ชื่อเจ้าของผลงาน นางสาวจิระภา สมัครพงษ์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม
ชื่อผลงาน สร้างสุขในโรงเรียนด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบ PW CAER MODEL
๑. ความสำคัญของผลงาน
๑.๑ ความสำคัญสภาพปัญหา
โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม เป็นโรงเรียนแห่งโอกาสทางการศึกษา มุ่งพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีในด้านศึกษาของเยาวชนอย่างทั่วถึงครอบคลุมนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลตัวเมือง ซึ่งมีมิติวัฒนธรรมความเป็นอยู่ใช้ชีวิตที่หลากหลายของคนในครอบครัวที่แตกต่างออกไป ส่งผลให้เกิดปัญหาครอบครัวที่แตกแยก ขาดความอบอุ่น พฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ และการขาดเรียนบ่อยๆ โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม เห็นความสำคัญจากปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดไว้ว่า ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานที่มีองค์ประกอบ 5 ประการได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา และการส่งต่อ ซึ่งโรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม ยึดถือเป็นภารกิจหลักที่จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ จากการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้มีการเปรียบเทียบพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ภาคเรียนที่ 2/ 2566 และภาคเรียนที่ 2/2567 พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ มาโรงเรียนสาย หนีเรียน แต่งกายไม่เรียบร้อย ทะเลาะวิวาทใช้ความรุนแรง การติดเกม เพิ่มขึ้นร้อยละ ปัญหาเหล่านี้ได้รับแก้ไขและแก้ปัญหาโดยใช้ระบบกระบวนการ PLC ในชั้นเรียน ของครูที่ปรึกษาหัวหน้าระดับแต่กลับไม่สามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จได้ จากการสำรวจรายงานผลพบว่าปัญหาเกิดจากนักเรียนไม่มีความสุข รู้สึกเบื่อ ทำให้นักเรียนไม่อยากมาโรงเรียน มีคำถามว่าเราจะทำให้นักเรียนมีความสุขได้อย่าง ซึ่งคำถามนี้ยังคงเป็นประเด็นท้าท้ายมาจนถึงปัจจุบัน
นวัตกรรม สร้างสุขในโรงเรียนด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบ PW CAER MODEL ถือเป็นหนึ่งของการปฏิบัติที่มีความเป็นเลิศที่ได้แรงบันดาลใจจากคำว่า เราจะสร้างความสุขของนักเรียนในโรงเรียนได้อย่างไร นวัตกรรมนี้เกิดจากการกระบวนการ PLC และ PW CAER MODEL ผ่านระบบ PDCA ด้วยการช่วยเหลือ เอาใจใส่ สนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะผู้บริหาร ครู สภานักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทร่วมแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
๑.๒ แนวทางแก้ปัญหาและพัฒนา
1. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
2. สร้างรูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นระบบ
3. ร่วมกันแก้ไขปัญหา
๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
๑. เพื่อ ลด ละ เลิก พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (สูบบุหรี่ มาโรงเรียนสาย หนีเรียน แต่งกายไม่เรียบร้อย ทะเลาะวิวาท)
๒. เพื่อส่งเสริมความสุขของนักเรียนในโรงเรียน
เชิงปริมาณ
1. ผู้เรียน ร้อยละ 100 ได้รับการดูแลช่วยเหลือผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่สถานศึกษากำหนด
2. ครู ร้อยละ 100 สามารถดูแลนักเรียนผ่านกระบวนการของระบบช่วยเหลือนักเรียน
เชิงคุณภาพ
1. ผู้เรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับดีมาก
2. ครูมีความสามารถในการจัดระบบการช่วยเหลือนักเรียนนอยู่ในระดับดีขั้นไป
3. โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนอยู่ในระดับดีมากขั้นไป
๓. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
๓.๑ การออกแบบผลงาน/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ/นวัตกรรม
การพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้ เพื่อสร้างแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นระบบและครอบคลุม สามารถแก้ไขปัญหาของนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ตรงจุด ด้วยความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการทำงานร่วมกัน โดยใช้ PW-CAER Model และดำเนินตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ดังนี้
1. Participation (P) คือ การมีส่วนร่วม
1.1 มีการประชุมวางแผนดำเนินงานของทุกคนที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ตรงจุด
