การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (5) เพื่อประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (6) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มขยายผลที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (7) เพื่อประเมินความคิดเห็นของนักเรียนของกลุ่มที่ขยายผลที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) จังหวัดกาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 37 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบ ด้วย (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE (2) คู่มือการใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้แบบ SPACE (3) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยเลือกตอบ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบอัตนัย เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ (6) แบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับจำนวน 10 ข้อ สวนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบ ค่า t-test (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
(1) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่จัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบ 1) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบ3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบ ด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสำรวจและค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจแก้ปัญหา (Survey: S) ขั้นที่ 2 ขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Planning: P) ขั้นที่ 3 ขั้นลงมือแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ขั้นเชื่อมโยงการเรียนสู่โลกภายนอก (Connections to the beyond the classroom: C ) ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluation: E) องค์ประกอบ 4) การวัดและประเมินผลของรูปแบบ
ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เแบบ SPACE ที่มีต่อประเด็นต่าง ๆ ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการประเมินความสอดคล้องแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับของLikert (Likert Five Rating Scales) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบ SPACE มีความสอดคล้องกันในระดับมากที่สุดแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องเหมาะสมสามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้ได้และเมื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มีประสิทธิภาพ เท่ากับ85.80 / 80.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
(2) ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้เแบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.596
(3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(4) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(5) ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SPACE ระดับมาก (X = 4.26, S.D. = 3.01) เมื่อพิจารณารายการประเมินรายด้าน พบว่า นักเรียนมีระดับความคิดเห็นในด้าน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( X = 4.49, S.D. = 1.32) และเมื่อพิจารณารายการประเมินรายข้อ พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นระดับมากที่สุด คือ ครูในจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย นักเรียนมีการทำงานเป็นกลุ่มทำให้ทุกคนในกลุ่มได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และนักเรียนรู้สึกดีเมื่อครูเปิดโอกาสให้สนทนา ซักถามข้อผิดพลาดพร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปรับปรุง ส่วนความคิดเห็นระดับน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีการประเมินเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
(6) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มขยายผลที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ขยายผลมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(7) ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนของกลุ่มที่ขยายผลที่ได้รับการจัด การเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบ SPACE โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าในภาพรวมนักเรียนกลุ่มที่ขยายผลมีความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบ SPACE ระดับมาก ( X = 4.25, S.D. = 3.11) เมื่อพิจารณารายการประเมินรายด้าน พบว่า นักเรียนมีระดับความคิดเห็นในด้าน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X = 4.55, S.D. = 1.36) และเมื่อพิจารณารายการประเมินรายข้อ พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นระดับมากที่สุด คือ นักเรียนมีการทำงานเป็นกลุ่มทำให้ทุกคนในกลุ่มได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันนักเรียนได้รับความรู้ที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และครูในจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่วนความคิดเห็นระดับน้อยที่สุด คือ นักเรียนนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายทำให้มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก