การวิจัยในชั้นเรียน
๑. ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องศาสนาต่างๆในประเทศไทยโดยใช้ชุดกิจกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๕
๒. ชื่อผู้วิจัย นางสาวมณีรัตน์ ประทุมเกตุ
๓. ความสำคัญและที่มา
การจัดการเรียนการสอนมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะวิธีการสอนที่แตกต่างจากในอดีตที่จะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการนำเอาเทคโนโลยีมาเสริมสร้างการเรียนรู้ ซึ่งจากการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) จากการสังเกตของผู้วิจัยโดยการใช้แบบทดสอบก่อนเรียน พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๕ จำนวน ๑๐ คน ที่ไม่สามารถใช้แผนที่ได้ถูกต้อง ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๖/๕ ซึ่งปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำนั้น เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขและพัฒนา เนื่องจากความรู้ในเรื่องศาสนาต่างๆในประเทศไทย นี้จะต้องเป็นพื้นฐานของการเรียนและเชื่อมโยงเนื้อหาในวิชาสังคมศึกษาในระดับชั้นต่อไป ดังนั้นผู้วิจัยจึงนำชุดกิจกรรม เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย มาใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๕ จำนวน ๑๐ คน เนื่องจากการใช้ชุดกิจกรรมมีความเหมาะสมกับผู้เรียน สามารถให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ เป็นสื่อช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมีการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างเป็นระบบ และยังเป็นแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาให้สูงขึ้นและมีประสิทธิภาพต่อผู้เรียนและผู้สอนตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลาง
๔. จุดประสงค์ของการวิจัย
๑.เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย
๒.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้แผนที่ก่อนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรม
๕. สมมติฐานของการวิจัย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ผ่านชุดกิจกรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
๖. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๕ โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) ปีการศึกษา ๒๕๖๗
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๕ โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) ปีการศึกษา ๒๕๖๗ จำนวน ๑๐ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนที่มีทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทยต่ำกว่าเกณฑ์
๗. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี ๒ ชุด ได้แก่
๑. ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย
๒. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๕ โดยสร้างขึ้นเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบชนิด ๔ ตัวเลือก จำนวน ๒๐ ข้อ
๘. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
๑. ชุดกิจกรรม เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย
๒. การสร้างชุดกิจกรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๕ ตามเนื้อหาที่ใช้ทดลองผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้
๒.๑ ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุดกิจกรรม เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย
ประถมศึกษาปีที่ ๖/๕ ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ สาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมมาตรฐานการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้
๒.๒ ศึกษาโครงสร้างเนื้อหาและรายละเอียดวิชาสังคมศึกษา เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทยเพื่อที่จะนำมาสร้างชุดกิจกรรม
๒.๓ กำหนดจุดประสงค์ในชุดกิจกรรมกรอบเนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้ กิจกรรมจุดประสงค์การ
เรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
๒.๔ กำหนดเนื้อหาของชุดกิจกรรม เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย โดยยึดเนื้อหามาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
๒.๕ นำชุดกิจกรรม เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย ที่สร้างเสร็จแล้วไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายโดยเกณฑ์ที่ใช้ในการปรับปรุงเนื้อหาในชุดกิจกรรม เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย พิจารณาจากการทำแบบทดสอบแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาท้ายชุดกิจกรรมในเกณฑ์มาตรฐานอย่างน้อย ๘๐%
๓. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา
๓.๑ ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาดำเนินการสร้างดังนี้
๑. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลวิธีการสร้างแบบทดสอบและ
การเขียนข้อสอบสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๒. ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาจากหลักสูตรคู่มือครู เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องของชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา
๓. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทยจำนวน ๑๐ ข้อ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือกแต่ละข้อจะมีตัวเลือกที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวโดยมีเกณฑ์การให้ คะแนนแต่ละข้อคือถ้าตอบถูกให้ ๑ คะแนนถ้าตอบผิดหรือไม่ตอบให้ ๐ คะแนนโดยสร้างแบบทดสอบให้ตรงตามผลการเรียนรู้และครอบคลุมสาระการเรียนรู้
๔. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
๙. การเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ผู้วิจัยได้ใช้แบบแผนการทดลองแบบ The single group pretest posttest design ดังตาราง
ตารางที่ ๑ แบบแผนการทดลอง
Pre test Treatment Post test
O1 X O2
เมื่อ O1 หมายถึง ทดสอบก่อนเรียน
X หมายถึง การทดลองใช้ชุดกิจกรรม
O2 หมายถึง ทดสอบหลังเรียน
๑. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ดังนี้
๑.๑ ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) กับนักเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ
๑.๒ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมกับนักเรียน จำนวน ๖ คาบเรียน
๑.๓ เมื่อทำการศึกษาเนื้อหา เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย จากการจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสอนของครูผู้สอน จากนั้นให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน ๑๐ ข้อ หลังเรียน (Post-test) โดยแบบทดสอบหลังเรียนเป็นชุดเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนเรียน
๑.๔ เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ผลต่อไป
๑๐. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำผลการทดสอบมาดำเนินการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับต่อไปนี้
๑. วิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตรดัชนีความสอดคล้อง IOC
๒. วิเคราะห์หาค่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนที่ได้รับจากผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
๓. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
๓.๑ สถิติพื้นฐาน
๑) ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean)
๒) การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
๓.๒ สถิติที่ใช้วิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือการหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตรค่าความสอดคล้อง IOC
๑๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทยผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
ตารางที่ ๒. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรม
นักเรียน ก่อนเรียน (๑๐) หลังเรียน (๑๐)
คนที่ ๑ ๓ ๗
คนที่ ๒ ๓ ๖
คนที่ ๓ ๒ ๕
คนที่ ๔ ๒ ๕
คนที่ ๕ ๓ ๕
คนที่ ๖ ๓ ๖
คนที่ ๗ ๓ ๗
คนที่ ๘ ๓ ๗
คนที่ ๙ ๓ ๘
คนที่ ๑๐ ๓ ๖
คะแนนเฉลี่ย ๕.๕๐ ๑๒.๓๐
S.D. ๐.๗๑ ๑.๗๐
จากตารางที่ ๒ พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๒.๓๐(S.D.=๑.๗๐) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๕.๕๐ (S.D.= ๐.๗๑) คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๐๐
๑๒. สรุปผลการวิจัย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อการเรียนรู้ชุดกิจกรรม เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๓.๐ (S.D.=๑.๗๐) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๕.๕๐ (S.D.= ๐.๗๑) คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๐๐
๑๓.อภิปรายผล
จากการวิเคราะห์เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๕ โรงเรียนบางชัน(ปลื้มวิทยานุสรณ์) โดยใช้ชุดกิจกรรม ผู้วิจัยขออภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทยก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งกล่าวได้ว่าการจัดการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรม เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๕ ทำให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทยสูงขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการใช้ชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงทำให้เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้และพัฒนานักเรียนได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมนั้นให้นักเรียนได้ศึกษาจากชุดกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจด้วยตนเองได้ จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
๑๔. ข้อเสนอแนะ
ครูผู้สอนที่สนใจจะนำชุดกิจกรรม เรื่อง ศาสนาต่างๆในประเทศไทย ไปใช้ควรมีการประยุกต์หรือปรับปรุงในการจัดการเรียนการสอนให้เข้ากับบริบทของรายวิชาหรือสภาพผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อให้วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม ส่งผลดีต่อการเรียนรู้ต่อผู้เรียนให้มากที่สุด เช่น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนสูงขึ้น เข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น เป็นต้น