บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ Active Learning โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ร่วมกับ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ซีเอส อันปลั๊ก เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ (2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (3) ศึกษาผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ Active Learning โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ซีเอส อันปลั๊ก เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 27 คน โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาการคำนวณ จำนวน 18 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ (3) แบบวัดทักษะในการแก้ปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ จำนวน 2 ข้อ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ซีเอส อันปลั๊ก ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent
ผลปรากฏว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษายังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ เนื่องจากบริบทการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูยังไม่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงที่สามารถแก้ปัญหาได้ และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ยังไม่หลากหลายเพื่อที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะ และองค์ความรู้ ยังขาดการส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การแก้ปัญหา และการให้เหตุผล จึงส่งผลให้นักเรียนขาดทักษะในการแก้ปัญหา และครูผู้สอนจึงมีความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ เสริมทักษะการฝึกประสบการณ์ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหา พร้อมกับพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ อีกทั้งการจัดการเรียนรู้จะต้องให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้ร่วมกับเพื่อน และฝึกทักษะด้วยตนเอง ผ่านการเผชิญปัญหา และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จึงจะทำให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะต่างๆ และการจัดการเรียนรู้ Active Learning โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ซีเอส อันปลั๊ก เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้วิจัยได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ Active Learning โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ซีเอส อันปลั๊ก เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มี 8 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย (1) คำชี้แจง (2) หลักสูตรระดับชั้นเรียน (3) การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (4) แบบทดสอบก่อนเรียน (5) แนวการจัดการเรียนรู้ (6) แบบทดสอบหลังเรียน (7) แบบวัดทักษะในการแก้ปัญหา (8) แบบสอบถามความพึงพอใจ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น ประกอบด้วย (1) ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน (2) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (3) ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ (4) ขั้นแสวงหาความรู้ (5) ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ และ(6) ขั้นนำเสนอผลงาน ผลการศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ Active Learning โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ซีเอส อันปลั๊ก เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความเหมาะสมมากที่สุด
3. ผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ Active Learning โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ซีเอส อันปลั๊ก เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 27 คน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ทักษะในการแก้ปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 หลังการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนสามารถแก้ปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ ได้อยู่ในระดับดีมาก
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ Active Learning โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ซีเอส อันปลั๊ก เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก