วิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
รายวิชา สังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์)
นายโกศล เย็นสุขใจชน
ตำแหน่ง ครูโรงเรียนวัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
โรงเรียนวัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
-2-
สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ระดับมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 5
1. นักเรียนไม่ค่อยให้ความสนใจในการเรียนเรื่องการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. นักเรียนบางคนสมาธิสั้นและเรื่องที่เรียนยังไม่เข้าใจจึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการเรียน
สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญที่สุด คือ นักเรียนบางคนสมาธิสั้นและเรื่องที่เรียนยังไม่เข้าใจจึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการเรียน
ซึ่งมีสาเหตุมาจาก เรื่องที่เรียนดูไม่หน้าสนใจและไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหาที่เรียนในเรื่องของการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบนักเรียน ขาดความเข้าใจและการทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบในเรื่องการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ผ่านจุดประสงค์ ตัวชี้วัดได้
แนวทางในการแก้ปัญหาคือ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีหลายทาง เช่น การเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล(Team Assisted Individualization หรือ TAI)เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนแบบร่วมมือ และการเรียนการสอนแบบรายบุคคลเข้าด้วยกัน เน้นการสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ ส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมหรือการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน(Cooperative Integrated Reading and Composition หรือ CIRC)เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มีองค์ประกอบน่าสนใจ ได้แก่ การสร้างกลุ่มอ่าน การจัดกลุ่มย่อย กิจกรรมการอ่านพื้นฐาน การหาเพื่อนช่วยตรวจสอบ การทดสอบ การสอนอ่าน การสอนเขียน เป็นต้น
แต่แนวทางที่ผู้ศึกษาได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสมกับปัญหา และเหมาะสมกับนักเรียนที่สุด คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล(Team Assisted Individualization หรือ TAI)
เพราะเป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนแบบร่วมมือ และการเรียนการสอนแบบรายบุคคลเข้าด้วยกัน เน้นการสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ ส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- 3 -
ข้าพเจ้าจึงได้ทำการศึกษาในหัวข้อ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) เรื่องการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์ จังหวัดสมุทรสงคราม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนเรื่องการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ นักเรียนที่ผ่านการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
สมมุติฐานของการวิจัย
นักเรียนที่เรียนโรงเรียนโรงเรียนวัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์ จังหวัดสมุทรสงคราม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผ่านการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์ จังหวัดสมุทรสงคราม ที่เรียนวิชาสังคมศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
2. กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์ จังหวัดสมุทรสงคราม ที่เรียนวิชา สังคมศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 4 คน ซึ่งได้มาโดย การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) ที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถใช้จัดการเรียนการสอน เรื่องการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ได้แนวทางในการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา โดย การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning)
3. ค้นพบรูปแบบการศึกษาในหัวข้อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์ จังหวัดสมุทรสงคราม
-4-
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกัน โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีข้อดีหลายประการ อาทิ ช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นของนักเรียน ช่วยพัฒนาความคิดของนักเรียน ช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียน ส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน ทำให้นักเรียนมีวิสัยทัศน์หรือมุมมองกว้างขึ้น ช่วยการปรับตัวในสังคมดีขึ้น เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย
1.1 แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา เรื่อง การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ประกอบด้วย
2.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นแบบเขียนตอบ จำนวน 20 ข้อ
2.2 แบบประเมินความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 10 ข้อ
วิธีดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้ศึกษาได้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ตั้งแต่วันที่ 9 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ตามขั้นตอนดังนี้
1. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์) เรื่องการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปทดสอบกับนักเรียน รวบรวมคะแนนไว้เป็นคะแนนก่อนเรียน
2. ผู้ศึกษาดำเนินการสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์) เรื่องการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปทดสอบกับนักเรียน รวบรวมคะแนนไว้เป็นคะแนนหลังเรียน
4. นำแบบประเมินความพึงพอใจจำนวน 10 ข้อ ไปให้นักเรียนประเมิน
-5-
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษามีลำดับขั้นในการนำเสนอข้อมูล ดังนี้
