ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน
วัดธนาภิมุข (เอี่ยมอนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
ผู้วิจัย นางสาวพิชญธิดา นุ้ยหนู ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดธนาภิมุข (เอี่ยมอนุสรณ์)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์
และความต้องการจำเป็นของการรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ
ที่ 21 ของโรงเรียนวัดธนาภิมุข (เอี่ยมอนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินองค์ประกอบ และตัวชี้วัด ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เลือกแบบ
เจาะจง ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้สำหรับครูในศตวรรษที่ 21 ของ
โรงเรียนวัดธนาภิมุข (เอี่ยมอนุสรณ์) อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากร
ทางการศึกษา จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 93 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7
คน รวมทั้งหมด 113 คน 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ
ที่ 21 ของโรงเรียนวัดธนาภิมุข (เอี่ยมอนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีได้แก่ ผู้บริหารและครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ
จำนวน 6 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง
3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน
วัดธนาภิมุข (เอี่ยมอนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 กลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดธนาภิมุข (เอี่ยมอนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 จำนวน 13 คน โดยความสมัครใจ และ 4) ประเมินรูปแบบการพัฒนา
สมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนวัดธนาภิมุข (เอี่ยมอนุสรณ์)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาโรงเรียนวัดธนาภิมุข (เอี่ยมอนุสรณ์) จำนวน 13 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 แบบสอบถาม
สภาพปัจจุบัน มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 แบบ
สัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินรูปแบบ แบบสอบถามพฤติกรรม แบบสอบถาม
ประสิทธิภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น มีองค์ประกอบ
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4 ด้าน 28 ตัวชี้วัด มีความ
เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก
ที่สุด ความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร
2. ผลการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ส่วนที่ 2 รูปแบบ
พัฒนา มีชื่อเรียกว่า PIMUK Model มี 5 ข้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นร่วมสร้างร่วมปฏิบัติ
P : Participate in practice ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการสร้างอุดมการณ์วางเป้าหมาย I : Ideology and set
goals ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการสร้างแรงจูงใจ ใส่ใจพัฒนา M : Motivation for Joint Development
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นการสร้างความสามัคคี สร้างสายสัมพันธ์ U : Unity and bonding ขั้นตอนที่ 5 ขั้นสร้าง
องค์ความรู้มุ่งสู่ความสำเร็จ K : Knowledge for Success ส่วนที่ 3 เนื้อหาของรูปแบบ ประกอบด้วย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ในศตรวรรษ ที่ 21 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สื่อการสอนและ เทคโนโลยีและหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การ
ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนา ส่วนที่ 4 การประเมินผลและส่วนที่ 5 เงื่อนไข
ความสำเร็จ
ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของ
โรงเรียนวัดธนาภิมุข (เอี่ยมอนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ไปใช้พบว่า
ระดับพฤติกรรมก่อนการพัฒนา อยู่ในระดับปานกลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้
และด้านความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และผลการประเมินระดับความพึงพอใจ
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด