วิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา
นางอมรรัตน์ ศรีผดุง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา
สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา
อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา
ชื่อครูผู้วิจัย นางอมรรัตน์ ศรีผดุง
ความสำคัญและความเป็นมา
การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย นับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวัน แต่การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้น มีความแตกต่างจากการเรียนคณิตศาสตร์ใน ระดับอื่น ๆ เพราะพัฒนาการของเด็กนั้นต่างจากวัยอื่น ซึ่งครูผู้สอนควรตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเพราะนอกจากจะใช้สถานการณ์ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังต้องอาศัย การเตรียมการและวางแผนอย่างดี เพื่อให้เด็กได้มี โอกาสค้นคว้าแก้ปัญหา เรียนรู้การพัฒนาความคิดรวบยอด และสิ่งที่สำคัญคณิตศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะ ทางคำนวณแต่เพียงอย่างเดียว หรือไม่ได้มีความหมายเพียงตัวเลขสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมการสร้างและใช้หลักการรู้จักการคาดคะเน ช่วยในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และจากความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรส่งเสริมให้เด็กได้คิดอย่างอิสระบนความสมเหตุสมผล ไม่จำกัดว่าการคิดคำนวณต้องออกมาเพียงคำตอบเดียวหรือมีวิธีการเดียว
การเตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เป็นที่ทราบกันดีอยู่ทั่วไปแล้วว่าธรรมชาติของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปสู่ยาก ขั้นแรกสุด เด็กจะต้องรู้จักการสังเกต เพื่อจำแนกประเภทประเภท เปรียบเทียบ เรียงลำดับและนับจำนวน ทักษะเหล่านี้จะใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณและการหารต่อไป ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จึงเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนจะละเลยไม่ได้ สิ่งที่ครูต้องตระหนักอย่างมากประการหนึ่ง คือ จะใช้นวัตกรรมหรือวิธีการใดที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์และ มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ขั้นตอนแรกเด็กต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น ให้เด็กได้หยิบจับ นับสิ่งของรอบๆ ตัว และต้องทำซ้ำ ๆ สม่ำเสมอ เมื่อเด็กเรียนรู้โดยการสัมผัสรูปภาพสร้างสรรค์ แล้วก็สามารถเริ่มให้เด็กได้ฝึกทักษะในรูปแบบที่เป็นนามธรรมได้บ้าง
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ครูผู้สอนมักให้ความสำคัญในการเล่นเกมการศึกษาค่อนข้างน้อยมากและเด็กมักขาดความกระตือรือร้น ในการเล่นเกมทางการศึกษาและเด็กบางคนเบื่อเกมในรูปแบบเดิมที่เป็นสื่อที่ทำจากของจำลอง ซึ่งบางอย่างมีข้อเสียคือไม่มีกลิ่นหรือรสชาติ เนื่องจากเป็นของเลียนแบบสู้สื่อรูปภาพสร้างสรรค์ที่อยู่ตามธรรมชาติรอบตัวเด็กไม่ได้และไม่เอื้อต่อการคิดมากนัก รูปภาพสร้างสรรค์เป็นสื่อการเรียนรู้ที่สามารถถ่ายทอดสาระความรู้สู่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้เรียน ที่เรียนรู้โดยผ่านรูปภาพสร้างสรรค์จะได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้โดยคำแนะนำของครู อุปกรณ์ที่เป็นรูปภาพสร้างสรรค์จะทำให้นักเรียนเข้าใจได้ทันทีที่เห็นและจำได้นาน รูปภาพสร้างสรรค์มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมากทั้งนี้เพราะนักเรียนย่อมมีความคุ้นเคยกับรูปภาพสร้างสรรค์บางอย่างอยู่ อาจอยู่ในลักษณะที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กอยู่ เช่น แหล่งชุมชน เป็นต้นเด็กนักเรียนจะเรียนด้วยความเข้าใจและมีความหมายถ้าครูได้ใช้รูปภาพสร้างสรรค์ประกอบ
สำหรับเกมการศึกษามีหลายรูปแบบสามารถนำมาประยุกต์ใช้และฝึกทักษะในด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กได้ดีเช่นกันประกอบกับ การให้ความรู้กับเด็กปฐมวัยเพื่อให้เกิดพัฒนาการที่ดีนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องจัดกิจกรรมหรือจัดบรรยากาศการเรียนรู้สื่อที่ใช้ประกอบควรเป็นเกมการศึกษาให้เด็กได้สัมผัสรูปภาพสร้างสรรค์และได้รับประสบการณ์ตรงโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านสติปัญญาที่ดีของเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
กรอบแนวคิดการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิธีดำเนินการวิจัย
1. วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา พุทธศักราช 2566 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ 7 สนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ตัวบ่งชี้ที่ 7.3 สำรวจโดยใช้ประสาทสัมผัส (สามารถบอกความเหมือน-แตกต่างได้บ้าง)
2. พัฒนาหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (ด้านการจำแนกประเภท)
