โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ด้านการบริหารจัดการ
ชื่อผลงาน : การพัฒนารูปแบบบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน
ผู้พัฒนานวัตกรรม : นายพศวัต สาระอาวาส
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองแปน
ส่วนประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน ประกอบด้วย
ส่วนที่ ๑ หลักการแนวคิดและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ
๑. หลักการแนวคิด
บริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงความพอเพียง เป็นการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษามาระดับหนึ่งเนื่องจากจะต้องปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย ๑.การพึ่งตนเองเป็นหลัก ๒.การพิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร สมเหตุสมผล ๓.การสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น
บนพื้นฐานของความสมดุล และ ๔.ความครอบคลุมทั้งด้านจิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ เศรษฐกิจ ฉะนั้น การยกระดับคุณภาพการศึกษาต้องวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและในขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมโลกจากภายนอกได้เป็นอย่างดี การจัดการเรียนรู้ของครูสามารถสอดแทรกสาระเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ในห้องเรียน และการประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนอกห้องเรียน จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการหล่อหลอมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องมีความเชื่อมั่น เห็นประโยชน์และสามารถนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรในสถานศึกษา ให้มีส่วนร่วมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ตอบสนองเป้าหมายการจัดการศึกษาในปัจจุบันและตอบสนองต่อการปฏิรูปการจัดการศึกษาในสถานศึกษา และเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้นข้าพเจ้าผู้พัฒนานวัตกรรมจึงสนใจพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๒
๒. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อให้โรงเรียนบ้านหนองแปน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๒ ให้บริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียง โดยใช้รูปแบบบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียง มีหลักปฏิบัติตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามหลักปฏิบัติตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ ๑.การพึ่งตนเองเป็นหลัก ๒.การพิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร สมเหตุสมผล ๓.การสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น บนพื้นฐานของความสมดุล และ ๔.ความครอบคลุมทั้งด้านจิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ เศรษฐกิจ
ส่วนที่ ๒ องค์ประกอบของรูปแบบกระบวนการของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียง
เป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีระบบ การศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการของโรงเรียนที่คำนึงถึงบริบทและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนนำไปสู่การกำหนดปัจจัยป้อนเข้า เช่น กฎหมาย/นโยบาย กระทรวงศึกษาธิการ ทรัพยากรทางการการศึกษา โดยที่โรงเรียนต้องมีความสามารถและมีกระบวนการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพอันนำไปสู่ผลผลิตและผลลัพธ์ ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจ และได้ข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งสะท้อนผลการพัฒนาทั้งหมดมาใช้ปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่องต่อไป องค์ประกอบของรูปแบบกระบวนการของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียง ประกอบด้วย ๑) สภาพแวดล้อมภายนอก ๒) ปัจจัยป้อนเข้า ๓) กระบวนการ ๔) ผลผลิต/ผลลัพธ์ และ ๕) ข้อมูลป้อนกลับ
องค์ประกอบที่ ๑ สภาพแวดล้อมภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความพอเพียง ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์ประกอบที่ ๒ ปัจจัยป้อนเข้า
๑. กฎหมาย และนโยบายเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษา ประกอบด้วย ๑.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ ๒.พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๑๐ ๓.ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (๒๕๖๑-๒๕๘๐)
๔.แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๕.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉ.๑๓ ๖.แผนความมั่นคงแห่งชาติ ๗.แผนการปฏิรูปประเทศ ๘.แผนการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๖๐-๒๕๗๙) ๙.นโยบายรัฐบาล และ๑๐.นโยบาย/จุดเน้น ศธ. สพฐ. และ สพป.ศก.๒
๒. ทรัพยากรทางการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักต่อบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการสะเต็มศึกษา สำหรับสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด จะต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักต่อหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี คณะกรรมการสถานศึกษา มีความสำคัญต่อการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียง มีบทบาทหน้าที่ที่จะต้องออกระเบียบ ข้อบังคับ ให้ความเห็นชอบให้คำแนะนำ รวมทั้งกำกับดูแลติดตาม ตรวจสอบงานต่าง ๆ ของโรงเรียน
