ชื่องานวิจัย การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา
ชื่อผู้วิจัย นางสาวพรชนิตา เชื้อทอง
รายวิชา คณิตศาสตร์6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา 2)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 29 คน โรงเรียนทับสะแกวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล
2) แบบทดสอบ เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ รายวิชาคณิตศาสตร์6
3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ PATS เรื่อง ค่าวัดทางสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (x ̅-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งมีขั้นตอนการเรียนรู้ที่เริ่มจากการแสวงหาความรู้ กระบวนการคิด และทักษะในการแก้ปัญหาไว้ใน รูปแบบการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเป็นหลัก ผู้สอนทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวก เพื่อให้การเรียนรู้ของผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยการเรียนรู้แบบโครงงานนั้นอาจะเป็นการทำงานที่ต่อยอดจากทฤษฎี การนำทฤษฎีไปใช้ประโยชน์ในการ ทำโครงงาน เน้นให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งความรู้ที่สร้างขึ้นด้วยตนเองมีความสำคัญกับ ผู้เรียนมากเพราะจะเป็นความรู้ที่คงทน ไม่ลืมง่าย อีกทั้งได้ถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์การ เรียนรู้ของผู้เรียนเองส่งผลให้เกิดการพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ สอดคล้องกับแนวคิดของ John Dewey เรื่อง learning by doing ซึ่งได้กล่าวว่า Education is a process of living and not a preparation for future living. ซึ่งเป็นการเน้นการจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ชีวิตขณะที่เรียน เพื่อให้ นักเรียนได้พัฒนาทักษะต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับหลักพัฒนาการคิดของ Bloom ทั้ง 6 ขั้น คือ ความรู้ ความจำ (Remembering) ความเข้าใจ (Understanding) การประยุกต์ใช้ (Applying) การวิเคราะห์ (Analyzing) การประเมินค่า (Evaluating) และการคิดสร้างสรรค์ (Creating) ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน นั้นจึงเป็นเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ถือได้ว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะต่างๆ ด้วยตนเองทุกขั้นตอน โดยมีครูเป็นผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ [3]
จากความสำคัญและปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยเห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ เพราะในขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ จะมีขั้นตอนการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ปัญหา พัฒนาทักษะการคิด มีกระบวนการคิดอย่างอิสระ รวมทั้งเกิดทักษะในการปฏิบัติงานที่เป็นระบบจากการลงมือปฏิบัติจริง
2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2.1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา
2.2. เพื่อความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ
3 ขอบเขตการวิจัย
3.1 กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในวิจัย เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนทับสะแกวิทยา จำนวนนักเรียนทั้งหมด 29 คน โดยในห้องมีนักเรียนที่คละความสามารถกันทั้งกลุ่มเก่ง กลุ่มกลาง และกลุ่มอ่อน
3.2 ด้านเนื้อหา
เนื้อหาในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน6 เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ
3.3 ด้านตัวแปรที่วิจัย
ตัวแปรอิสระ คือ การจัดการเรียนรู้
ตัวแปรตาม คือ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้
3.4 ด้านระยะเวลา/สถานที่
ผู้วิจัยได้จัดการเรียนการสอน เรื่อง การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ใช้เวลาจำนวน 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง
4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
4.1 ได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา
4.2 เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์และผู้สนใจได้นำวิธีการไปประยุกต์ใช้กับ บทเรียนคณิตศาสตร์เรื่องอื่น ๆ ของนักเรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
ผลการศึกษา เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา โดยมีลำดับขั้นตอนในการนำเสนอข้อมูลดังนี้
ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ปีการศึกษา 2566 คะแนนเต็ม 10 คะแนน
ผลการทดลอง N x ̅-bar ร้อยละ
ก่อนเรียน (T1) 29 3.724 37.24
หลังเรียน (T2) 29 8.966 89.66
จากตาราง พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 3.724 คิดเป็นร้อยละ 37.24 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 8.966 คิดเป็นร้อยละ 89.66
5 สรุป
ในการศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา สรุปได้ดังนี้
5.1 นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
5.2 นักเรียนมีความพึงพอใจ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
6 อภิปรายผล
จากการศึกษาพบว่า การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา มีผลต่อคะแนนก่อนเรียน-หลังเรียน โดยคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ เท่ากับ 3.724 คิดเป็นร้อยละ 37.24 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 8.966 คิดเป็นร้อยละ 89.66 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนเกิดเจตคติที่ดี ต่อวิชาคณิตศาสตร์ และเอกสารประกอบการเรียน ยังเป็นสื่อการสอนที่พัฒนาความคิดจากง่ายไปยากตามลำดับ จนนักเรียนเกิดความเข้าใจมากขึ้น
7 ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาพบว่า การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ PATS ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง ค่าวัดทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทับสะแกวิทยา ในการจัดการเรียนการสอน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของนักเรียนได้ดี จึงควรนำการจัดการเรียนรู้ ไปทดลองใช้กับหน่วยอื่นในวิชาคณิตศาสตร์