ชื่อโครงงาน การพัฒนาทักษะภาษาในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ
เชียงใหม่ (จอมทอง) โดยใช้การสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
โดย นางสาวพิมพิมล จันต๊ะวงค์
นางสาวกฤติกา อินตา
นางสาวศุภลักษณ์ บำรุงกิจ
นายเศวตฉัตร แปงฝั้น
แผนกวิชา ภาษาตะวันออก คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะภาษาในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ (จอมทอง) โดยใช้การสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ขอบเขตของการศึกษาการศึกษาครั้งนี้ ใช้กลุ่มศึกษา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาการจัดการ ภาคปกติและภาคสมทบ ศูนย์การจัดการศึกษาพิเศษ (จอมทอง) อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 3 ห้อง 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนการสอน (มคอ.3 วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร) จัดทำโดยอาจารย์ผู้สอนแผนกภาษาตะวันออก ภาษาตะวันตก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ (จอมทอง) และแบบทดสอบทักษะภาษา (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ) สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ (จอมทอง) เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน โดยผู้วิจัยได้ร่วมมือกับนักศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเอง พร้อมทั้งทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน และเขียน ทักษะภาษา ก่อนและหลังการสอน โดยใช้วิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของข้อมูล และทดสอบ t-test
ผลการวิจัยปรากฏว่า ผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะภาษาโดยใช้วิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการพัฒนาทักษะภาษา (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Thesis Title The Development of Language Skills in Larning to Thai for Communication for students in Rajamangala University of Lanna Chaing Mai
(Chomthong) by Using Peer Tutoring Mcthod
Author Miss. Pimpimol Juntawong
Miss. Krittika Inta
Miss. Suphalak Bumroogkit
Mr. Sawattchat Pangfun
ABSTRACT
The purpose of this research was to develop language skill of the students who enrolled for Thai Communication course in Rajamangala University of Technology Lanna, Chaing Mai (Chom Thong) by using Peer Tutoring Method. The sample of this study included 60 students of 3 classes in the first semester of the academic year 2014 of Rajamangala University of Technology Lanna, Chaing Mai (Chom Thong). The research approach took the format of two experiment groups with a pre-test and post-test operation. The instruments used in the study included study plan and tests of language skills in reading and writing. The pre-test and post-test were developed by using Peer Tutoring Method with language skills development series. The data were analyzed by using mean, standard deviation and t-test.
The result of this research was the students who were taught by using Peer Tutoring Method with language skill development series was higher than before as the statistical sinificant level at 0.05