การนำ BNMP Model มาใช้เพื่อพัฒนามุ่งยกระดับสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นั้น มุ่งเน้นให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาความคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญทางภาษาไทยทั้ง การอ่าน การเขียน การฟัง ดู พูด หลักภาษา วรรณคดีและวรรณกรรม ตามเป้าหมายของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อได้รับการกระตุ้นความรู้พื้นฐานจะมีความสนใจและมีความอยากรู้ อยากเรียนมากขึ้น ซึ่งเมื่อได้ค้นคว้าและได้รับความรู้ใหม่จากสื่อหรือครูผู้สอนก็จะเชื่อมโยงความรู้ได้เร็วและเกิดความคิดรวบยอดเป็นแนวคิดใหม่ ๆ ที่นำไปสู่การสร้างชิ้นงานอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเกิดความตระหนักในความสำคัญของการเรียนและการสร้างชิ้นงาน เมื่อได้รับการประเมินและการแนะนำที่สนับสนุนความคิดทั้งจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนและครูผู้สอน กระบวนการดังกล่าวส่งผลให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ทำให้ผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการทดสอบต่าง ๆ เป็นไปตามเกณฑ์ และนักเรียนยังได้รับโอกาสให้เข้าร่วมการแข่งขันทักษะภาษาไทยระดับสถานศึกษา ระดับเครือข่าย ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ รวมทั้งองค์กรของรัฐและเอกชนอื่น ๆ ในหลายกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ
ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์
1. ผลคะแนนวิชาภาษาไทยจากการสอบ ONET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ทุกมาตรฐาน
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการส่งเสริมความเป็นเลิศทางภาษาและมีความสามารถในการแข่งขันทักษะทางภาษาทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา มีรางวัลเป็นที่ประจักษ์
ผลสัมฤทธิ์ของงาน
จากการใช้ BNMP Model การพัฒนาเพื่อมุ่งยกระดับสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีการกำหนดค่าเป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อให้เห็นค่าการพัฒนาไว้แล้วข้างต้น ปรากฏผลสัมฤทธิ์ของงานตาม ค่าเป้าหมาย ดังนี้
เชิงปริมาณ
1. ผลคะแนนวิชาภาษาไทยจากการสอบ ONET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ในทุกสาระการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.65 ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
เชิงคุณภาพ
1. ผลสัมฤทธิ์ในการสอบ ONET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2565 มีสูงกว่าระดับประเทศ ซึ่งจากการใช้ BNMP Model การพัฒนาเพื่อมุ่งยกระดับสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอน BNMP Model ซึ่งเป็นการสอนให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้พัฒนาความคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญทั้งทักษะทางภาษาไทยและเป้าหมายของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะเห็นค่าความสำเร็จได้จากผลสัมฤทธิ์คะแนนสอบ O-NET รวมทั้งการเข้าร่วมแข่งขันกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งคะแนนประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ของนักเรียนที่มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. นักเรียนมีความเป็นเลิศทางภาษา สามารถค้นคว้า คิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการแข่งขันทักษะทางภาษาทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยนักเรียนมีความเป็นเลิศทางภาษา สามารถค้นคว้า คิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการแข่งขันทักษะทางภาษาทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งการใช้ BNMP Model เป็นการนำความรู้ด้านภาษาไทยมาใช้ในการพัฒนาและดึงความสามารถที่เป็นเลิศด้านภาษาของผู้เรียน ในกิจกรรมการแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย, การเขียนเรียงความ , การแข่งขันวรรณกรรมพิจารณ์ , หลักการคัดลายมือ , การท่องอาขยานทำนองเสนาะ , การแต่งคำประพันธ์ , การแข่งขันพินิจวรรณคดี เมื่อผู้เรียนผ่านการฝึกฝนและทำซ้ำจนเกิดความชำนาญ เข้าใจถึงหลักการ กติกา จนสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดวิชาความรู้และทักษะที่ผู้เรียนมีให้กับผู้อื่นได้ ซึ่งเมื่อผู้เรียนได้รับการพัฒนาจนมีความสามารถในระดับที่สามารถแข่งขันได้ ก็ได้สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงแข่งขันในหลาย ๆ รายการ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้เรียนอีกด้วย