3. ประชุมร่วมกับครูปฐมวัย พัฒนาออกแบบกิจกรรมเกมการศึกษาที่เหมาะกับผู้เรียน และสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน การจัดการชั้นเรียน แบบสังเกตพฤติกรรม พร้อมทั้งเสนอแนะ และสะท้อนผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำมาปรับปรุง เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ให้เหมาะสมกับบริบท ผู้เรียน และสถานศึกษา
4. ครูผู้สอนนำกิจกรรมมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูปฐมวัย
5. สร้างแบบประเมินและคู่มือการใช้แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยกำหนดลักษณะเป็นแบบประเมินเชิงปฏิบัติการ ผู้รับการประเมินเป็นผู้ลงมือปฏิบัติจริงและตอบคำถามของผู้ประเมิน ประกอบด้วย ชุดด้านการจำแนกประเภท จำนวน 10 ข้อ
6. นำชุดการประเมินเชิงปฏิบัติจริงเพื่อวัดความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทดลองและนำกิจกรรมที่ออกแบบใช้กับผู้เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อปรับปรุงแบบทดสอบอีกครั้ง
7. จัดกิจกรรมเกมการศึกษา เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กับผู้เรียนระดับชั้นเตรียมอนุบาล โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับช่วงวัย ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติตามแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 6 ครั้ง จำนวน 3 สัปดาห์ ๆ ละ 2 วัน (อังคาร พฤหัส)
8. บันทึกผลการเรียนรู้ของสรุปสารสนเทศของผู้เรียน หากพบผู้เรียนที่ไม่ผ่านการพัฒนา ให้ได้รับการพัฒนาจนกว่าผู้เรียนจะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ศึกษา
ประชากรที่ศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย หญิง อายุระหว่าง 2 3 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นเตรียมอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 6 แผน ได้แก่
แผนครั้งที่ 1 เกมจับคู่ภาพกับเงาใบไม้
แผนครั้งที่ 2 เกมจับคู่ภาพกับโครงร่างกล้วย
แผนครั้งที่ 3 เกมเรียงลำดับเหตุการณ์การเจริญเติบโตของต้นกล้วย
แผนครั้งที่ 4 เกมเรียงลำดับเหตุการณ์น้ำส้มในแก้ว
แผนครั้งที่ 5 เกมศึกษารายละเอียดภาพการปฏิบัติตน
แผนครั้งที่ 6 เกมศึกษารายละเอียดภาพรุ้งกินน้ำ
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการทดลอง
การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1. แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 6 แผน
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1. วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา พุทธศักราช 2566
2. พัฒนาหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 6 แผน แต่ละแผนเป็นกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (ด้านการจำแนกประเภท) กำหนดรายละเอียดของแผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ สาระสำคัญ มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ (สาระที่ควรรู้/ประสบการณ์สำคัญ) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ขั้นนำ ขั้นกิจกรรม ขั้นสรุป) สื่อ/แหล่งการเรียนรู้และการประเมินผล
3. ประชุมร่วมกับครูปฐมวัย ร่วมกันพัฒนา ออกแบบกิจกรรมเกมการศึกษาที่เหมาะกับผู้เรียน และเข้าไปสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน การจัดการชั้นเรียน แบบสังเกตพฤติกรรม พร้อมทั้งเสนอแนะ และสะท้อนผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำมาปรับปรุง เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ให้เหมาะสมกับบริบท ผู้เรียน และสถานศึกษา
4. ครูผู้สอนนำแผนการจัดกิจกรรมมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูปฐมวัย
แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
(1) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
(2) ครูผู้สอนสร้างแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยกำหนดลักษณะเป็นแบบประเมินเชิงปฏิบัติการ ผู้รับการประเมินเป็นผู้ลงมือปฏิบัติจริงและตอบคำถามของผู้ประเมิน ประกอบด้วย ชุดด้านการจำแนกประเภท จำนวน 10 ข้อ
(3) นำชุดการประเมินเชิงปฏิบัติจริงเพื่อวัดความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทดลองและนำกิจกรรมที่ออกแบบใช้กับผู้เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อปรับปรุงแบบทดสอบอีกครั้งโดยตรวจสอบความถูกต้อง และปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ
(4) นำแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทดลองและกิจกรรมที่ออกแบบใช้กับผู้เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อปรับปรุงแบบทดสอบอีกครั้ง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองด้วยตนเองตามขั้นตอน ดังนี้
1. คณะครูได้ร่วมกันตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่า IOC