2. Warmth (W) คือ การให้ความรัก ความอบอุ่น เปิดใจรับฟัง
2.1 ครูและผู้ปกครองตระหนักในให้ความรักความอบอุ่น ความเมตตา กับนักเรียนทุกคนทุกกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนกล้าเปิดใจปรึกษาปัญหาต่างๆ กับคุณครู และผู้ปกครองรับฟังปัญหาของลูก
3. Care (C) คือ การศึกษารวบรวมสังเคราะห์ข้อมูล
3.1 คุณครู รวบรวมและสังเคราะห์ ข้อมูลนักเรียน กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา โรงเรียนมีข้อมูลมีคลอบคลุมนักเรียนทุกกลุ่ม
4. Action (A) คือ การปฏิบัติช่วยเหลือนักเรียนเชิงรุก
4.1 ครูลงพื้นที่ช่วยเหลือนักเรียนเชิงรุก แก่นักเรียนที่เผชิญปัญหา โดยผ่านการให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหา และสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น โดยยึดหลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ส่งผลให้นักเรียนทุกกกลุ่มได้รับการดูแลเอาใจใส่ สนับสนุนส่งเสริม และได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง
5. Reflecttion (R) คือ การติดตามผล สะท้อนผลการดำเนินงาน
5.1 การประเมินผล สรุปผล และรายงานผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้ทราบถึงผลการดำเนินงานเชิงลึก 5 ขั้นตอน
6. Evaluation (E) คือ การประเมินผล สรุปผล รายงานผล
6.1 การประเมินผล สรุปผล และรายงานผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน รายงานผล ขยายผล และพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
๓.๒ การดำเนินงานตามกิจกรรม (ตามวงจร PDCA)
การดำเนินตามวงจรคุณภาพ PDCA ในการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดังนี้
ขั้นตอนดำเนินงาน กระบวนการ
ขั้นการวางแผน (Plan)
- วิเคราะห์สถานการณ์ของนักเรียนในทุกมิติ
- ประชุมวางแผนกิจกรรมที่ครอบคลุมตามโมเดล PW CAER
ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do)
- นำแผนไปปฏิบัติ เช่น การอบรมครูที่ปรึกษา การจัดกิจกรรมเชิงป้องกัน การให้คำปรึกษาสำหรับนักเรียน
ขั้นตรวจสอบ (Check)
- เก็บข้อมูลการดำเนินงาน เช่น การสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนหรือผู้ปกครอง
- ประเมินผลการช่วยเหลือในเชิงปริมาณและคุณภาพ
ขั้นปรับปรุง (Act)
- นำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงระบบ เช่น ปรับรูปแบบกิจกรรมให้ตรงกับความต้องการของนักเรียน
การดำเนินงานด้วยกระบวนการ PW-CAER Model และวงจรคุณภาพ PDCA ในการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดังนี้
1. รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยการจัดครูที่ปรึกษาทำหน้าที่ ตรวจสอบการเข้าแถวในตอนเช้าของนักเรียนทุกวัน ตรวจสอบการเข้าเรียนรายชั่วโมง ตรวจสอบพฤติกรรมหนีเรียน สอบถามหรือสัมภาษณ์นักเรียน การออกเยี่ยมบ้านนักเรียน การประชุมผู้ปกครองนักเรียน การให้คำปรึกษานักเรียน การศึกษาข้อมูลจากแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองซึ่งจัดทำ โดยกรมอนามัย หากนักเรียนมาสาย ไม่เข้าเรียน หรือมีปัญหาจะได้ดำเนินการช่วยเหลือได้ทันเวลา
2. คัดกรองนักเรียน แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา และกลุ่ม พิเศษ โดยคัดกรองจากแบบประเมิน SDQ แบบประเมิน EQ เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนา ป้องกัน แก้ไขและ ให้ความช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การช่วยเหลือและส่งต่อนักเรียน มี ๒ แบบ คือ ๑) การส่งต่อภายใน ครูที่ปรึกษาส่ง ต่อไปยังครูที่สามารถให้การช่วยเหลือนักเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหา เช่น ส่งต่อครูแนะแนว ครูพยาบาล ครูประจำวิชา หัวหน้าระดับ ผู้บริหารฝ่ายกิจการนักเรียน ๒) การส่งต่อภายนอก โดยครูแนะ แนวหรือกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญภายนอก เช่น โรงพยาบาลปลายพระยา หากเกิดกรณีปัญหาที่มีความยากเกินศักยภาพของโรงเรียน
4. สร้างความตระหนักและส่งเสริมการใช้วินัยเชิงบวก เป็นวิธีจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างสร้างสรรค์โดยไม่ใช้วิธีการลงโทษ มีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนรู้จักควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตัวเองมากกว่าที่จะโดนบังคับ เพื่อให้เด็กเกิดการปรับพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นและมีผลต่อเนื่องในอนาคต
5. มีการจัดกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมคุณลักษณะที่ดีให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุขที่หลากหลาย ซึ่งการจัดกิจกรรมตามโครงการเป็นการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะชีวิต เป็นภูมิคุ้มกันชีวิตให้แก่นักเรียนในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต จึงเป็นภารกิจสำคัญของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเสริมสร้างทักษะชีวิตให้มากที่สุดทั้งใน ๘ กลุ่ม สาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อันได้แก่ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมลูกเสือ กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนา และเสริมสร้างทักษะชีวิตได้ทุกองค์ประกอบของทักษะชีวิต ทั้งด้านดนตรี ด้านกีฬา กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย กิจกรรมค่ายคุณธรรม จริยธรรมของ กิจกรรมชุมนุมตามความสนใจ การจัดสรรเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แนวทางการศึกษาต่อ การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากยาเสพติด หรือเมื่อเผชิญกับเหตุร้าย การรักษากฎจราจร เป็นต้น
6. มีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับ การดูแลที่ดี ได้แก่ ๑) บันทึกเวรประจำวันหน้าประตูโรงเรียน มีการคัดกรองการแต่งกายโดยครูเวรประจำวัน ๒) รายงานการเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงครูที่ปรึกษาเป็นผู้รายงาน ๓) บันทึกกิจกรรมโฮมรูม ๔) บันทึกการเข้าเรียนรายชั่วโมง ๕) ระบบรายงานนักเรียนหนีเรียนออนไลน์จะมีแจ้งเตือนให้ครูผู้สอน ทราบว่านักเรียนคนใดหนีเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาในคาบเรียนของตนเองผ่าน Line Group ซึ่งทำให้ติดตามนักเรียนที่มีปัญหาไม่มาโรงเรียนหรือมาโรงเรียนสาย ติดตามนักเรียนหนีเรียน และยังมีรายงานการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรหน้าเสาธง ครูที่ปรึกษาสามารถติดตามพฤติกรรมได้รวดเร็ว สามารถปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครองผ่าน Line Group หรือ Chat Group ของห้องเรียนได้ทันที
๓.๓ ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต และการคุ้มครองนักเรียน มีผลต่อคุณภาพของนักเรียนทุกคนอยู่ในระดับที่ดี นักเรียนสามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ตามวัย มีความปลอดภัยครอบคลุมทุกด้าน เสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียนส่งผลต่อประสิทธิภาพของนักเรียน
๓.๔ การใช้ทรัพยากร
มีแผนปฏิบัติการที่ระบุโครงการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียนอย่างชัดเจน จำนวน ๒ โครงการ คือ ๑) โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการคัดกรอง กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน กิจกรรมประชุมผู้ปกครองนักเรียน กิจกรรมพัฒนาระเบียบวินัยนักเรียน กิจกรรมปรับพฤติกรรมนักเรียน กิจกรรมบันทึกความดี ๒) โครงการส่งเสริมคุณลักษณะที่ดีให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมอบรมคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม กิจกรรมการเลือกตั้งสภานักเรียน กิจกรรมกีฬาภายใน มีการดำเนินการตามโครงการอย่างเป็นระบบขั้นตอน คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่เกิดขึ้นกับนักเรียน สอดคล้องกับหลักปฏิบัติตามกฎหมายและหลักปฏิบัติที่ดีที่ที่มีมาตรฐาน
๔.ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์
ผลการดำเนินงานปฏิบัติที่มีความเป็นเลิศ โดยใช้นวัตกรรม สร้างสุขในโรงเรียนด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบ PW CAER MODEL ไปใช้กับนักเรียนที่มีพฤติกรรมขาดเรียน หนีเรียน สูบบุหรี่ ความรุนแรง ติดเกมหรือพฤติกรรม ไม่พึ่งประสงค์ซ้ำๆ และบ่อยๆ เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ลดน้อยลง ลด ละ เลิก พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยตัวเอง จากการดำเนินงานพบว่า นักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ ภาคเรียนที่ 2/2566 และภาคเรียนที่ 1/2567 รายละเอียดตามแผนภูมิตารางดังนี้
จากแผนภูมิตารางพบว่า ในภาคเรียนที่ 1/2567 มีค่าเฉลี่ยลดลงจากภาคเรียนที่ 2/2566 ตามลำดับดังนี้ การสูบบุหรี่ในโรงเรียนลดลงคิดเป็นร้อยละ 22.10 การมาโรงเรียนสายลดลงคิดเป็นร้อยละ 16.33 การหนีเรียนลดลงคิดเป็นร้อยละ 7.32 การแต่งกายไม่เรียบร้อยลดลงคิดเป็นร้อยละ 4.68 และพฤติกรรมไม่เหมาะสมลดลงคิดเป็นร้อยละ 4.70 จากสถิติมีค่าเฉลี่ยลดลงทุกรายการ นอกจากนี้ มีผลสำรวจจากครูแนะแนว ครูที่ปรึกษา พบว่านักเรียนมีพฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ ลดน้อยลงจะส่งผลให้นักเรียนมีความสุขอยากมาโรงเรียน นักเรียนเปรียบโรงเรียนเสมือนบ้านที่อบอุ่น
