รายงานผลการวิจัย
การพัฒนา ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะการคิดเชิงคำนวณด้วยกระบวนการเรียนรู้ GPAS 5 STEPs เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
1. ความสำคัญและที่มา
จากการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีนักเรียน
จำนวน 15 คน ขาดทักษะการปฏิบัติงานในแต่ละเนื้อหาที่ถูกต้องและบางคนไม่สามารถปฏิบัติได้เลย เป็นผลทำให้ไม่มีงานส่งครูหรือบางคนมีงานส่ง แต่ผลงานอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง เมื่อครูซักถามในประเด็นหรือเนื้อหาที่สำคัญของการเรียนแต่ละครั้ง นักเรียนไม่สามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง
จากปัญหาที่พบ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะแก้ไขปัญหาโดยการสร้างสื่อและกิจกรรมประกอบการเรียนขึ้นมา เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติบ่อย ๆ จากเนื้อหาที่จัดลำดับความง่ายไปยากและเพื่อให้เกิดความชำนาญในการใช้คำสั่ง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณในระดับสูงต่อไป
2. วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนให้ถูกต้องตามวิธีการและขั้นตอนยิ่งขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนอ่อนมีผลการเรียนทีดีขึ้น
3. สมมติฐานสำหรับการวิจัย
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้สื่อและกิจกรรมประกอบการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้สื่อและกิจกรรมประกอบการเรียน
4. ขอบเขตของการวิจัย
1. ในการวิจัยพัฒนาครั้งนี้เป็นการสร้างสื่อและกิจกรรมประกอบการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 คน ของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถใช้สื่อและกิจกรรมประกอบการเรียนในการพัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กเรียนอ่อนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้
2. นักเรียนมีพัฒนาการในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามวิธีการและขั้นตอนดีขึ้นหลังการฝึก
6. วิธีดำเนินการวิจัย
1. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้น ป.3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 15 คน
2. ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ สื่อและกิจกรรมประกอบการเรียน
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถทางการเรียนคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้น ป.3
3. วิธีการนำไปใช้ ใช้สื่อและกิจกรรมประกอบการเรียนในการฝึก 1 ภาคเรียน ปีการศึกษา 2567 โดยมีการทดสอบทักษะความสามารถทางการเรียน ดังนี้
3.1 ทดสอบวัดความสามารถในการเรียนก่อนการฝึก 1 ครั้ง
3.2 ทดสอบความสามารถในการฝึกปฏิบัติเป็นระยะ ๆ เมื่อจบขั้นตอนการฝึกแต่ละเนื้อหา
3.3 ทดสอบวัดความสามารถในการเรียนหลังการฝึก 1 ครั้ง
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูล/ผลที่จะเก็บ วิธีการ เครื่องมือ จำนวนครั้ง/ระยะเวลาที่เก็บ
คะแนนความสามารถในการเรียนวิทยาการคำนวณ การทดสอบ แบบทดสอบ
จำนวน 1 ฉบับ ทดสอบ 2 ครั้ง
ก่อนการฝึก 1 ครั้ง
หลังการฝึก 1 ครั้ง
คะแนนทักษะการปฏิบัติงาน การตรวจผลงาน แบบฝึกปฏิบัติ ตรวจผลงาน 4 ครั้ง
เมื่อจบแต่ละเนื้อหา
5. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
5.1 หาค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณก่อนและหลังการฝึก
5.2 เปรียบเทียบคะแนนความแตกต่างระหว่างก่อนฝึกและหลังฝึกเป็นรายบุคคล
5.3 หาค่าร้อยละจำนวนนักเรียนที่มีข้อบกพร่องในการเรียนคอมพิวเตอร์ด้านต่าง ๆ
6. สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
7. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
7.1 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียน
ตารางที่ 1 ค่าสถิติพื้นฐานคะแนนความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียน ชั้น ป.3
จากการทดสอบ 2 ครั้ง
จากตารางที่ 1 พบว่า ความสามารถในการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการทดสอบ 2 ครั้ง เท่ากับ 7.67 และ 18.40 ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนสูงขึ้น
7.2 คะแนนความสามารถในการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ก่อนและหลังการฝึก
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการฝึก จำนวน 15 คน
จากตารางที่ 2 พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนของนักเรียนเท่ากับ 7.67 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 18.40
ดังนั้น นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย = 18.40 7.67
= 10.73
ผลสัมฤทธิ์จากการจัดกระบวนการเรียนโดยใช้สื่อและกิจกรรมได้จากค่าร้อยละความก้าวหน้า ภาพรวม = 71.6
นั่นคือ ภายหลังการใช้สื่อและกิจกรรมประกอบการเรียน นักเรียนมีความสามารถในการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณสูงขึ้น
7.3 จำนวนนักเรียนที่มีข้อบกพร่องในการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณด้านต่าง ๆ
ตารางที่ 3 แสดงจำนวนนักเรียนที่มีข้อบกพร่องในการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณด้านต่าง ๆ
จากตารางที่ 3 พบว่า ก่อนฝึกจำนวนนักเรียนส่วนใหญ่มีข้อบกพร่องในการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ด้านทักษะการปฏิบัติ คือ พิมพ์ข้อความภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ไม่คล่อง ฟังและอ่านคำสั่งภาษาอังกฤษไม่ออกต้องใช้เวลานาน จำขั้นตอนและวิธีการของแต่ละเนื้อเรื่องไม่ได้ คิดเป็นร้อยละ 100 , 86.67 และ 80.00 ตามลำดับ ส่วนด้านทักษะอัลกอริทึมและการแก้ปัญหาอย่างง่าย คือ การแก้ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 93.33 อัลกอริทึม คิดเป็นร้อยละ 46.67 เกมการแก้ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 33.33 แต่ภายหลังการฝึก พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีข้อบกพร่องในด้านทักษะการปฏิบัติ มีจำนวนลดลงมาก ส่วนในด้านทักษะอัลกอริทึมและการแก้ปัญหาอย่างง่ายของงานยังมีจำนวนนักเรียนที่มีข้อบกพร่อง คือ การแก้ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 20.00 อัลกอริทึม คิดเป็นร้อยละ 13.33 นักเรียนทุกคนสามารถแก้ปัญหาอย่างง่ายด้วยอัลกอริทึมของงานได้ ใช้คำสั่งต่างๆ เพื่อสร้างผลงานของตนเองได้
สรุปผล
สรุปผล
ภายหลังการพัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กนักเรียนมี
ความสามารถในการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณอ่อนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สื่อและกิจกรรมประกอบการเรียน ปรากฏว่า นักเรียนมีการพัฒนาความสามารถทางการเรียนดีขึ้น
อภิปรายผล
จากผลการใช้สื่อและกิจกรรมประกอบการเรียนที่สร้างขึ้น ปรากฏว่า นักเรียนมีความสามารถในการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณดีขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียน พบว่า นักเรียนสามารถพัฒนาได้ตามระยะเวลาและจำนวนกิจกรรมที่ฝึกและเมื่อสิ้นสุดการฝึก พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติ และทักษะการแก้ปัญหาอย่างง่ายและอัลกอริทึมของผลงานดีขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนามีการจัดลำดับความยากง่ายที่เหมาะสมกับผู้เรียน แสดงว่าสื่อและกิจกรรมประกอบการเรียนที่สร้างขึ้นนี้ ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณดีขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. ควรฝึกเพิ่มเติมให้กับนักเรียนที่ยังมีข้อบกพร่องในด้านทักษะการปฏิบัติ โดยปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อบกพร่องนั้นๆ