ชื่อโครงงาน เสกโสร่งให้สวย ด้วยพลังมือของเรา
ผู้จัดทำโครงงำน นักเรียนชั ้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านไม้ฝาด สพป.นราธิวาส เขต 2
ครูที่ปรึกษา ครูฮามีซา ยา
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เด็กศึกษาถึงลักษณะ รูปร่าง และประโยชน์ของผ้าโสร่ง
- เพื่อหาวิธีการท าลายสวยๆบนผ้าโสร่ง
ที่มาและความสำคัญของการทำโครงงาน
จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ หน่วย เศษฐกิจพอเพียง ครูให้เด็กได้แสดงบทบาทสมมติโดย
ให้นักเรียนแต่ละคนพาผ้าโสร่งหรือผ้าขาวม้ามาเพื่อใช้ประกอบการแสดงเป็นชาวนา ชาวสวน ทำให้
เด็กๆตื่นเต้นที่ได้ใส่ผ้าโสร่ง เนื่องจากในชีวิตประจ าวันเด็กๆจะไม่ค่อยได้ใส่ผ้าโสร่ง เคยเห็นแต่พ่อแม่ใส่กัน
เท่านั้น ซึ่งหลังจากที่เด็กได้แสดงบทบาทสมมติเสร็จ เด็กนำผ้าโสร่งหรือถุงที่ตัวเองเอามาไปเล่นเป็น
ซุปเปอร์แมน บางคนเข้าไปอยู่ในผ้าถุงท าเป็นผ้าห่ม บางคนนั่งบนผ้าโสร่งแล้วให้เพื่อนลากอย่าง
สนุกสนาน และบางคนสนใจในลวดลายสีสันของผ้าโสร่งที่ไม่เหมือนกัน และได้สนทนาในสิ่งที่เด็กสนใจ
เกี่ยวกับผ้าโสร่ง จึงตกลงท าโครงงานเรื่องนี้ขึ้น
ผลการพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย
1. ผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน 4 ด้าน
1.1 ด้านการเรียนรู้
- เด็กได้เรียนรู้ถึงรูปร่าง ลักษณะ ประโยชน์ และการทาลายผ้าโสร่ง
- เด็กๆลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองเพื่อค้นหาคาตอบจากสิ่งที่อยากรู้
- เด็กได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การจำแนกประเภท การคำนวณ หาพยากรณ์หรือคาดคะเนคำตอบ การทดลอง และการจัดกระทำและสื่อความหายข้อมูล การลงความคิดเห็นจากข้อมูล
1.2 ด้านภาษา
- เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาจากการพูดคุย สนทนา การโต้ตอบ การตอบคำถามรวมไปถึงการแสดงความคิดเห็น การลงความเห็น
- เด็กสามารถสนทนาโต้ตอบกับครู
- เด็กถ่ายทอดหรือนำเสนอผลงานตัวเอง หรือสิ่งที่ตัวเองรู้มาให้ผู้อื่นเข้าใจ
1.3 ด้านสังคม
- เด็กสามารถทางานร่วมกับผู้อื่นรู้จักการรอคอยได้
- เด็กแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- เด็กเคารพกฎกติกาและปฏิบัติตามข้อตกลง
- เด็กรู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
1.4 ด้านการเคลื่อนไหวและทักษะการรับรู้ประสาทสัมผัส
- เด็กสามารถใช้กล้ามเนื้อใหญ่ โดยการเดิน สำรวจบริเวณรอบๆโรงเรียน และห้องปฏิบัติการต่างๆ
- เด็กสามารถใช้กล้ามเนื้อเล็กโดยการหยิบจับอุปกรณ์ การทดลอง การวาดภาพระบายสี การปั้น การทุบ การดึง
- เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า จากการสังเกต การฟัง การดมกลิ่น การหยิบจับสิ่งของ
1.5 ด้านอารมณ์และจิตใจ
- เด็กมีความสุขจากการร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
- เด็กให้ความสนใจ และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยการตั้งคำถาม ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น
- เด็กมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
- เด็กมีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองและผู้อื่น
2. ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.1 ทักษะการสังเกต
- สังเกตรูปร่าง ลักษณะของผ้าโสร่ง และลายบนผ้าโสร่ง ด้วยประสาทสัมผัสต่างๆ
เช่น หยิบ จับ
- สังเกต วัสดุ อุปกรณ์ ในการทำเทียนสี
- สังเกตการเปลี่ยนแปลงผลจากการทาลายผ้าโสร่งจากใบไม้-ดอกไม้
2.2 ทักษะการวัด
- การวัดปริมาณของวัสดุที่ใช้ในการทำลายผ้าโสร่งจากใบไม้-ดอกไม้
- การวัดขนาดของผ้าที่จะทาผ้าโสร่งมีขนาดใหญ่ เล็ก
2.3 ทักษะการคำนวณ
- การนับจานวนผ้าที่จะใช้ทำผ้าโสร่ง และจำนวนชนิดของใบไม้-ดอกไม้ และวัสดุที่ใช้
ในการทำลายบนผ้าโสร่ง
- เด็กมีการตวง วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นส่วนผสมของนำ้ที่จะใช้ในการแช่ผ้า
- เด็กมีการจับเวลาในการแช่ผ้าในนำ้ชนิดต่างๆ
2.4 ทักษะการจำแนกประเภท
- เปรียบเทียบลักษณะของสีจากใบไม้-ดอกไม้หลังการทุบสีบนผ้าที่แช่ในน ำ้ที่ต่างกัน
- เด็กเปรียบเทียบสิ่งที่คาดคะเนกับผลการทดลอง
2.5 ทักษะการพยากรณ์หรือการคาดคะเนคำตอบ
- เด็กคาดคะเนคาตอบจากคาถามที่สงสัยอยากรู้จากประสบการณ์เดิมและสามารถนำมาเปรียบเทียบเทียบกับข้อค้นพบหลังการทดลอง
2.6 ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
- เด็กสามารถสรุปผลสิ่งที่สังเกตโดยการวาดภาพ เขียนและนำเสนอผลงานหน้าชั้น
เรียนให้เพื่อนๆเข้าใจได้
2.7 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
- เด็กๆสามารถบอกได้ว่าถ้าแช่ผ้าในนำ้สารส้มให้นานกว่านี้ จะทำให้สีจากใบไม้-ดอกไม้ที่เราทุบสีลงไปที่ผ้า มีสีที่ชัดและสีจะติดดียิ่งขึ้น
2.8 ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
- เด็กสามารถแสดงความคิดเห็น อธิบายให้เหตุผลเพิ่มเติมโดยใช้ความรู้เดิมกับประสบการณ์ ใหม่ที่ค้นพบจากการทดลองมาช่วยสรุปเป็นความคิดเห็นของตนเองและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น