บทสรุปผู้บริหาร
ผลการวิจัย
การพัฒนาความสามารถครูคอมพิวเตอร์ ด้านพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ในการจัดการเรียนรู้โดยการนิเทศด้วยกระบวนการ P-A-O-R โรงเรียนในอำเภอหนองแซง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพความสามารถครูคอมพิวเตอร์ ด้านพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนในอำเภอหนองแซง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี
เขต 1 ก่อนการพัฒนา 2) เพื่อสร้างการนิเทศด้วยกระบวนการ P-A-O-R ในการพัฒนาความสามารถครูคอมพิวเตอร์ ด้านพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ในการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนในอำเภอหนองแซง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 และ 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถครูคอมพิวเตอร์ ด้านพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ในการจัดการเรียนรู้โดยการนิเทศด้วยกระบวนการ P-A-O-R โรงเรียนในอำเภอหนองแซง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในอำเภอหนองแซง การดำเนินการแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
สรุปผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพความสามารถครูคอมพิวเตอร์ ด้านพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนในอำเภอหนองแซง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ก่อนการพัฒนา ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ("x" ̅ =2.73, S.D.=0.82)
2. การนิเทศด้วยกระบวนการ P-A-O-R ในการพัฒนาความสามารถครูคอมพิวเตอร์ ด้านพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ในการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนในอำเภอหนองแซง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน (Plan) 2) ขั้นการปฏิบัติ (Act) 3) ขั้นสังเกต (Observe) และ 4) ขั้นสะท้อนคิด (Reflect)
3. ผลการพัฒนาความสามารถครูคอมพิวเตอร์ ด้านพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ในการจัดการเรียนรู้โดยการนิเทศด้วยกระบวนการ P-A-O-R โรงเรียนในอำเภอหนองแซง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ปีงบประมาณ พ.ศ.2566
3.1 นักเรียนทั้งหมด 117 คน ได้รับการพัฒนา จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 26.50
3.2 คุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ของครูคอมพิวเตอร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ =4.56, S.D.=0.65)
3.3 ความสามารถในการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูคอมพิวเตอร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ =4.55, S.D.=0.61)
3.4 ความพึงพอใจของครูคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการ P-A-O-R เพื่อพัฒนาความสามารถในการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ("x" ̅=4.47, S.D.=0.58)
3.5 ข้อมูลสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาในการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 ผลงาน จากทั้งหมด จำนวน 86 ผลงาน และคิดเป็นร้อยละ 20.93
ข้อเสนอแนะทั่วไป
จากข้อค้นพบในการวิจัยครั้งนี้ มีประเด็นข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ดังต่อไปนี้
1. การนิเทศติดตาม และให้คำปรึกษา ควรเหมาะสมกับระดับความสามารถของครูและเป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของครู ช่วยให้ครูมีกำลังใจ มั่นใจในการดำเนินการ อีกทั้งยั้งสามารถเพิ่มระดับความสามารถด้านพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาของครู
2. ครูที่มีพื้นฐานยังไม่เพียงพอด้านเทคโนโลยีการศึกษาในการจัดการเรียนรู้ เมื่อได้รับ
การพัฒนาได้เรียนรู้จากเพื่อนครูที่ผ่านการพัฒนาหรือมีประสบการณ์มาก่อน
3. การพัฒนาครูคอมพิวเตอร์ด้านพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาในการจัด
การเรียนรูสามารถทำได้ทุกระดับ ทั้งระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป
การวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาในประเด็นดังต่อไปนี้
1. ควรหากลยุทธ์อื่นๆ ที่มาใช้ในการทดลองแก้ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาครูคอมพิวเตอร์ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
2. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาครูคอมพิวเตอร์ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาในการจัดการเรียนรู้กับครูกลุ่มอื่นๆ