ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชน
การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนดงมะไฟวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย
หนองบัวลำภู
ชื่อผู้วิจัย ธนวัฒน์ มะโนสุข
ปีที่วิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนดงมะไฟวิทยาคม2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนดงมะไฟวิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนดงมะไฟวิทยาคม และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนดงมะไฟวิทยาคม มีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนดงมะไฟวิทยาคม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 19 คน และการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 6 คน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ขั้นตอนที่ 2 รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียน ดงมะไฟวิทยาคม โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนดงมะไฟวิทยาคม กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 12 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเทียบตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) และนักเรียนชั้นศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 73 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนดงมะไฟวิทยาคม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 12 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ความเหมาะสม และความถูกต้องของรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนดงมะไฟวิทยาคม โดยรวม มีการปฏิบัติในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีการปฏิบัติระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการวัดและการประเมินผล ด้านการนิเทศการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนดงมะไฟวิทยาคม พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการดำเนินงาน แนวทางในการประเมิน และเงื่อนไขความสำเร็จ โดยกระบวนการดำเนินงานของรูปแบบ SMART Model ประกอบด้วย การสร้างวิสัยทัศน์และวางแผนกลยุทธ์ (S - Shared Vision & Strategic Planning) การบริหาร โดยใช้ทีมเป็นฐาน (M - Management by Team) การพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก (A - Active Learning Development ) การเสริมสร้างภาวะผู้นำ (R - Reinforcing Leadership - R) และโครงสร้างสนับสนุน การทำงานเป็นทีม (T - Team Support Structure) ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิโดยภาพรวมพบว่า รูปแบบ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนดงมะไฟวิทยาคม พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจากการวัดผลประเมินผลในระดับโรงเรียน 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจากการวัดผลประเมินผลในระดับชาติ (O-NET) 3) นักเรียนได้รับรางวัลในระดับสหวิทยาเขตและระดับเขตพื้นที่การศึกษา 4) โรงเรียนได้รับรางวัลในระดับเขตพื้นที่การศึกษา 5) ผลสัมฤทธิ์ด้านการบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 6) ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทีมเป็นฐานร่วมกับชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียน ดงมะไฟวิทยาคมพบว่า ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน