เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 1
ผู้วิจัย นางสาวเรณุภา วาทีรักษ์
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครภูเก็ต ๓ (วัดเจริญสมณกิจ)
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 1 เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 1 เพื่อทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 1 และเพื่อประเมินและปรับปรุงการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครภูเก็ต ๓ (วัดเจริญสมณกิจ) ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากนักเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีเครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงและแนวทางการพัฒนา 2) หลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาล 1 3) แบบวัดคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง 3 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดความพอประมาณ แบบวัดความมีเหตุผลและแบบวัดการมีภูมิคุ้มกันที่ดี การวิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานละการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 1 จากการสัมภาษณ์นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงอยู่ในระดับน้อย และมีความต้องการที่ได้รับการส่งเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ 1) ความพอประมาณ 2) ความมีเหตุผล3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี และมีแนวทางในการพัฒนาเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงโดยการจัดทำเป็นหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงที่เน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยผสานแนวคิดคุณลักษณศึกษาของลิคโคนา (Lickona, 1992) ที่มีองค์ประกอบสำคัญของคุณลักษณะที่ดีเชื่อมประสานปฏิสัมพันธ์กันในด้านการรู้คิดเชิงจริยธรรม ความสำนึกเชิงจริยธรรมและการปฏิบัติการเชิงจริยธรรมด้วยการเตรียมสร้างประสบการณ์รับรู้ เรียนรู้สิ่งใหม่ผสานกับความรู้เดิมสะท้อนความคิดเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสร้างความรู้และประยุใช้และกำหนดคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงมาเป็นแนวทางในการปฏิบัตินและฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจนเกิดกลายเป็นคุณลักษณะที่คงทนในการดำเนินชีวิต
2. หลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 1 มีองค์ประกอบของหลักสูตร 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมา 2) วัตถุประสงค์ 3) โครงสร้างกิจกรรมและประสบการณ์ 4) แนวการจัดกิจกรรม 5) แผนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ จากการประเมินหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการทดลองนำร่องพบว่า มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้
3. ผลการทดลองใช้พบว่า 1) คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนที่ผ่านการเรียนด้วยหลักสูตรหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ในภาพรวมมีคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงอยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 72.67, S.D. = 1.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การมีภูมิคุ้มกันที่ดี มีระดับคุณลักษณะมาก ("x" ̅ = 78.50, S.D. = 1.42) รองลงมาคือ ความมีเหตุผล มีระดับคุณลักษณะมาก ("x" ̅ = 74.00, S.D. = 1.27) และความพอประมาณมีระดับคุณลักษณะปานกลาง ("x" ̅ = 65.50, S.D. = 1.43) ตามลำดับ และผลการสังเกตพฤติกรรมพบว่า นักเรียนมีการแสดงออกถึงพฤติกรรมของการมี คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงด้านความพอประมาณ มีวิธีการคิดตัดสินใจเลือกสินค้าอุปโภคและบริโภคสำรวจประมาณรายได้กับราคาสินค้าแบบพอดีพอเพียงความความสามารถโดยนำหลักความมีเหตุผลมาประกอบการตัดสินใจอย่างรอบคอบคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ชีวิตจริงและสอดคล้องกับการมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีภูมิคุ้มกันที่ดี นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความกระตือรือร้นสนใจใฝ่เรียนรู้ และนักเรียนสามารถปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ 2) คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ด้วยหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.70 คะแนน และ 22.45คะแนน ตามลำดับและเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า นักเรียน มีคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง หลังเรียนด้วยหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนักเรียนชั้นอนุบาล 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. การประเมินผลหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนรู้หลังการทดลองใช้หลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.72, S.D. = 0.42)