การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารSC4Dด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดและสภาพปัจจุบันของการบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารSC4Dด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารSC4Dด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โดยดำเนินการตามขั้นตอนตามระเบียบวิธีวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย Research1 (R1) การศึกษากรอบแนวคิดการบริหารและสภาพปัจจุบันของการบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง (Document Analysis) สนทนากลุ่มย่อย (focus Group) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ครูจำนวน 9 คน และศึกษานิเทศก์จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา Development1 (D1) เป็นการออกแบบและการพัฒนารูปแบบการบริหารSC4Dด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม โดยการจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 12 คน ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย Research2 (R2) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการบริหารSC4Dด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม โดยการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 18 คน ครูผู้สอนจำนวน 181 คน และนักเรียนจำนวน 346 คน และ ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา Development2 (D2) เป็นการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารSC4Dด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 คน ใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนส่วนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1.กรอบแนวคิดการบริหารและสภาพปัจจุบันของการบริหารพื่อเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาครู แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และแนวคิดเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
2.รูปแบบการบริหารSC4Dด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้
เชิงรุกของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมสะท้อนผล ตามองค์ประกอบของรูปแบบการบริหาร SC4D ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุน (Support )การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม (Create) การวางแผนพัฒนาการศึกษา (Design) การพัฒนาวิชาชีพ (Development) การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ (Digital) และการขับเคลื่อนโดยข้อมูล (Data-Driven) ผลการรับรองรูปแบบการบริหารSC4Dด้วยกระบวนการมีส่วน พบว่า รูปแบบมีระดับคุณภาพในระดับดีมาก
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารSC4Dด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการ
จัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์
3.1 การบริหารสถานศึกษาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานข้อที่ 1 เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อ พบว่า สถานศึกษามีการบริหารด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุดขึ้นไปทุกข้อ
3.2 ครูความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกก่อนการใช้รูปแบบและหลังการใช้รูปแบบแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญที่ .05 ยอมรับสมมติฐานข้อที่ 2 ที่กำหนดไว้ โดยหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ
3.3 ความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูหลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบแตกต่าง
กันอย่างมีนัยยะสำคัญที่ .05 ยอมรับสมมุติฐานการวิจัยข้อ 3 โดยหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ
3.4 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนหลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบแตกต่าง
กันอย่างมีนัยยะสำคัญที่ .05 ยอมรับสมมุติฐานการวิจัยข้อ 4 โดยหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ
3.5 ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารSC4Dด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ผู้บริหารและ
ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารรSC4Dด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมุติฐานการวิจัยข้อ 5 ที่กำหนดไว้