เด็กปฐมวัยคือเด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิถึง ๖ ปีบริบูรณ์การอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัย มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ด้าน จากบิดา มารดาคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของบุคลิกภาพ อุปนิสัยและการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ สมอง สติปัญญาความสามารถเพราะเด็กในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์แม่จนถึง ๕ ปีระบบประสาทและสมองจะเจริญเติบโตในอัตราสูงสุด (ประมาณ ๘๐ % ของผู้ใหญ่) การอบรมปลูกฝังสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัยได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุนี้จะเป็นรากฐานที่ดีจะให้เขาเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ดีเฉลียวฉลาด คิดเป็น ทำเป็น และมีความสุข เด็กปฐมวัยจะมีชีวิตรอดและเติบโตได้ก็ด้วยการพึ่งพาพ่อแม่และผู้ใหญ่ที่ช่วยเลี้ยงดูปกป้องจากอันตราย หากผู้ใหญ่ให้ความรักเอาใจใส่ใกล้ชิด อบรมเลี้ยงดูโดยเข้าใจเด็กพร้อมจะตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เปลี่ยนไปตามวัยได้อย่างเหมาะสมให้สมดุลกัน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สติปัญญาและสังคมแล้ว เด็กจะเติบโตแข็งแรงแจ่มใส มีความมั่นคงทางใจรู้ภาษา ใฝ่รู้และใฝ่ดีพร้อมที่จะพัฒนาตนเองในขั้นต่อไปให้เป็นคนเก่งและคนดีอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีประโยชน์ (ฉวีวรรณ จันทร์อ่อน, ๒๕๖๒)
จากข้อมูลด้านบนทำให้ข้าพเจ้าได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Function : EF) ให้กับเด็กปฐมวัยให้มีทักษะ EF ที่ดี ที่สามารถควบคุมอารมณ์ ยับยั้งตนเอง และแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่เหมาะสม ซึ่งข้าพเจ้าสอนชั้นอนุบาล ๒/๒ โรงเรียนชุมชนวัดศรีประจันตคาม พบว่าเด็กชั้นอนุบาล ๒/๒ โรงเรียนชุมชนวัดศรีประจันตคาม ยังขาดการควบคุมอารมณ์ ฟ้องว่าเพื่อนแกล้ง บางคนตอบโต้กลับด้วยการชกหน้าเพื่อน ซึ่งเป็นปัญหาพฤติกรรมยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากเหตุผล ดังกล่าวข้าพเจ้าจึงสนใจที่จะศึกษาการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Function : EF) ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การฉีกปะ เพื่อพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Function : EF) ให้ดีขึ้น ดังนั้นข้าพเจ้าจึงคิดหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการ ฉีกปะ ของนักเรียนชั้นอนุบาล ๒/๒ โรงเรียนชุมชนวัดศรีประจันตคาม ด้วยกระบวนการ CHANPEN MODEL ภายใต้กรอบแนวคิด ทฤษฎีระบบ
CHANPEN MODEL
C Coaching การแนะนำ การสอนงาน
H Happy การเรียนอย่างมีความสุข
A Activeness ขยัน ตั้งใจทำงาน
N Nature เน้นความเป็นธรรมชาติในการทำงานของผู้เรียน
P Practice การฝึกปฏิบัติ
E Empathy มีความเห็นอกเห็นใจช่วยกัน
N Network and Communication การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ / ชื่นชมผลงาน