2. เก็บข้อมูลก่อนการทดลอง โดยประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ ก่อนให้เด็กทำกิจกรรมการตามแผนในกิจกรรมเกมการศึกษาที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบทดสอบก่อนการจัดกิจกรรม
3. ผู้วิจัยทดลองกิจกรรมเกมการศึกษา ทั้งหมด 6 แผน ระยะเวลาการทดลอง 1 ภาคเรียน สัปดาห์ละ 2 วัน (อังคาร พฤหัสบดี) วันละ 20 นาที
5. เมื่อผู้วิจัยจัดกิจกรรมครบตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้วิจัยประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาอีกครั้ง โดยใช้แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชุดเดียวกันกับที่ใช้ประเมินก่อนการจัดกิจกรรม
6. เมื่อได้คะแนนจากการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมแล้ว
7. เขียนรายงานการวิจัย เพื่อสรุปผลการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ
ผลการวิจัย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ ดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์
ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
เลขที่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
(การจำแนกประเภท)
ก่อนการจัดประสบการณ์
(10 คะแนน) หลังการจัดประสบการณ์
(10 คะแนน)
1 5 10
2 2 10
3 2 10
4 4 8
5 3 9
6 3 5
7 3 5
8 2 9
9 5 10
10 2 10
11 2 8
12 2 8
13 2 9
14 2 8
15 2 8
16 2 7
รวม 43 134
ค่าเฉลี่ย
คิดเป็นร้อยละ 26.87 83.75
จากตารางที่ 1 พบว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย คือ ทักษะการจำแนกประเภท มีเฉลี่ยก่อนการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 26.87 และหลังหลังการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 83.75 ดังนั้น โดยภาพรวมหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เด็กมีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยสื่อรูปภาพสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สรุปและอภิปรายผล
จากการศึกษาเรื่องการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 16 คน สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นเตรียมอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้านทักษะการจำแนกประเภท ก่อนการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 26.87 และหลังหลังการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 86.75
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นเตรียมอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ด้านทักษะการจำแนกประเภท ก่อนการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 26.87 และหลังหลังการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 83.75 ดังนั้นโดยภาพรวมหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เด็กมีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทุกทักษะ
อภิปรายผล
จากสรุปผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทุกด้านอยู่ในระดับสูงขึ้น กล่าวคือ เด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 16 คน มีพัฒนาการด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในเรื่องการจำแนกประเภท ที่สูงขึ้น ซึ่งผลที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการเรียนรู้จากสื่อเกมการศึกษา เด็กเล่นจากการสัมผัสลงมือกระทำกับวัตถุแล้ว จึงเรียนรู้กับการมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุและจากผู้ร่วมเล่นในเวลาต่อมา การเล่นเกมการศึกษาเป็นการเรียนของเด็กที่เป็นประสบการณ์ตรง การได้สังเกตจากการเห็นของเล่นโดยเฉพาะการเล่นเป็นการฝึกให้เด็กเกิดการซึมซับและเกิดการเรียนรู้จากการได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเปิดโอกาสให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การจำแนกประเภท ในกิจกรรมทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เนื่องจากสื่อรูปภาพสร้างสรรค์ที่ครูนำมาประกอบการจัดกิจกรรมทำให้เห็นว่าทุกหนทุกแห่งมีคณิตศาสตร์อยู่รอบตัว
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้เกมการศึกษาโดยใช้สื่อรูปภาพสร้างสรรค์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ โดยสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
2.1 การจำแนกประเภท เป็นความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทประเภทสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความต่าง และความสัมพันธ์กัน การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาสามารถส่งเสริมทักษะการจัดประเภทให้แก่เด็ก คือ เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง เด็กได้สำรวจวัตถุ ครูชวนพูดคุยเรื่องความเหมือนความต่าง สิ่งที่สัมพันธ์กันของวัตถุ ขณะร่วมกิจกรรมกระตุ้นให้เด็กได้คิดถึงสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจำแนกประเภทนั้น เนื่องจากคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย คือ ประสบการณ์ที่ได้เห็นว่าทุกหนทุกแห่งในจักรวาลในมนุษย์ ในธรรมชาติ มีคณิตศาสตร์อยู่ คณิตศาสตร์สัมพันธ์และเชื่อมโยงกับทุกสิ่งและมิได้มีเนื้อหาเฉพาะส่วนที่เป็นแนวคิด แต่มีส่วนที่เป็นความรู้สึกควบคู่กันไปด้วย ของเล่นที่เป็นวัสดุธรรมชาติ เช่น แท่งไม้ ก้อนหิน กรวด ผ้า เชือก ที่ครูคัดเลือก และจัดทำเป็นของเล่นให้แก่เด็กนอกจากจากแสดงให้เห็นความงดงามและน่ามหัศจรรย์ของธรรมชาติแล้ว ยังให้แนวทางคิดพื้นฐาน ทางเรขาคณิตเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุและรูปเรขาคณิตในสิ่งรอบตัว เมื่อเด็กจัดเก็บของเล่นเหล่านั้น เขาจะได้ฝึกทักษะการจำแนกประเภทและจัดกลุ่ม กิจกรรมประจำวัน ตามหลักการทำซ้ำตามจังหวะเวลาที่สม่ำเสมอ การสังเกตและน้อมรับธรรมชาติ จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์จากการสังเกตและทำนายความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัวทุก ๆ วันตลอดเวลา
จากที่เหตุผลที่กล่าวข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า ในการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในด้านการจำแนกประเภทได้ดี
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1. การกำหนดให้มีกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ควรให้มีการทำซ้ำบ่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กได้พัฒนาอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เห็นผลชัดเจนว่า เด็กมีความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผลที่ดีขึ้น
2. การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ครูควรมีการจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ให้มีความ หลากหลายและเพียงพอต่อจำนวนเด็กนักเรียน กิจกรรมไม่ควรซ้ำเพราะจะทำให้เด็กนักเรียนรู้สึกเบื่อหน่ายไม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม
3. ผลการวิจัยที่ได้รับสามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา นำผลการวิจัยมาปรับปรุงการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีการจัดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาพัฒนาการทางอารมณ์ - จิตใจ ในด้านการผ่อนคลายความเครียดการมีสมาธิของเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
2. ควรมีการศึกษาพัฒนาการทางภาษาของเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
3. ควรมีการเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาสำหรับเด็กในเขตชุมชนที่แตกต่างกัน
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2549). การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. การศึกษาปฐมวัย.
คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว. (2550). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้
รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ชมพูนุช จันทรางกูร. (2549). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบ
อาหารไทยประเภทขนมอบ. กรุงเทพฯ : ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สุมารีย์ ไชยประสพ. (2558). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้
กิจกรรมเกมการศึกษา โรงเรียนโป่งน้ำร้อนวิทยา. วิทยานิพนธ์ คศ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ถ่ายเอกสาร.
ภาคผนวก
แบบบันทึกการประเมิน
ก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
เลขที่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
(การจำแนกประเภท)
ข้อ1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4 ข้อ5 ข้อ6 ข้อ7 ข้อ8 ข้อ9 ข้อ10 รวม ค่าเฉลี่ย
คิดเป็นร้อยละ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
รวม
ค่าเฉลี่ย
คิดเป็นร้อยละ
แบบบันทึกการประเมิน
หลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
เลขที่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
(การจำแนกประเภท)
ข้อ1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4 ข้อ5 ข้อ6 ข้อ7 ข้อ8 ข้อ9 ข้อ10 รวม ค่าเฉลี่ย
คิดเป็นร้อยละ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
รวม
ค่าเฉลี่ย
คิดเป็นร้อยละ
แบบบันทึกการประเมิน
ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
เลขที่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
(การจำแนกประเภท)
ก่อนการจัดประสบการณ์
(10 คะแนน) หลังการจัดประสบการณ์
(10 คะแนน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
รวม
ค่าเฉลี่ย
คิดเป็นร้อยละ
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรม
ภาพสื่อเกมการศึกษา
ภาพการประเมิน
ภาพการประเมิน
ภาพการประเมิน
เครื่องมือในการจัดกิจกรรม