การพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนชุมชนวัดศรีประจันตคาม ยึดหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เน้นการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย จึงได้คิดค้นนวัตกรรมการใช้ 5 G MODEL มาบริหารคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย เพื่อพัฒนาความรู้ตามแนวทางการเรียนด้วยโครงงานบ้านวิทยาศาสตร์น้อย มาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย โดยศึกษาจากงานวิจัยในประเทศหลายๆเรื่อง ทำให้ได้ 5 G MODEL มาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย
การใช้ 5 G MODEL บริหารคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย เพื่อพัฒนาความรู้ด้วยกระบวนการการเรียนด้วยโครงงานบ้านวิทยาศาสตร์น้อยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้เด็กปฐมวัยโรงเรียนชุมชนวัดศรีประจันตคาม เป็นการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย ที่มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนอย่างสมดุล เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา ด้วยกิจกรรม ที่หลากหลายผ่านสื่อกระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงานบ้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีทักษะชีวิตที่จำเป็นและดำรงชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข ในการดำเนินการขับเคลื่อน 5 G MODEL ให้บรรลุตามจุดหมาย ซึ่งรายละเอียดในการพัฒนาดังนี้
๑) ด้านปัจจัย (Input) ประกอบด้วย 4 M
๑. Man หรือคน = การบริหารกำลังคน
๒. Money หรือ เงิน = การบริหารเงิน
๓. Materials หรือ วัตถุดิบ = การบริหารวัสดุในการดำเนินงาน
๔. Management หรือ การจัดการ = การจัดการ
๒) ด้านกระบวนการ (Process) รูปแบบขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพประจำอำเภอ 5 G MODEL
กระบวนการ (Process) 5 G
G1 (Good management) คือการนำปัจจัยนำเข้ามาบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
G2 (Good governace) คือ คือการนำปัจจัยนำเข้ามาใช้ให้เกิดความคุ้มค่า มีเหตุมีผล
เกิดผลประโยชน์สูงสุด โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
G3 (Good learning) คือ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ให้เป็นการเรียนรู้อย่างยั้งยืน
G4 (Good quality assurance) คือ ความมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบยั้งยืน
G5 (Good service) คือกระบวนการให้บริการ ด้วยความเต็มใจ เต็มความรู้ เต็มความสามารถ
และรวดเร็ว
3) ด้านผลผลิต (Output) เป็นการพัฒนาต่อยอดความสำเร็จของนวัตกรรมรูปแบบ 5 G MODEL สู่
คุณภาพผู้เรียนปฐมวัย มี 4 เป้าหมาย คือ
1. พัฒนาด้านร่างกาย
2. พัฒนาการด้านอารมณ์
3. พัฒนาการด้านสังคม
4. พัฒนาการด้านสติปัญญา
4) ผลลัพธ์ (Outcomes) โรงเรียนมุ่งหวังให้เกิดผลความสำเร็จ โดยความร่วมมือที่ดีระหว่างบ้าน โรงเรียน และชุมชน ดังนี้
๑. นักเรียนเป็นคนเก่ง คือนักเรียนสามารถ่ายทอดความรู้ได้
๒. นักเรียนเป็นคนดี คือนักเรียนเป้นพลเมืองที่ดี
๓. นักเรียนมีความสุข คือนักเรียนสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
บทเรียนที่ได้รับ
1. โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยที่ชัดเจน พร้อมทั้งขับเคลื่อนให้บุคลากรในองค์กรมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
2. มีข้อมูลในการพัฒนาที่ได้จากการวิเคราะห์บริบทของโรงเรียนด้วยวิธี SWOT Analysis จากผู้ที่มีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย
3. นำหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางสู่เป้าหมายการบริหารโรงเรียนให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
4. ผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ มีภาวะผู้นำ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีเครือข่ายในการทำงาน มีการทำงานเป็นทีม และมีคุณธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย
5. ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีการทำงานเป็นทีม การทำงานแบบมีส่วนร่วมโดยร่วมคิด ร่วมประสาน ร่วมทำจนทำให้งานสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์และมีคุณภาพที่ชัดเจน
การขยายผลต่อยอด หรือประยุกต์ใช้ผลงาน นวัตกรรมหรือแนวปฏิบัติ
โรงเรียนชุมชมวัดศรีประจันตคาม ได้เผยแพร่ผลงานในหน่วยงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 และนำกิจกรรมมาพัฒนาต่อยอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสายชั้นปฐมวัยในโรงเรียน และเขตคุณภาพประจันตคาม 1 ตลอดปีการศึกษา โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC)