เรื่อง เรขาคณิต Iris Folding ผสานชีวิตที่พอเพียง
(Iris Folding from Geometry and Sufficient Life)
ผู้จัดทำ 1. เด็กหญิงทิพย์ธัญญา มุ่งศิริ
2. เด็กหญิงอโนชา คำอ่อน
3. เด็กหญิงพรชิตา กิมสอ
ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น
ครูที่ปรึกษา 1. นางสาวพรทิวา โม้งปราณีต
ปีการศึกษา 2567
สถานศึกษา โรงเรียนชุมชนวัดหนองจวง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
บทคัดย่อ
คณิตศาสตร์หลายคนมักจะมองว่าเป็นวิชาที่ยาก ซับซ้อน ทำให้เกิดความเครียด สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ทำให้ปัจจุบันมีผู้ที่สนใจคณิตศาสตร์น้อยลงทุกทีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ก็คงจะต้องทำให้วิชาคณิตศาสตร์กลายเป็นเรื่องสนุก น่าสนใจ เสริมสร้างจินตนาการทางความคิด ศิลปะน่าจะเป็นตัวช่วยที่ดี เนื่องจากเป็นวิชาที่ทุกคนเรียนได้ คนส่วนใหญ่ชอบ รูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์มาประกอบโดยอาศัยความประณีต และความอดทนก็คือ การนำรูปเรขาคณิตมาวางซ้อนกันเพื่อออกแบบ Iris Folding และใช้กระดาษสีจากการเหลือใช้มาติดลงทำให้เกิดลวดลาย โดยได้ใช้ทักษะวิชาคณิตศาสตร์เกี่ยวกับแบบรูปและความสัมพันธ์ ซึ่งชิ้นงานเหล่านี้มีรูปแบบและสีสันที่สวยงามแปลกตา อันจะนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายและความสนุกสนานในการเรียนอีกด้วย คณะผู้จัดทำจึงสนใจจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต Iris Folding ผสานชีวิตที่พอเพียง (Iris Folding from Geometry and Sufficient Life) เป็นการเพิ่มคุณค่าและใช้สิ่งของให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดปัญหาเศษขยะเหลือใช้และการทำลายสิ่งแวดล้อม อีกทั้งได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในการศึกษาเรียนรู้
จากการศึกษาพบว่า
1. แบบรูปและความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต และแบบของ Iris Folding พบว่า แบบรูปและความสัมพันธ์ของจำนวนมีความสัมพันธ์กับชนิดของรูปเรขาคณิตที่นำมาสร้างเป็นแบบของ Iris Folding
2. สามารถประดิษฐ์เรขาคณิต Iris folding โดยนำความรู้เกี่ยวรูปเรขาคณิตมาใช้ออกแบบ
Iris folding ให้เป็นผลงานทางศิลปะได้หลากหลายรูปแบบ สามารถดัดแปลงได้ตามความต้องการ ทำให้มีรูปร่างแปลกใหม่สะดุดตา และยังเป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้ที่หาง่ายโดยทั่วไปมาประดิษฐ์ และวิธีทำไม่ยากจนเกินไป สวยงาม ดึงดูดความสนใจ เป็นการนำเอาวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาที่นำมาใช้ในการศึกษาและการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของทุกคนได้ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ การกระทำและดำเนินการทุกขั้นตอน