๓. ทรัพยากรอื่น ได้แก่ งบประมาณ อาคาร วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียง ได้อย่างเหมาะสม
องค์ประกอบที่ ๓ กระบวนการ
กระบวนการของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียง ผู้พัฒนานวัตกรรมได้พัฒนารูปแบบจากตามความต้องการจำเป็น และการบริหารตามกระบวนการวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) ประกอบด้วย ๔ หลักปฏิบัติตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ ๑.การพึ่งตนเองเป็นหลัก
๒.การพิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร สมเหตุสมผล ๓.การสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น บนพื้นฐานของความสมดุล และ ๔.ความครอบคลุมทั้งด้านจิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ เศรษฐกิจ
๑. หลักการพึ่งตนเองเป็นหลัก PDCA หลักการพึ่งตนเอง
PLAN : ๑.๑ มีแผนหรือโครงการสร้างฐานการเรียนรู้ตามโครงการตามแนวพระราชดำริ
DO : ๑.๒ ดำเนินโครงการในสถานศึกษาบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 หรือรัชกาลปัจจุบัน และสอดคล้องกับ
วิสัยทัศน์ นโยบาย และเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
๑.๓ บริหารแบบมีส่วนร่วม เน้นการทำงานที่เป็นระบบ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ และเกิดประโยชน์ต่อพัฒนาการของนักเรียนรอบด้าน
CHECK : ๑.๔ ตรวจสอบผลสำเร็จของโครงการต่าง ๆ ผ่านการจัดนิทรรศการทุกปี
ACT : ๑.๕ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานอย่างแพร่หลายและต่อเนื่อง
๒.หลักการแยกแยะความพอดี พอเหมาะ พอควร และสมเหตุสมผล PDCA หลักการความพอดี พอเหมาะ พอควร และสมเหตุสมผล
PLAN : ๒.๑ วางแผนพัฒนาหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป้าหมายและวิสัยทัศน์
DO : ๒.๒ วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา ชุมชน สังคมและท้องถิ่น ร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง
๒.๓ นำหลักสูตรไปวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนการสอน
๒.๔ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตรที่กำหนด
CHECK : ๒.๕ นิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
ACT : ๒.๖ นำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
๒.๗ นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมในการเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจ
๒.๘ ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการจัดหาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วม
๒.๙ พัฒนาแนวทางการออกแบบกระบวนการและเครื่องมือ ในการประเมินผล
๒.๑๐ จัดทำเอกสารประกอบการวัดและประเมินผล สรุปรายงานเสนอผู้เกี่ยวข้องทราบนำผลไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๓.หลักการการสร้างความสามัคคี PDCA หลักการสร้างความสามัคคี
PLAN : ๓.๑ วางแผนการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความสามัคคีอย่างต่อเนื่องให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
DO : ๓.๒ คิดวิเคราะห์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำงานเป็นทีมสามารถอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นยอมรับเหตุผลและความคิดเห็นของผู้อื่นและแก้ปัญหาได้
๓.๔ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) อย่างสร้างสรรค์
CHECK : ๓.๕ นิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
๓.๖ ขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในสู่การปฏิบัติ อย่างเข้มแข็ง มีการนิเทศติดตาม และพัฒนางาน
ACT : ๓.๗ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และกิจกรรมในสถานศึกษาด้วยวิธีที่หลากหลายและน่าสนใจ
๔. หลักการทางจิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ เศรษฐกิจ PDCA หลักการรองรับการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน
PLAN : ๔.๑ วางแผนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญสอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตร
๔.๒ กระตุ้นให้นักเรียนกระตือรือร้น ฝึกปฏิบัติแก้ไขปัญหา มอบหมายงานที่หลากหลายและสร้างสรรค์ ทั้งงานรายบุคคล และงานกลุ่ม
๔.๓ กำหนดแนวทาง และวัดประเมินผลรวมถึงการใช้สื่อได้สอดคล้องกับเป้าหมายและจุดเน้นที่สถานศึกษากำหนด
DO : ๔.๔ ครูมีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้งในวิชาที่สอน และจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้กระบวนการวิจัยพัฒนาการจัดการเรียนรู้
๔.๕ บูรณาการการเรียนรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น
CHECK : ๔.๖ นิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
๔.๗ จัดการสอนซ่อมเสริมให้แก่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน เพิ่มพูนศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถ
ACT : ๔.๘ นำเสนอผลการเรียน และความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ให้ผู้ปกครองรับทราบ
องค์ประกอบที่ ๔ ด้านผลผลิต
