ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย PCCESS MODEL เพื่อส่งเสริม
ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางพิศมัย ศรีวรมย์ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านสันติคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี
เขต 3
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย PCCESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย PCCESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) พัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 5) ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียน
การสอนภาษาไทย PCCESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนบ้านสันติคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 23 คน และครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรี จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย PCCESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อว่า Preparation; Creative writing; Construction ; Evaluation; Summarize ; Social creativity Model (PCCESS Model)
มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุนและหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมพร้อมสู่การเรียนรู้ (Preparation : P) ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Creative writing : C) ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Summarize : S) และ ขั้นที่ 6 ขั้นร่วมสร้างสรรค์สังคม (Social creativity : S)
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย PCCESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.18/88.70 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย PCCESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
5. ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย PCCESS MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก
นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานโดยใช้ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเอง ส่งผลให้ชิ้นงานมีคุณภาพ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและร่วมสร้างสรรค์สังคมได้