บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนวังยางวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนวังยางวิทยาคม 2)เพื่อพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนวังยางวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิง
ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนวังยางวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนวังยางวิทยาคมในภาพรวม พบว่า ผลการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียง อยู่ในระดับมาก
2) การพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนวังยางวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2 วงรอบ 10 ขั้นตอน พบว่า โรงเรียนมีการดำเนินการได้จัดทำโครงการในการพัฒนาสถานศึกษาทั้ง
3 ด้าน ตามกรอบการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ประกอบด้วย 1) ด้านบุคลากร มี 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านผู้บริหาร ครู นักเรียน และ คณะกรรมการสถานศึกษา พัฒนาโดยโครงการสถานศึกษาพอเพียงการดำเนินงานตามโครงการนี้ ผู้วิจัย และผู้ร่วมวิจัยตั้งเป้าหมายหรือสภาพที่คาดหวังไว้ที่ ระดับ 4.00 หรือ มาก ขึ้นไป ผลการดำเนินงาน เมื่อประเมินผลแล้วมีระดับการดำเนินงานโดยเฉลี่ย 4.80 อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามที่คาดหวัง 2) ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมกายภาพ มี 2 องค์ประกอบ คือ อาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อม และ แหล่งเรียนรู้/ฐานการเรียนรู้ และหรือกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง ซึ่งพัฒนา โดยโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยตั้งเป้าหมายหรือสภาพที่คาดหวังไว้ที่ระดับ 4.00 หรือ มาก ขึ้นไป ผลการดำเนินงานเมื่อประเมินผลแล้วมีระดับการดำเนินงานโดยเฉลี่ย 4.70อยู่ใน ระดับมากที่สุด เป็นไปตามที่คาดหวัง และ 3) ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอกมี 2 องค์ประกอบ คือ ความสัมพันธ์กับสถานศึกษาศึกษาอื่นในการขยายผลการขับเคลื่อน และความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่ สังกัดและ/หรือหน่วยงานภายนอก (ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน) พัฒนาโดยโครงการสร้างความร่วมมือ ภาคีเครือข่ายสถานศึกษาพอเพียง ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย ตั้งเป้าหมายหรือสภาพที่คาดหวังไว้ ที่ ระดับ 4.00 หรือ มาก ขึ้นไป ผลการดำเนินงานเมื่อประเมินผลแล้วมีระดับการดำเนินงานโดยเฉลี่ย 4.60 อยู่ใน ระดับมากที่สุด เป็นไปตามที่คาดหวัง
3) ผลการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนวังยางวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า ระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก และการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อผล การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา พบว่า ระดับความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก
4) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนา ปรากฏผลที่เป็นเชิงประจักษ์ ดังนี้
4.1) ด้านบุคลากร
4.1.1) ผู้บริหารสถานศึกษา มีความรู้และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาจนสถานศึกษามีคุณภาพ
4.1.2) ครูทุกคนสามารถออกแบบการเรียนรู้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และครูแกนนำเป็นวิทยากรได้
4.1.3) นักเรียนมีคุณลักษณะพอเพียงเพิ่มขึ้น นักเรียนแกนนำกล้าแสดงออก มีอุปนิสัยพอเพียงและสามารถนำเสนอผลงานทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาได้
4.1.4) คณะกรรมการสถานศึกษารับรู้และให้การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการ ดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน
4.2) ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมกายภาพ มีการปรับปรุงพัฒนาห้องปฏิบัติการให้มี ความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 6 ห้อง สร้างฐานการเรียนรู้ 11 แห่ง
4.3) ด้านความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก โรงเรียนมีภาคีเครือข่ายสถานศึกษาพอเพียงทั้งที่เป็นหน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอกและองค์กรอื่นรวม 2 แห่ง เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาโรงเรียนหนองนางด่อนและโรงเรียนบ้านวังยาง ผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง
4.4) โรงเรียนวังยางวิทยาคม ได้รับประกาศเป็นศูนย์การเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ
Teerapong Namsangai, 2024. The development of the Sufficiency School to become the Sufficiency Economy Learning Center on education of
Wangyangwittayakom School using the Participatory Action Research.
Abstract
This research was the development of the Sufficiency School to become the Sufficiency Economy Learning Center on education of Wangyangwittayakom School using the Participatory Action Research. There were three objectives, namely 1) to study the operating conditions of the Sufficiency School of Wangyangwittayakom School 2) to develop the Sufficiency School to become the Sufficiency Economy
Learning Center on education of Wangyangwittayakom School using the Participatory Action Research,3) to study the success of the development of the Sufficiency School to become the Sufficiency Economy Learning Center on education of Wangyangwittayakom School using the Participatory Action Research.
The results showed that
1) The operating conditions of the Sufficiency School of Wangyang wittayakom School was at a high level in overall.
2) The development of the Sufficiency School to become the Sufficiency Economy Learning Centeron education of Wangyangwittayakom School using the Participatory Action Research through a 2-cycle, 10-step, it was found that the school had implemented to develop in all 3 areas according to the framework of the evaluation of the Sufficiency Economy Learning Center on education consisting of 1) Personnel, there were 4 components: administrators, teachers, students, and school committees. Researchers and co-researchers set goals or expected conditions more
than of 4.00 or high. Result was expectedly at the highest level of 4.80, 2) Physical environment management, there were 2 components which were building and the environment, and learning resources/learning bases or learning activities to enhance
the habit of living sufficiently, was developed by the building development project. Researchers and co-researchers set goals or expected conditions more than of 4.00 or high. Result was expectedly at the highest level of 4.70 and 3) Relationships with
external agencies, they consisted of 2 components: relationship with other schools in expanding the driving results, and relationships with affiliated agencies and/or external agencies (public, private, and community). Researchers and co-researchers set goals or expected conditions more than of 4.00 or high. The result was expectedly the highest level of 4.60.
3) The Sufficiency Economy Learning Center on education found that the opinion was at a high level in overall. And the evaluation of satisfactions to the successful condition of the Sufficiency Economy Learning Center on education was at a high level.
4) Changes caused by the development appear empirical data as follows:
4.1) in term of Personnel.
4.1.1 Educational administrators have knowledge and apply the philosophy of sufficiency economy to become a quality school.
4.1.2 All teachers can design teaching and learning and integrate learning process with the philosophy of sufficiency economy and the master teacher can be a lecturer.
4.1.3 Students have more sufficient characteristics. Leading students are more courageous to express their Sufficient characters and able to present works both inside and outside the school.
4.1.4 The Board of school recognizes and supports activities of the school’s philosophy of sufficiency economy center.
4.2) In terms of physical environment management. Six laboratories and eleven learning bases have been improved to be ready for teaching and learning.
4.3) In terms of relations with external agencies. The school has a network of educational institutions of 2 internal agencies, external agencies and other organizations, has been mentors to develop Baan Nongnangdon School, Baan Wang Yang School, which passed evaluation to become a sufficient school.
4.4) Wangyangwittayakom School has been declared a learning center of the Philosophy of Sufficient Economy in education from the Ministry of Education.