ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวัฏจักรการสืบ
เสาะหาความรู้ IOCIESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางเอื้อมพร ยั่งยืน ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ IOCIESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ IOCIESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 4) ประเมินความพึงพอใจของครูหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ IOCIESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 10 คน และครูผู้สอนปฐมวัยในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ IOCIESS MODE L เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ IOCIESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีชื่อว่า IOCIESS MODEL มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 7 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction to the lesson: I) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการสังเกต (Observation : O) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการจําแนกประเภท (Classification : C) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นการสื่อความหมายข้อมูล (Interpreting information : I) ขั้นตอนที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) ขั้นตอนที่ 6 ขั้นสรุป (Summarize : S) ขั้นตอนที่ 7 ขั้นร่วมสร้างสรรค์สังคม (Social creativity : S )
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.16/88.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีจำนวนเด็กปฐมวัยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 88.68 ของจำนวนเด็กปฐมวัยทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้
4. ครูมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ IOCIESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สาระที่ 4 สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก