ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
เรื่อง อาหาร และการย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่ปาน
ผู้วิจัย นางนิฏฐิตา โยรภัตร
ปีการศึกษา 2568
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เรื่อง อาหาร และการย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่ปาน เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่ปาน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เรื่อง อาหาร และการย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่ปาน 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เรื่อง อาหาร และการย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่ปาน 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เรื่อง อาหาร และการย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่ปาน กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 13 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านแม่ปาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เรื่อง อาหาร และการย่อยอาหาร 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที แบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยสรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาสภาพ และปัญหาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า ครูยังคงเน้นการบรรยายเนื้อหาเป็นหลัก ขาดการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใคร่รู้ในเรื่องที่เรียน ขาดการสร้างแรงจูงใจในการเรียน ไม่มีรูปแบบ เทคนิค วิธีการสอน และกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่แปลกใหม่ กิจกรรมไม่น่าสนใจ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้มีการนำมาใช้น้อย สื่อ อุปกรณ์ไม่เพียงพอ ไม่น่าสนใจ เป็นเรื่องไกลตัว ใช้สถานการณ์ไม่ชัดเจน สื่อความหมายได้ยาก มีความซับซ้อนของสถานการณ์และความยากของเนื้อหาทำให้ผู้เรียนไม่สามารถกำหนดสมมติฐาน เพื่อมาใช้ในการค้นหาข้อมูลคำตอบและกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ครูขาดการบูรณาการการเรียนรู้กับศาสตร์อื่น ๆ ที่ใกล้ตัว และจัดกิจกรรมที่ไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของนักเรียน นักเรียนมีความหลากหลายและแตกต่างกัน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนไม่เพียงพอ นักเรียนไม่ตั้งใจเรียนขาดเรียนบ่อย ขาดความสามารถด้านกระบวนการคิดเพื่อแก้ไขปัญหา ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจใฝ่รู้
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เรื่อง อาหาร และการย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่ปาน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาได้รับการตรวจสอบและประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ โดยได้ค่าความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ย ( ) ระหว่าง 4.40 - 5.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ระหว่าง 0.00 - 0.55
3. ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เรื่อง อาหาร และการย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่ปาน พบว่า เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ดังนี้
3.1 ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เรื่อง อาหาร และการย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่ปาน ในปีการศึกษา 2567 ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 83.77/86.15
3.2 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เรื่อง อาหาร และการย่อยอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่ปาน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (x̄= 17.23, S.D. = .099) สูงกว่าก่อนเรียน (x̄= 13.84, S.D. = 0.74) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เรื่อง อาหาร และการย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่ปาน ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยข้อที่ 2