เรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียนชั้น ป.๓ โรงเรียนบ้านโพนก่อ (ราษฎร์อนุสรณ์)
โดยการใช้ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน
ความเป็นมาความสำคัญของปัญหา
การปฏิรูปการศึกษาได้กำหนดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนทุกคนจะต้องมีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่สนใจเอาใจใส่ต่อการเรียนอย่างสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียน ในฐานะคุณครูประจำชั้น พบว่านักเรียนชั้น ป.๓.... จำนวน 7 คน ขาดความรับผิดชอบต่อการส่งงานไม่สนใจการเรียนเท่าที่ควร และเข้าห้องเรียนช้าเป็นประจำ ผู้วิจัยจึงได้ประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนในกลุ่มสาระต่างๆ ซึ่งเป็นวิชาหลัก ขอขอความร่วมมือจากเพื่อนๆ นักเรียนในห้องโดยใช้ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพฤติกรรมการเรียนให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาพฤติกรรมและวินัยการเรียนของนักเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนดีขึ้นทั้งการเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลาความสนใจและเอาใจใส่ต่อการเรียน และความร่วมรับผิดชอบในการส่งงาน
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
วิธีดำเนินการวิจัย
1. กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือนักเรียนชั้น ป.๓.... โรงเรียนบ้านโพนก่อ (ราษฎร์อนุสรณ์)
ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน 7 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
1. แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนโดยอาจารย์ผู้สอน
2. แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนโดยกลุ่มเพื่อนพี่เลี้ยง 7 คน
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. จากการประเมินผลพฤติกรรมการเรียนนักเรียนโดยคณะอาจารย์ผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
2. จากผลการบันทึกพฤติกรรมการเรียนนักเรียนโดยกลุ่มเพื่อนพี่เลี้ยง
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ข้อมูลจากค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และร้อยละความก้าวหน้า
2. พิจารณาจากผลการบันทึกพฤติกรรมนักเรียนโดยเพื่อนพี่เลี้ยง
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านโพนก่อ (ราษฎร์อนุสรณ์)..... จำนวน 7 คน ที่เข้า โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน มีพฤติกรรมการเรียนและวินัยในการเรียนพัฒนามากขึ้น ทั้ง 3 ด้าน คือ การเข้าห้องเรียนตรงเวลามากขึ้น ค่าเฉลี่ย 2.52 หรือร้อยละ 84.00 ความสนใจเอาใจใส่ต่อการเรียน ค่าเฉลี่ย 2.53 หรือร้อยละ 84.33 และความรับผิดชอบ ค่าเฉลี่ย 2.60 หรือร้อยละ 86.67 ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ประเมินในระดับดี
2. เมื่อพิจารณาผลการเรียนของนักเรียนจากระดับคะแนนเฉลี่ยปลายภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา.๕๖๖ พบว่านักเรียนทั้ง 7 คนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นทุกคน
ข้อเสนอแนะ
ควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมินพฤติกรรมของนักเรียนด้วย