ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับ
แนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นายธนกร ปัณณ์ชวพร
ปีที่ทำวิจัย 2567
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาผลการใช้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ องค์ประกอบด้านหลักการ องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ องค์ประกอบด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ และองค์ประกอบด้านระบบสนับสนุน และความต้องการในการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ
แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือ
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านหลักการ องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ องค์ประกอบด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบด้านระบบสนับสนุน และองค์ประกอบด้านด้านบทบาทของครูและบทบาทผู้เรียน โดยองค์ประกอบด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นทบทวนเนื้อหา (Reviewing) 2) ขั้นศึกษาความรู้ (Studying) 3) ขั้นสู่การแก้ปัญหา (Solving the problem) 4) ขั้นพาสรุปผล (Summarizing) มีความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การทดลองแบบภาคสนาม (Field tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพ 81.50/81.44 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80
3. ผลการทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีค่า 84.43/83.33 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ
แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับแนวคิดกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก