|
|
ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ 21 ทั้งในส่วนที่เป็นแรงกดดัน ภายนอกจากกระแสโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแรงกดดันจากภายในจากสภาวการณ์และการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากร สิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษา ซึ่งเป็นกลไกหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อันเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ ระบบการศึกษาจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สนองและรองรับความท้าทายดังกล่าว คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญมากต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพราะคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์คิดอย่างมีตรรกะ เป็นระบบสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรอบคอบและทั่วถึง ช่วยทำนาย วางแผน ตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ และคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของการพัฒนาศาสตร์สาขาอื่นในฐานะเครื่องมือในการคิด การทำงาน การสร้างองค์ความรู้ ช่วยให้มนุษย์แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม โดยมีการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจปัญหา และวางแผนแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้และหลักการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะทำให้ความสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นกระบวนการในการประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ขั้นตอนหรือกระบวนการแก้ปัญหา ยุทธวิธีแก้ปัญหา และประสบการณ์ที่มีอยู่ไปใช้ในการค้นหาคำตอบของปัญหาทางคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นความสามารถหนึ่งในทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่นักเรียนควรจะจัดการการเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาทักษะให้เกิดขึ้นในตัวปัจเจกบุคคล เนื่องจากการเรียนรู้การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีส่วนช่วยให้นักเรียนพัฒนาแนวทางการคิดที่หลากหลายมากขึ้น มีนิสัยกระตือรือร้น มีความพยายาม และความมั่นใจในการเผชิญกับปัญหา ทั้งแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ตลอดจนต่อยอดเป็นทักษะพื้นฐานที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียน แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งสะท้อนได้จากผลการประเมิน PISA 2022 พบว่าคะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ของนักเรียนไทย คือ 394 คะแนน ซึ่งลดลงจากผลการประเมิน PISA 2018 ซึ่งมีคะแนนเป็น 419 คะแนน และมีคะแนนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศสมาชิก OECD ซึ่งมีคะแนนเป็น 472 คะแนน
ครูผู้สอนเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว นักเรียนไม่เห็นความสำคัญของการเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาที่มีความซับซ้อน ต้องอาศัยการคิดอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ นักเรียนจึงรู้สึกว่ามีความยุ่งยากและไม่อยากเรียน โดยเฉพาะในนักเรียนกลุ่มเรียนอ่อนที่เรียนรู้ได้ช้ากว่านักเรียนคนอื่น ๆ ทำให้ไม่เข้าใจในสิ่งที่เรียน นำไปสู่ความเบื่อหน่าย ไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้
ด้วยปัจจัยเหล่านี้ครูผู้สอนจึงมุ่งศึกษา คิดค้น วิธีการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนมีความอยากที่จะเรียนรู้ นักเรียนทุกคนทั้งนักเรียนกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อนได้ฝึกคิด วิเคราะห์ วางแผน และลงมือแก้ปัญหาจนเกิดเป็นองค์ความรู้ของตนเอง โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎี Constructivism ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาบนฐานความเชื่อที่ว่านักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD (Student Teams Achievement Division) มุ่งเน้นการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL (Problem Based Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้โดยการเริ่มต้นด้วยปัญหาเป็นตัวกระตุ้นการเรียนรู้ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของนักเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียน จนได้เป็นการจัดการเรียนรู้ M3S Model ซึ่งจะพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาผ่านการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 M : Motivation กระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ 2 S : Solving Teams รวมทีมแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 S : Share & Check นำเสนอและตรวจสอบ และขั้นที่ 4 S : Summarize สรุปความคิดรวบยอด โดยนำนวัตกรรมดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ ในห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งครูผู้สอนคาดหวังว่าการจัดการเรียนรู้นี้จะช่วยพัฒนาความสามารถด้านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ซึ่งจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วย M3S Model
|
โพสต์โดย บี : [13 พ.ย. 2567 (20:06 น.)] อ่าน [208] ไอพี : 171.6.235.42
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 17,092 ครั้ง
| เปิดอ่าน 23,559 ครั้ง
| เปิดอ่าน 16,221 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,366 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,867 ครั้ง
| เปิดอ่าน 51,424 ครั้ง
| เปิดอ่าน 30,552 ครั้ง
| เปิดอ่าน 54,022 ครั้ง
| เปิดอ่าน 43,192 ครั้ง
| เปิดอ่าน 36,696 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,051 ครั้ง
| เปิดอ่าน 8,914 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,590 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,502 ครั้ง
| เปิดอ่าน 80,750 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 50,342 ครั้ง
| เปิดอ่าน 28,949 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,868 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,523 ครั้ง
| เปิดอ่าน 2,578 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|