นางปิยวดี ลีตีโรงเรียนชุมชนบ้านหัววัว (ราษฎร์อุทิศ) จังหวัดบุรีรัมย์
อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม
โดยใช้โครงงานการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหัววัว (ราษฎร์อุทิศ) จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ของวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ
ปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้โครงงาน
การงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน
ชุมชนบ้านหัววัว (ราษฎร์อุทิศ) จังหวัดบุรีรัมย์2) พัฒนารูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอน
สตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้โครงงานการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหัววัว (ราษฎร์อุทิศ) จังหวัดบุรีรัมย์3) ศึกษาผลการทดลองใช้
รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้โครงงานการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหัววัว (ราษฎร์
อุทิศ) จังหวัดบุรีรัมย์4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม
โดยใช้โครงงานการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหัววัว (ราษฎร์อุทิศ) จังหวัดบุรีรัมย์กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
4/2 โรงเรียนชุมชนบ้านหัววัว (ราษฎร์อุทิศ) อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2566 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ รหัสวิชา ง14101 หน่วยการเรียนรู้ โครงงานการงาน
อาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายวิชาการงานอาชีพ รหัสวิชา ง14101 หน่วยการเรียนรู้ โครงงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน
อาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 ข้อ ลักษณะข้อสอบเป็นแบบปรนัย ชนิด 4
ตัวเลือก ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบได้ 0 คะแนน 3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์
ประกอบด้วย 4 กิจกรรม เพื่อพัฒนาด้านความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุนและความคิด
ละเอียดลออ 4) แบบประเมินหลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม
โดยใช้โครงงานการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหัววัว (ราษฎร์อุทิศ) จังหวัดบุรีรัมย์และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของ
นักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้โครงงานการงานอาชีพ
สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test
dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา โดยสามารถสรุปผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ได้ดังต่อไปนี้ ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนและความต้องการจำเป็น
ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายในการส่งเสริม
ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง โดย
ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาท จากผู้ให้ความรู้มาเป็นผู้ที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คอยให้คำแนะนำเมื่อผู้เรียนประสบปัญหากระตุ้นให้ผู้เรียนปฏิบัติงานในกลุ่ม ในการที่
จะคิดพิจารณาประเด็นคำถามและสนับสนุนด้วยการแนะนำให้พวกเขาต่อสู้กับปัญหาและกระตุ้นให้เกิด
ความท้าทาย ดังนั้นจึงเป็นแนวคิด ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมและฝึกฝนให้
ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีทักษะในการคิดสร้างสรรค์
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้โครงงานการงานอาชีพ
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน ชุมชนบ้านหัว
วัว (ราษฎร์อุทิศ) จังหวัดบุรีรัมย์ที่ได้พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า PISASES MODEL มีองค์ประกอบของรูปแบบ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์3) กระบวนการเรียนการ
สอน 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) สิ่งสนับสนุน 7) เงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้8) ผลที่เกิด
จากการใช้รูปแบบ กระบวนการเรียนการสอนมี7 ขั้น ดังนี้ขั้นที่ 1 การวางแผนหรือตรวจสอบหรือทบทวน
การทำโครงงาน (Planning: P) ขั้นที่ 2 ระบุปัญหาในกระบวนการทำงาน (Identify the problem: I) ขั้น
ที่ 3 สรุปแนวทางการแก้ปัญหา (Summary of solutions: S) ขั้นที่ 4 วิเคราะห์สิ่งประดิษฐ์หรือผลงาน
การออกแบบ (Analyze artifacts: A) ขั้นที่ 5 แสวงหาความรู้เพิ่มเติม (Seeking additional knowledge:
S) ขั้นที่6 ประเมินผลงาน (Evaluate work: E) ขั้นที่7 นำผลงานสู่สังคม (Sharing and Showing: S and
S) เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนในกลุ่มภาคสนาม จำนวน 27 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ
82.66/81.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้
โครงงานการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนชุมชนบ้านหัววัว (ราษฎร์อุทิศ) จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลัง
เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของ
นักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้โครงงาน
การงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียน
ชุมชนบ้านหัววัว (ราษฎร์อุทิศ) จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า 1) ผลการประเมินหลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้โครงงานการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ
คิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหัววัว (ราษฎร์อุทิศ) จังหวัดบุรีรัมย์
พบว่า โดยภาพรวมมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00, S.D. = 0.92) และ 2) ผลของการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหัววัว(ราษฎร์อุทิศ)
ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่น นิสซึ่ม โดยใช้โครงงานการงานอาชีพ พบว่า ความพึงพอใจรวม
ทุกด้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16, S.D. = 1.19)