือวงล้อคุณภาพ PDCA
วงจรการควบคุมคุณภาพ (PDCA Cycle) หรือ วงจรเด็มมิ่ง (Deming Cycle) คือ แนวคิดการพัฒนาการทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพงานให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พัฒนามาจากแนวคิดของ วอล์ทเตอร์ ซิวฮาร์ท (Walter Shewhart) นักสถิติในงานอุตสาหกรรม ต่อมาแนวคิดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อ เอดวาร์ด เดมมิ่ง (W.Edwards Deming) นักจัดการบริหารคุณภาพ ได้นำเสนอและเผยแพร่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงานภายในโรงงานให้ดีขึ้น ซึ่งจะใช้ในการค้นหาปัญหาอุปสรรคในขั้นตอนการทำงาน จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า วงจรเดมมิ่ง หรือ วงจร PDCA โดย PDCA ย่อมาจาก 4 คำ ได้แก่ Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ตรวจสอบ) และ Action (การดำเนินการให้เหมาะสมหรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นยิ่ง ๆขึ้นไป) ซึ่งวงจร PDCA สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุก ๆ เรื่อง นับตั้งแต่กิจกรรมส่วนตัว เช่น การปรุงอาหาร การเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน การตั้งเป้าหมายชีวิต (กนกวรรณ ไพกะเพศ พร้อมคณะ. 2563)
กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้สรุปความหมายของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไว้ว่า ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หมายถึง กระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่มารวมกัน เพื่อทำงานร่วมกัน และสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกัน วางเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน และตรวจสอบ สะท้อนผลการปฏิบัติ ทั้งในส่วนบุคคลและผลที่เกิดขึ้นโดยรวมผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากษ์ วิจารณ์ การทำงานร่วมกัน การร่วมมือรวมพลัง โดยมุ่งเน้น และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล : 2562)
กลยุทธ์ในการจัดการและใช้ชุมชนแห่งการเรียนทางรู้วิชาชีพ (PLC) อย่างยั่งยืน
1) เริ่มต้นด้วยขั้นตอนง่าย ๆ (Take a baby steps) โดยเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมาย อภิปราย สะท้อนผล แลกเปลี่ยนกับคนอื่น ๆ เพื่อกำหนดว่า จะดำเนินการอย่างไร โดยพิจารณาและสะท้อนผลในประเด็นต่อไปนี้
1.1 หลักการอะไรที่จะสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติ
1.2 เราจะเริ่มต้นความรู้ใหม่อย่างไร
1.3 การออกแบบอะไรที่พวกเราควรใช้ในการตรวจสอบหลักฐานของการเรียนรู้ที่สำคัญ
2) การวางแผนด้วยความร่วมมือ (Plan Cooperatively) สมาชิกของกลุ่มกำหนดสารสนเทศที่ต้องใช้ในการดาเนินการ
3) การกำหนดความคาดหวังในระดับสูง (Set high expectations) และวิเคราะห์การสอนสืบเสาะหาวิธีการที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จสูงสุด
4) เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ (Start small) เริ่มต้นจากการใช้กลุ่มเล็ก ๆ ก่อนแล้วค่อยปรับขยาย
5) ศึกษาและใช้ข้อมูล (Study and use the data) ตรวจสอบผลการนำไปใช้และการสะท้อนผลเพื่อนำมากำหนดว่าแผนไหนควรใช้ต่อไป/แผนไหนควรปรับปรุงหรือยกเลิก (วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. 2562 : 13)
ศักยภาพครู
ศักยภาพครู หมายถึง ครูต้องมีความรู้ (Knowledge : K), ความสามารถ และทักษะปฏิบัติ (Skill : S) ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งครูต้องมีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
1) ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจ รู้เป้าหมายของการจัดการศึกษา และหลักสูตร
การศึกษา โดยการศึกษาข้อมูลพระราชบัญญัติการศึกษา ตำราเอกสารหลักสูตร หลักสูตรสาขาวิชาลักษณะรายวิชาจัดทำแผนการสอนและเอกสารประกอบการสอน
2) ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียน และเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ใช้หลักการวิเคราะห์ผู้เรียน เช่น วิเคราะห์จากรูปแบบการเรียนรู้ ความภูมิใจตนเอง เจตคติต่อวิชาความคาดหวังในการเรียน ใช้แบบวัดความรู้พื้นฐานของผู้เรียน (Pretest) ก่อนเรียน วัดผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายหน่วยและมีการมอบหมายงานให้ผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอน
3) ครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เช่น การบูรณาการเนื้อหา การจัดการเรียนรู้เพื่อชี้แนะการรู้คิด
4) ครูผู้สอนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนของตนเอง
และผู้เรียน เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ในการหาความรู้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มอบหมายให้ผู้เรียนค้นคว้า
และนำมาอภิปรายในชั้นเรียน ฝึกการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการประมวลข้อมูล และจัดทำรายงานพัฒนาและใช้สื่อการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5) ครูผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนและอิงพัฒนาการของผู้เรียน เช่น มอบหมายงานเดี่ยวและงานกลุ่ม ประเมินผลการเรียนรู้จากผลงานที่มอบหมายในระหว่างเรียน และทดสอบหลังเรียน
6) ครูผู้สอนมีการนำผลประเมินมาปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ ในการนำผลการประเมินการเรียนรู้มาเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน
7) ครูผู้สอนมีการวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำผลไปใช้พัฒนาผู้เรียน
8) ครูผู้สอนมีการความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)