๔.๒ ผลสัมฤทธิ์ของงาน
การใช้นวัตกรรม สร้างสุขในโรงเรียนด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบ PW CAER MODEL ทำให้นักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขเข้าใจตนเองมากขึ้น และได้รับรางวัลเป็นที่ยอมสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงต่อตนเอง ครอบครัว และโรงเรียนอย่างมีความภาคภูมิใจ ตลอดเป็นแบบอย่างที่ดี
๔.๓ ประโยชน์ที่ได้รับ
นวัตกรรม สร้างสุขในโรงเรียนด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบ PW CAER MODEL สามารถช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมเชิงบวกและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่น
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม มีการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง มีการทำงานที่มามาตรฐานชัดเจน มีระบบเป็นระเบียบ มีขั้นตอนในการทำงานที่เหมาะสม มีการประเมินผล รวมถึงมีการแก้ไขจุดบกพร่องในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างทันท่วงที โดยมีภาคีเครือข่ายภายนอกที่ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทำให้ให้องค์กรพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางเหียน โรงพยาบาลปลายพระยา สถานีตำรวจภูธรปลายพระยา สาธารณสุขปลายพระยา อำเภอปลายพระยา และเทศบาลปลายพระยา การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสนับสนุนป้องกัน ช่วยเหลือและคุ้มครอง นักเรียนร่วมกับสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้ คณะกรรมการสถานศึกษาโดยมีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง นำข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและช่วยเหลือนักเรียน รวมทั้ง ร่วมมือกับผู้ปกครองในการดูแลนักเรียน สร้างเครือข่ายผู้ปกครองห้องเรียนละ 2 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้ปกครองในห้องเรียน ประชุมผู้ปกครองภาคเรียนละ 2 ครั้ง การแก้ไขปัญหายาเสพติด ส่งต่อนักเรียน กลุ่มเสี่ยง การให้ความรู้การตั้งครรภ์ก่อนวัยเรียน โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปลายพระย จัดกิจกรรมทำบุญไปวัดตามวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น กิจกรรมถวายเทียนพรรษา กิจกรรมวันสารทเดือนสิบ อบรมขับขี่ปลอดภัย กฎหมายจราจร ให้ความรู้นักเรียนเรื่องยาเสพติด โดยตำรวจภูธรปลายพระยา
นอกจากนี้โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม มีฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายภายในโรงเรียน คือ ครูที่ปรึกษา สภานักเรียน หัวหน้าห้อง งานอนามัยโรงเรียน งานแนะแนว งานปรับพฤติกรรมนักเรียน งานวัดผล และประเมินผลโดยบูรณาการเข้าด้วยกัน กำหนดเป็นระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมเป็น ผู้รับผิดชอบงานตามโครงการหรือกิจกรรมจะประสานงานกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ ในส่วนของเครือข่ายผู้ปกครองจะใช้ Line Group หรือ Chat Group กลุ่มห้องเรียนเป็นส่วนหนึ่งในการติดต่อประสานงานเวลาโรงเรียนมีกิจกรรมที่สำคัญ และได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายสม่ำเสมอ เช่น ศิษย์เก่าของโรงเรียนมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีความประพฤติดี
๖. บทเรียนที่ได้รับเพื่อการปรับคุณภาพมุ่งพัฒนาต่อไป
๖.๑ บทเรียนที่ได้รับ
บทเรียนที่ได้รับด้านความภาคภูมิใจ โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคมมีการบริหารจัดการระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบมากขึ้น ครูทุกคนมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน เห็นความสำคัญของการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบมากขึ้น ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
๖.๒ การปรับคุณภาพมุ่งพัฒนาต่อไป
สิ่งที่ต้องพัฒนา คือ ต้องเลือกใช้คำและการแสดงออกอย่างเหมาะสมต่อนักเรียน มีความสำคัญอย่างมากในการสร้างวินัยเชิงบวก ในช่วงแรกอาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากในการจัดการชั้นเรียน แต่ถ้าสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การสร้างวินัยเชิงบวกนี้จะทำให้การจัดการชั้นเรียนเป็นเรื่องที่ง่ายดายขึ้น และส่งผลดีกับนักเรียนเพราะจะทำให้เขาเป็นคนที่รู้จักควบคุมตัวเอง มีเหตุผลและพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