การพัฒนาคุณภาพความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ THANASET model
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพทางการศึกษาด้านความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ด้านคณิตศาสตร์ สูงขึ้น ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ THANASET model และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินคุณภาพความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยสามขา ด้านคณิตศาสตร์ ในปีการศึกษา 2564-2565
มีวิธีการ/ขั้นตอน การพัฒนาคุณภาพความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ THANASET model มีขั้นตอนกระบวนการ ดังนี้
กระบวนการที่ 1 (Theme Context : T) ขั้นวางแผนศึกษาองค์ความรู้ ความคิดรวบยอด หลักการ วิธีการ จากตำราและแหล่งอื่นๆ
กระบวนการที่ 2 (Honest Awareness : H) ขั้นการวิเคราะห์การศึกษารูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ โดยมีตระหนักในการหาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
กระบวนการที่ 3 (Aim : A) กำหนดตัวชี้วัดนำมาพัฒนาผู้เรียน
กระบวนการที่ 4 (Nature step :N) ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยครูผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่1 สร้าง ความสนใจ (Draw attention) ขั้นที่2 ให้ ประสบการณ์ (Experience learning) ขั้นที่3 ปฏิบัติ กิจกรรม (Engage in activities) ขั้นที่4 สร้าง ความรู้ใหม่ (Construct new knowledge) ขั้นที่5 แลกเปลี่ยน เรียนรู้ (Exchange knowledge)
กระบวนการที่ 5 (Assessment : A) ขั้นการวัดและประเมินผลให้เป็นระบบโดยวิธีการที่หลากหลาย
กระบวนการที่ 6 (Synthesis & Report : S) ขั้นวิเคราะห์ผลการดำเนินขั้นตอน และสรุปรายงานสะท้อนผลการสอน เพื่อพัฒนาต่อยอด หรือช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียนเข้าสู่กระบวนการที่ 7 ผลการดำเนินการไม่เป็นผลสำเร็จส่งเข้าสู่กระบวนการที่ 1
กระบวนการที่ 7 (Excellence : E) ขั้นสู่สำเร็จความเป็นเลิศ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
กระบวนการที่ 8 (Transport : T) ขั้นรายงานผลของการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการศึกษา จากการดำเนินงานตามกระบวนการส่งผลให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ที่สูงขึ้น และยังส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ โรงเรียนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย ผลการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์มีผลเป็นที่ประจักษ์ เป็นรูปธรรมชัดเจน