1. ผลการเปรียบเทียบความก้าวหน้าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ร้อยละของความก้าวหน้า
2. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนโรงเรียนวัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์
ตารางที่ 1 ผลการเปรียบเทียบความก้าวหน้าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์)
ที่ ชื่อ สกุล Pre Post คะแนน
ความก้าวหน้า ร้อยละของความก้าวหน้า
1 นายจิตรภาณุ มุ่งฝอยกลาง 7 9 2 15
2 นายบัญชา สุขอยู่ 5 6 1 15
3 นายอัฏฐวัฒน์ พะวังคะพินธุ 6 8 2 20
4 นายรัฐศาสตร์ นาคสิงห์ 4 6 2 15
คะแนนเฉลี่ย 5.41 7.33 2.21 17.14
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.42 2.75 1.01 4.21
จากตาราง 1 โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 1.42 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 7 คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่านักเรียนที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (นวัตกรรม)มีผลสัมฤทธิ์/ความสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น
-6-
ผลสัมฤทธิ์/ความสามารถของนักเรียนแยกเป็นกลุ่มคุณภาพ
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละการได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์) ตามระดับคุณภาพ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามระดับคุณภาพ จำนวนนักเรียน ร้อยละ
ดีมาก (90-100)
ดี (75-89) 8 28.57
พอใช้ (50-74) 15 53.57
ปรับปรุง (0-49) 5 17.85
รวม
จากตารางที่ 2 พบว่าหลังการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) นักเรียนส่วนมาก (ร้อยละ53.57) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับ พอใช้ รองลงมาร้อยละ28.57 มีผลการเรียนอยู่ในระดับดี และอยู่ใน ระดับปรับปรุง 17.85 ตามลำดับ
ผลการประเมินความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
จากการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้น 5 โรงเรียนโรงเรียนวัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์ ปีการศึกษา 2566 ที่เรียนรายวิชาสังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์) เรื่องการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ.ในระดับ พอใช้ รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 4........
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชา สังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์) เรื่องการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รายการ
S.D. ความหมาย
1. ความรู้ ความเข้าใจก่อนเรียนวิชาสังคมศึกษา ฯ 4.12 0.32 มาก
2. การเรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ 4.25 0.58 มาก
3. สามารถทำได้ประโยชน์จากการเรียนรู้มากขึ้น 4.23 0.51 มาก
4. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียนมากขึ้น 4.22 0.49 มาก
5. ใช้เวลาในการเรียนรู้ได้อย่างคุ้มค่าในห้องเรียน 4.31 0.66 มาก
6. สามารถจัดความคิดสู่การพัฒนางานอย่างเป็นระบบ 4.28 0.61 มาก
7. สะดวกและลดภาระการทำงานที่ซับซ้อน 4.21 0.55 มาก
8. มีการทำงานกลุ่มร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม 4.27 0.58 มาก
9. สมาชิกในกลุ่มมีความรับผิดชอบร่วมกัน 4.24 0.56 มาก
10. ความรู้ ความเข้าใจหลังเรียนวิชาสังคมศึกษา ฯ 4.32 0.68 มาก
จากตารางที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยภาพร่วมอยู่ในระดับ ดีประเด็นที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ความรู้ ความเข้าใจหลังเรียนวิชาสังคมศึกษาฯ และน้อยที่สุดคือ ความรู้ ความเข้าใจก่อนเรียนวิชาสังคมศึกษาฯ
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ในการศึกษาเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชา สังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์)
มีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้
สรุปผลการศึกษา
1. นักเรียนที่ผ่านการเรียน โดย การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชา สังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์)มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา สังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์)โดยรวมอยู่ในระดับพอใช้
2. นักเรียนมีผ่านการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชา สังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์)มีความพึงพอใจต่อโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี
อภิปรายผล
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จากผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชา สังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์)มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพอใช้ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามแบบร่วมมือ
2. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชา สังคมศึกษา (สาระภูมิศาสตร์) จากผลการศึกษานักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยภาพร่วมอยู่ในระดับ ดีประเด็นที่นักเรียนมีความพึงพอใจทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามแบบร่วมมือ
-8-
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะจากการศึกษา
จากผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทำให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ จึงเห็นสมควรที่ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา โดยนำเอา วิธีการสอนแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำศึกษาครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการนำการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชา สังคมศึกษา ไปทำการศึกษากับวิชาอื่นๆ หรือเนื้อหาต่อไป ในเรื่องอื่นๆ
2.2 ควรนำเอารูปแบบ และกระบวนการศึกษาในครั้งนี้ไปทำการศึกษากับเนื้อหาวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