ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PCPKSA Model ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การแกะรูปหนังตะลุง รายวิชาเพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายสุริยัน จัตุธรรม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนวัดโพธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PCPKSA Model ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การแกะรูปหนังตะลุง รายวิชาเพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธาราม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การแกะรูปหนังตะลุง รายวิชาเพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธาราม 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธาราม ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PCPKSA Model ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การแกะรูปหนังตะลุง รายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 14 คน ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดโพธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การแกะรูปหนังตะลุง 2) แผนการจัดการเรียนรู้
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การแกะรูปหนังตะลุง 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การแกะรูปหนังตะลุง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าสถิติที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PCPKSA Model ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การแกะรูปหนังตะลุง รายวิชาเพิ่มเติมระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดประสบการณ์ สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุนและหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมพร้อมสู่การเรียนรู้ (Preparation : P) 2) ขั้นพากเพียรจัดกลุ่มเรียนรู้ (Combination : C) 3) ขั้นมุ่งสู่การนำเสนอผลงาน (Presentation : P) 4) ขั้นเบิกบานกับการสร้างสรรค์ความรู้ (Knowledge creation : K) 5) ขั้นสรุป (Summary : S) และ 6) ขั้นมุ่งสู่การนำไปใช้และเผยแพร่สู่ชุมชน (Application and community : A) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ (E1/ E2) 80.48/92.14 เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PCPKSA Model ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การแกะรูปหนังตะลุง รายวิชาเพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดโพธาราม มีความพึงพอใจต่อการใช้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PCPKSA Model ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การแกะรูปหนังตะลุง รายวิชาเพิ่มเติม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.61, S.D = 0.57)