บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 2) เพื่อสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 มีระยะการวิจัย 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาขนาดเล็ก โดยศึกษาเอกสาร งานวิจัยและการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญ 18 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ ร่างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก เอกสารประกอบการสนทนากลุ่ม แบบประเมินรูปแบบและคู่มือ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก เครื่องมือที่ใช้ คือ รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กและแบบประเมินระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 42 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมินรูปแบบและแบบประเมินความพึงพอใจ ผู้ให้ข้อมูล กลุ่มประชากร จำนวน 42 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ได้ 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ภาวะผู้นำร่วม 2. การมีวิสัยทัศน์ร่วม 3.ชุมชนแห่งกัลยาณมิตร 4. การทำงานเป็นทีม 5. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ 6. โครงสร้างการพัฒนาชุมชน 7. การสร้างเครือข่ายชุมชน 8. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ9. การนิเทศ กำกับ ติดตามและสะท้อนผลย้อนกลับ
2. การสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย หลักการพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2
ส่วนที่ 2 เนื้อหา ประกอบด้วย 1. ภาวะผู้นำร่วม 2. การมีวิสัยทัศน์ร่วม 3.ชุมชนแห่งกัลยาณมิตร 4. การทำงานเป็นทีม 5.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ 6. โครงสร้างการพัฒนาชุมชน 7. การสร้างเครือข่ายชุมชน 8. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ9. การนิเทศ กำกับ ติดตามและสะท้อนผลย้อนกลับ
ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ
2.2 ผลการตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 พบว่า โดยภาพรวม ความถูกต้อง ความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
2.3 ผลการประเมิน ความถูกต้อง ความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 พบว่า โดยภาพรวม ความถูกต้อง ความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 พบว่า การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ผลการประเมิน ระดับคุณภาพดีเลิศ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ผลการประเมิน 78.24 ระดับคุณภาพดี 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ผลการประเมิน 91.50 ระดับคุณภาพดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมิน ระดับคุณภาพดีเลิศ และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมิน 84.00 ระดับคุณภาพดีเลิศ
4. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2
4.1 ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 พบว่า โดยภาพรวม มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดเทพนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
นอกจากนี้ผลการเปรียบเทียบมาตรฐานการศึกษาปีการศึกษา 2565-2566 ระดับปฐมวัย ผลการพัฒนา ดีเลิศ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ผลการพัฒนา เพิ่มขึ้น (+1.48) 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ผลการพัฒนา เพิ่มขึ้น (+2.84) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการพัฒนา ดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการพัฒนา เพิ่มขึ้น (+1.65) ผลการบริหารจัดการระบบประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล 1) รางวัลสถานศึกษาที่มีระบบและกลไกบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา IQA AWARD (ระดับดีเด่น) ประจำปีการศึกษา 2566 ระดับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARD) เหรียญเงิน ผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยมระดับประถมศึกษาขนาดเล็ก ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ระดับภาคเหนือ ครั้งที่ 12 ประจำปีการศึกษา 2565-2566 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) รางวัล“1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม” (One school One Innovation: OSOI ) ประจำปี 2567 ระดับภูมิภาค ระดับเหรียญทองแดง จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและ 4) ผลการทดสอบระดับชาติ RT : Reading Test, NT : National Test และ O-NET : Ordinary National Educational Test ปีการศึกษา 2566 สูงกว่าระดับประเทศทุกตัวชี้วัด