บทคัดย่อ
ในปัจจุบันสังคมไทยต้องเผชิญกับปัญหาอันหลากหลายซึ่งเกิดจากสภาวะทางด้านจิตใจของผู้คนที่ เป็นไปในทางเสื่อมลง ทั้งทางด้านศีลธรรม การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จารีตประเพณี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญที่มีสาเหตุมาจากการสั่งสมทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมโดยไม่รู้ ครั้นตัวตั้งตั้งแต่วัยเยาว์ จากพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “ช่วยกันสร้างคนดีให้ บ้านเมือง” ตลอดจนพระบรมราโชบายทางด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมี กระแสรับสั่งให้จัดการศึกษาโดยมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน 4 ด้าน ได้แก่ (1) ทัศนคติที่ถูกต้อง (2) พื้นฐาน ชีวิตที่มั่นคงแข็งแรง (3) มีอาชีพ มีงานทำ และ (4) เป็นพลเมืองดี ดังนั้นหน่วยงานทางด้านการศึกษาจึงได้ กำหนดนโยบาย แผน หลักสูตร เพื่อมุ่งเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยและในโรงเรียน
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560) ได้กล่าววัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ประเด็นหนึ่งว่า “เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ยังสอดคล้องกับพระมหาอนันต์ องกุรสิริ (2561) ที่ศึกษาคุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาผู้เรียนใน ยุคไทยแลนด์ 4.0 พบว่า ครูต้องเป็นผู้ปรับปรุง พัฒนาทักษะและสร้างประสบการณ์การสอนให้สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียน โดยคำนึงคุณธรรม จริยธรรม ที่จะช่วยหล่อหลอมให้สังคมเกิดความเจริญก้าวหน้า เมื่อคนในสังคมมีคุณธรรมจริยธรรมจะส่งผลให้จิตใจสะอาด สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้การดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริตได้เข้ามามีบทบาทในการเสริมสร้างคุณธรรมและธรรมาภิบาลในโรงเรียน โดยมีการกำหนดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต ประกอบด้วย (1) ทักษะกระบวนการคิด (2) มีวินัย (3) ซื่อสัตย์สุจริต (4) อยู่อย่างพอเพียง และ (5) จิตสาธารณะ เป็นแนวทางให้โรงเรียนได้พัฒนาและ ส่งเสริมให้เกิดคุณลักษณะขึ้นกับนักเรียนและบุคลากรทุกคน ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านวงการการศึกษาได้เผชิญ กับการเปลี่ยนแปลงใหม่โดยโรงเรียนสุจริตได้มีเป้าหมายสำคัญในกลุ่มเด็กเยาวชน ให้ได้รับการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม และเห็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าตน เป็นเป้าหมายที่ต้องการให้สังคมมีพลเมืองที่มี คุณภาพ แต่ด้วยกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมนักเรียนก็เปลี่ยนตามไปด้วย
โรงเรียนบ้านเขาด้วน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จึงได้นำ ยุทธศาสตร์ ที่ 1 “สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” ได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญในกระบวนการปรับสภาพสังคมให้เกิดภาวะที่ “ไม่ทนต่อการทุจริต” โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในทุกระดับช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัย เพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต และปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริตยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เป็นการดำเนินการผ่านสถาบันหรือกลุ่มตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการกล่อมเกลาสังคมให้มีความเป็นพลเมืองที่ดี มีจิตสาธารณะ เสียสละเพื่อส่วนรวม และเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วน มีพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและต่อต้าน การทุจริตในทุกรูปแบบและได้ดำเนินการตามรูปแบบ ดังนี้
1. การนำหลักสูตรต้านทุจริตไปบูรณาการในวิถีชีวิตในโรงเรียนตั้งแต่ระดับชั้น ปฐมวัย-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. สอดแทรกคุณลักษณะของโรงเรียนสุจริตตามหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาจึงทำให้นักเรียนทุกชั้นได้เรียนรู้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาและครูทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตรนี้ จะได้มีส่วนร่วมในการปลูกฝัง การป้องกัน และการสร้างเครือข่ายตามปฏิญญาโรงเรียนสุจริตเพื่อให้เกิดคุณลักษณะของโรงเรียนสุจริตเกิดขึ้นนักเรียนทุกระดับชั้นผู้ปกครองและชุมชนของโรงเรียนบ้านเขาด้วน ซึ่งเป็นแบบอย่างความพอเพียง และการพึ่งพาตนเอง เห็นคุณค่าวิถีแบบไทยและสืบทอดภูมิปัญญาของท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานจริงในแปลงเกษตร จากฐานแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน วิทยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อปลูกฝังความเป็นอยู่อย่างพอเพียง พึ่งตนเองได้ เรียนดีมีความสุข และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะไปทำงานที่ต่างจังหวัด บุตรหลานอยู่กับปู่ย่า ตายาย เด็กนักเรียนจึงถูกเลี้ยงแบบ ตามใจ ติดเกม มีนิสัยพฤติกรรมเกียจคร้านไม่ชอบทำงาน ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ไม่รู้จักการทำงาน ขาดคุณธรรม ทำให้มีปัญหาในการเรียนเป็นอย่างมาก ติดเกม ติดโทรศัพท์ และอีกประการหนึ่งชุมชนเป็นชุมชนสีแดงในอดีต มีความเสี่ยงกับปัญหายาเสพติดและอบายมุข ทำให้นักเรียนมีความเสี่ยงสูงในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก โรงเรียนต้องพบกับสภาพนักเรียนย้ายออกกลางคันต้องอาศัยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลาการทางการศึกษา ผู้นำชุมชน จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกับคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน ร่วมกันกำหนดนโยบายในการขับเคลื่อน “การใช้หลักสูตรต้านทุจริตมาใช้วิถีชีวิตในโรงเรียนและในชีวิตประจำวัน” ดังกล่าวข้างต้นสำคัญคือครูจะต้องรู้จักบูรณาการการเรียนการสอนให้เด็กและเยาวชนเห็นถึงความเชื่อมโยงในมิติ ต่างๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งความเป็นองค์รวมนี้จะเกิดขึ้นได้ ครูต้องโดยใช้ความรู้ และคุณธรรมเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนจากหลักการ และแนวคิด ดังกล่าว โรงเรียนบ้านทุ่งขวาง จึงได้นำหลักหลักสูตรต้านทุจริตไปบูรณาการในวิถีชีวิตในสถานศึกษา โดยยึดหลักการทำงานที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา”หลักการและเหตุผลจุดมุ่งหมายของรายวิชา คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนู้ ของหลักสูตรต้านทุจริต โดยสำคัญที่สุดครูต้องเข้าใจเรื่องเนื้อในหลักสูตร ซึ่มี 4 หน่วยการเรียนรู้ 1.การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม 2.ความละลายความไม่ทนต่อการต้านทุจริต 3.STONG /จิตพอเพียงต่อต้านทุจริต 4.พลเมือวกับความรับผิดชอบ และปลูกฝังเด็ก โดยผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน เช่น กิจกรรมสภานักเรียน กิจกรรม1 ห้องเรียน 1 อาชีพ กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรม สาธารณธประโยชน์ กิจกรรมสวดมนต์สุดสัปดาห์ เป็นต้น
ทั้งหมดนี้สำคัญคือทางโรงเรียนบ้านเขาด้วน ตั้งเป้าหมายให้เกิดการจัดการศึกษา ตามแนวทางหลักสูตรต้านทุจริต บูรณาการวิถีชีวิตในโรงเรียนสอดแทรกเข้าไปในกระบวนการเรียนรู้สอนให้เด็กพึ่งตนเองให้ได้ก่อนจนสามารถเป็นที่พึ่งของคนอื่นๆในสังคมเป็นคนดีมีจิตสำนึกสุจริตจึงคิดรูปแบบการปฏิบัติงานที่เป็นระบบมีการบูรณาการเชื่อมโยงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมความดี ป้องกันการทุจริตด้วยภายใต้พื้นฐานของคำกล่าวที่ว่า “สร้างจิตสำนึกดี สู่วิถีพอเพียง” เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง โดยการฝึกปฏิบัติจริงผ่านแหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเสริมสร้างประสบการณ์การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักคิดหลักยึดหลักปฏิบัติในการดาเนินชีวิตโดยยึดทางสายกลาง สอดคล้องกับคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต คือ ทักษะการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสำธารณะ และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ต่อไป