รายละเอียดเอกสารการนำเสนอการจัดการเรียนรู้/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
1. ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคแห่งความท้ายทายที่เป็นพลวัตของโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0 และความต้องการกำลังคนที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมรอบด้าน การยืนอยู่ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงต้องปรับตัวให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและกลมกลืนในวิถีของการดำรงชีพ ปัจจัยหรือเครื่องมือที่สำคัญของการสร้างความก้าวทันและพัฒนาวิถีการดำรงชีพอย่างเหมาะสม คือ การศึกษา (Education)
ภายใต้วิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 คือ คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของ โลกศตวรรษที่ ๒๑ นำไปสู่การกำหนดเป้าหมายด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (3Rs8Cs) โดยเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง (Access) และเท่าเทียม (Equity) สถานศึกษาสามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถ เต็มตามศักยภาพ (Quality) และมีระบบการบริหารจัดการศึกษาต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อการลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มค่าและบรรลุเป้าหมาย (Efficiency) และมีระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและบริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy)
แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566-2570 โลกแห่งศตวรรษที่ 21 ทักษะสำคัญที่เด็กและเยาวชนควรมี คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมหรือ 3Rs และ 8Cs ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
- 3Rs ได้แก่ อ่านออก (Reading) เขียนได้ (W) Riting และคิดเลขเป็น (A) Rithemetics
- 8Cs ได้แก่ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinkingand Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และมีความเมตตากรุณา มีคุณธรรมและระเบียบวินัย (Compassion) และตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นประจำปีงบประมาณ 2566 ไว้ 4 ด้าน คือ ด้านความปลอดภัย ด้านโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ด้านคุณภาพ และด้านประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการต่อยอดพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็น วิถีอนาคตวิถีคุณภาพ
โรงเรียนวัดบ้านเกาะ เป็นโรงเรียนขนาดกลาง มีผู้เรียนจำนวน 218 คน (20 กรกฎาคม 2566) เปิดทำการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเขตพื้นที่บริการจำนวน 3 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 การดำรงชีวิตของคนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยอาศัยน้ำจากธรรมชาติเพราะไม่มีระบบชลประทาน ทำให้การทำเกษตรรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตต้องหารายได้มาช่วยเหลือครอบครัวโดยการรับจ้างทั่วไปภายในเขตพื้นที่ใกล้เคียงและห่างไกลชุมชน บางครอบครัวต้องทิ้งลูกไว้กับตายายเพียงลำพังเพื่อไปหารายได้ที่ต่างจังหวัด
โรงเรียนวัดบ้านเกาะจึงเห็นความสำคัญในการพัฒนาทักษะอาชีพให้แก่ผู้เรียน จึงดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพแก่ผู้เรียน ให้สอดรับกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 -2579 แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566-2570 นโยบายและจุดเน้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะอาชีพการประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพด้วย นวัตกรรม BAITONG Model เพื่อพัฒนาผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่มีความถนัดความสามารถและสนใจในการประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพดอกไม้สด ให้สามารถนำความรู้และทักษะไปพัฒนาต่อยอดในการศึกษาต่อและเป็นอาชีพต่อไปในอนาคต โดยได้นำวงจรคุณภาพ PDCA มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะอาชีพการประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพด้วย นวัตกรรม BAITONG Model ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามสภาพจริง
2. จุดประสงค์และเป้าหมายการจัดการเรียนรู้/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในการประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการทำงานและมีพื้นฐานในการเตรียมตัวสู่อาชีพ
3. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มสามารถวางแผนและปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
4. เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่ดี และมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
3. กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
การจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะอาชีพการประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพด้วย นวัตกรรม
BAITONG Model เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนวัดบ้านเกาะ โดยผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองผู้เรียน และภาคีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ร่วมกันวางแนวทางการพัฒนาการดำเนินงาน โดยได้นำวงจรคุณภาพ PDCA ตามแนวคิดของ เด็มมิ่ง (Deming W,Edward) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (P=Plan) ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามแผน (D=Do) ขั้นที่ 3 การตรวจสอบประเมินผล (C=Check) ขั้นที่ 4 การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (A=Action)