บทคัดย่อ
หัวข้องานวิจัย การพัฒนาสื่อประกอบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยโดยใช้นิทาน เพื่อแก้ไขปัญหาทักษะด้านการอ่านให้คล่อง
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ชื่อผู้วิจัย นายณัฐวุฒิ วินทะไชย
สังกัด โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ปี พ.ศ. 2567
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสือนิทานประกอบ ภาพ สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด โดยนำมาใช้เป็น ส่วนประกอบของการอ่าน การเขียนภาษาไทย และเป็นการฝึกให้นักเรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการสร้างนิทาน ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดผมสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่ดีได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปี ที่ 5 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 26 คน โดยใช้เครื่องมือ ในการทดลอง คือ แผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ และนิทานประกอบภาพ ส่วนเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินการจัดกระบวนการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อการเรียนภาษาไทยโดยใช้นิทานเป็นสื่อ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของ แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนโดย ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ได้ผลวิจัยดังนี้
1. ผลจากการทดสอบก่อนเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ปรากฏว่า คะแนนทดสอบก่อนเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 11.54 มีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 23 คน คิดเป็นร้อยละ 88.46 แต่ดูจากคะแนนทดสอบหลังเรียนมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00
แสดงให้เห็นว่าการใช้หนังสือนิทานภาพประกอบการอ่านและเขียนภาษาไทย สามารถพัฒนาด้านการอ่านและเขียนของนักเรียนได้ดีขึ้น
สมปอง หลอมประโคน (2549) กล่าวว่าเพราะนิทาน เป็นสื่อการสอนที่เสริมสร้างจินตนาการ และส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ทำให้ผู้เรียนได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้รับคติเตือนใจ มองเห็นการแก้ปัญหาชีวิตในแง่มุมต่างๆได้อย่างเหมาะสม นิทานส่งเสริมให้ผู้เรียนรับรู้ข้อมูลทางภาษาได้ดีกว่า สามารถจำเนื้อหาได้เร็วขึ้น
2. จากผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ การอ่านภาษาไทย โดยใช้หนังสือนิทา ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากหนังสือนิทานประกอบภาพ ได้คะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.16 สูงกว่าก่อนการใช้หนังสือนิทานภาพประกอบ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.31 แสดงให้เห็นว่าผลคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01แสดงว่าการพัฒนาการอ่านภาษาไทย โดยใช้นิทาน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ การอ่านภาษาไทยของนักเรียนสูงขึ้น เช่นเดียวกับ สมปอง หลอมประโคน (2544) กล่าวว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้นิทานอีสปเป็นสื่อในการอ่านจับใจความมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสำนักกระทรวงศึกษาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ (2548) กล่าวอีกว่าในผลสัมฤทธิ์เชิงรูปธรรมนั้นมีผลสัมฤทธิ์เชิงนามธรรมแสดงอย่างชัดเจนเป็นกระบวนการที่ผสานจินตนาการและชีวิตจริงของเด็ก ที่เอื้อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมั่นใจในความสามารถของตน และเกิดการเรียนรู้กระทั่งนำความรู้ที่ได้มาผสมผสานกับ ประสบการณ์ที่เด็กมีรวมถึงความคิดและจินตนาการของเด็ก จนเกิดการเรียนรู้ที่สัมฤทธิ์ผลได้
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ โดยรวมพบว่ามีระดับความ
พึงพอใจอยู่ในระดับ มาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยรวม (4.32) เมื่อพิจารณารายละเอียดพบว่า นักเรียนสนใจรูปภาพหรือตัวละครในนิทานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (4.53) รองลงมานักเรียนสนใจและพึงพอใจในผู้สอนหรือครูที่มีเทคนิคในการสอนด้วยการใช้นิทานเป็นสื่อได้สนุกอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย
(4.50) ซึ่งสอดคล้องกับ มนัสสา ลัทธิวาจา (2551) กล่าวว่านักเรียนชั้นประถมศึกษา มีความพึงพอใจต่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นิทานอีสปเป็นสื่อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 หมายถึงนักเรียนมีความพึง
พอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เช่น เดียวกับ นิภา วงษ์สุรภินันท์ และคณะครูโรงเรียนบ้านผึ้ง (2549) พบว่า
นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงออกในการเล่านิทานสร้างสรรค์คุณธรรม อยู่ในระดับปานกลางมี
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 3.75และ 0.55 ตามลำดับ และส่งเสริมนักเรียนมีคุณธรรมโดยรวม
หลังการดำเนินการนิทานสร้างสรรค์คุณธรรมสูงกว่าก่อนการดำเนินการนิทานสร้างสรรค์คุณธรรมอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.11 นักเรียนจึงมีความพึงพอใจต่อการดำเนินการนิทานสร้างสรรค์คุณธรรม
โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 0.56
ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่านิทานมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนได้เป็นอย่างดีเป็นแหล่ง
ความรู้ทางภาษากระตุ้นให้เกิดการสื่อสารนำไปสู่การพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน
ส่งเสริมกระตุ้นให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้และมีความคิดสร้างสรรค์ นิทานยังเป็นสื่อการสอนที่มีความ
สนุกสนาน และตื่นเต้น ที่จะให้นักเรียนเกิดความสนใจ พึงพอใจในการเรียน และการจัดกิจกรรมโดยใช้
นิทานเป็นสื่อสำหรับนักเรียนชั้น ป.5 นั้นมีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่ดีได้