การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
ชื่อผู้วิจัย นางสาวอชิระ นามวงษ์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะสมอง (EF) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ได้แก่ เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 25 คน ได้มาจาก วิธีการแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แผนการจัดมีค่าความเหมาะสมระดับ มาก 2) แบบสังเกตพัฒนาการทักษะสมอง (EF) ก่อนการจัดประสบการณ์ ระหว่างการจัด ประสบการณ์ และหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา เป็นแบบสังเกตพัฒนาการทักษะ สมอง (EF) จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1.ทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาสูงขึ้น
2.ทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาสูงกว่าก่อนการจัดการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย
2.เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะสมอง (EF) ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาของเด็กปฐมวัย
สมมติฐานการวิจัย
ทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์เรียนรู้
ขอบเขตการวิจัย
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลอายุ 4-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่2-3 กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2567 จำนวน 47
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลอายุ5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2567 จำนวน 25
ตัวแปรในการวิจัย
ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะสมอง (EF) ได้แก่ 1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) 2.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) 3.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus/Attention) 4.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) 5.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามหัวข้อดังต่อไปนี้
1.การเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนนี้ผู้วิจัยได้นำคะแนนการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยใน 5 ด้าน ได้แก่
1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)
2.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
3.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus/Attention)
4.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring)
5.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
และสรุปรวม ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาก่อนการจัดกิจกรรมและหลังการจัดกิจกรรม มาหาคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิเคราะห์ พบว่าผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ช่วยพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยจำแนกเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านทักษะความจำเพื่อนำมาใช้งาน ก่อนการจัดกิจกรรม คะแนนก่อนการจัดกิจกรรม X ̅ = .6.32 , S.D. = 0.85 หลังการจัดกิจกรรม X ̅= 8.48, S.D. =0.51 ด้านทักษะการยืดหยุ่นความคิด คะแนนก่อนการจัดกิจกรรม X ̅ = 6.32 , S.D. = .0.69 หลังการจัดกิจกรรม X ̅= .8.48, S.D. = .0.51 ด้านทักษะการจดจ่อใส่ใจ ก่อนการจัดกิจกรรม X ̅ =6.26 , S.D. =0.44 หลังการจัดกิจกรรม X ̅= 8.48, S.D. = 0.51 ด้านการประเมินตนเองก่อนการจัดกิจกรรม X ̅ = 6.6 , S.D. = 0.58 หลังการจัดกิจกรรม X ̅= 8.36, S.D. = 0.49 ด้านการริเริ่มและลงมือทำ ก่อนการจัดกิจกรรม X ̅ = 6.25 , S.D. = 0.59 หลังการจัดกิจกรรม X ̅= 8.36, S.D. = 0.49 เมื่อพิจารณาพบว่าความสามารถทักษะสมองส่วนหน้า EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยทั้ง 5 ด้านหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีพัฒนาการที่สูงขึ้น แสดงว่าการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาสามารถพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยให้แก่เด็กปฐมวัยได้
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
เด็กปฐมวัยหลังการได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา มีพัฒนาการทางทักษะสมองส่วนหน้า EF (Executive Functions) สูงขึ้น คือ ก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยเท่ากับ 6.36 คะแนน แต่หลังการจัดกิจกรรมพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยเท่ากับ 8.43 คะแนน