องค์ประกอบด้านผลผลิตของการบริหารจัดการความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน เป็นผลที่ได้จากการนำปัจจัยป้อนเข้า หลักการการบริหารจัดการความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน และกระบวนการบริหาร PDCA ทำให้ผลผลิตที่ได้เกิดประสิทธิผล และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความพึงพอใจ โดยวัดระดับการเกิดประสิทธิผลตามเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จมี ๔ องค์ประกอบ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ ๑ สถานศึกษา องค์ประกอบที่ ๒ ผู้บริหารสถานศึกษา องค์ประกอบที่ ๓ บุคลากรของสถานศึกษา บุคลากรของสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ และองค์ประกอบที่ ๔ ผู้เรียนผู้เรียน
มีความรู้ความเข้าใจ
องค์ประกอบที่ ๕ ข้อมูลป้อนกลับ
ข้อมูลป้อนกลับเป็นการนำผลจากกระบวนการการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียง และหน้าที่การบริหารตามแนวคิดวงจรคุณภาพ (PDCA) มาเป็นข้อมูลในพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน เมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้ข้อมูลป้อนกลับทางบวกและข้อมูลป้อนกลับทางลบ ซึ่งข้อมูลป้อนกลับทางบวกจะเป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการบริหารโรงเรียน ตามหลักการการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียง ส่วนข้อมูลป้อนกลับทางลบจะทำให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่
ไม่สมบูรณ์เพียงพอในการปรับปรุงโรงเรียนตามหลักการการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียง จึงต้องนำข้อมูลป้อนกลับมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน ให้มีความเป็นไปได้และเหมาะสมต่อไป
ส่วนที่ 3 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้
การนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน ไปใช้ต้องเตรียมความพร้อมในการดำเนินการเพื่อให้การใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนการนำไปใช้ ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ และขั้นดำเนินการ โดยมีรายละเอียดในการดำเนินการ ดังนี้
๑. ขั้นเตรียมการ
๑.๑ ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าสายชั้นหรือหัวหน้าระดับ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ ความสำคัญ ประโยชน์และความจำเป็นที่นำรูปแบบ
การบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน มาใช้
๑.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาสถานศึกษาด้วยรูปแบบการบริหารสถานศึกษา
สู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน ให้สอดคล้องกับรูปแบบ
๑.๓ คณะกรรมการพัฒนาสถานศึกษาด้วยการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียง
ของโรงเรียนบ้านหนองแปน จัดเตรียมการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสถานศึกษาด้วยการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน
๒. ขั้นดำเนินการ
๒.๑ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ ความสำคัญ ประโยชน์
และความจำเป็นที่นำเอารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน มาใช้
๒.๒ คณะกรรมการพัฒนาสถานศึกษาสู่รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน สำรวจสภาพการบริหารสถานศึกษาก่อนดำเนินการ แล้วนำผลการสำรวจที่ได้มาเตรียมการพัฒนาสถานศึกษาต่อไป
๒.๓ ศึกษาดูงานสถานศึกษาที่มีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ (Best Practice)
๒.๔ คณะกรรมการพัฒนาสถานศึกษาด้วยการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน กำกับและติดตามการปฏิบัติตามวิธีการของการบริหารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้
ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๓. ขั้นตรวจสอบ
๓.๑ คณะกรรมการพัฒนาสถานศึกษาด้วยการการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ และติดตามการปฏิบัติงาน
๓.๒ คณะกรรมการพัฒนาสถานศึกษาด้วยการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแบบประเมิน
๓.๓ คณะกรรมการพัฒนาสถานศึกษาด้วยการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน รายงานความก้าวหน้าโดยคณะกรรมการประชุมร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษาทุกสัปดาห์
๔. ขั้นปรับปรุงแก้ไข
๔.๑ คณะกรรมการพัฒนาสถานศึกษาด้วยการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน นำผลจากการประเมินผลจากการปฏิบัติงานไปปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมการปฏิบัติงานและจัดทำเอกสารประกอบการปฏิบัติงาน
๔.๒ คณะกรรมการพัฒนาสถานศึกษาด้วยการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน สรุปผลการดำเนินการให้ผู้บริหารสถานศึกษารับทราบ
ส่วนที่ ๔ การประเมินผล การประเมินผลให้ดำเนินการ ดังนี้
๑. คณะกรรมการพัฒนาสถานศึกษาด้วยการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้าน
หนองแปน ประเมินความพึงพอใจการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้าน
หนองแปน ไปใช้ตามแบบประเมินความพึงพอใจ
๒. คณะกรรมการพัฒนาสถานศึกษาด้วยการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้าน
หนองแปน สรุปการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน แล้วรายงานผลให้ผู้บริหารสถานศึกษารับทราบ
ส่วนที่ ๕ เงื่อนไขความสำเร็จ
เงื่อนไขความสำเร็จ คือ การบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในเป้าหมายที่สูงขึ้น โดยครอบคลุมในทุกระดับชั้นของสถานศึกษา
การบริหารควรเพิ่มจุดเน้น ดังต่อไปนี้
๑. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรให้การสนับสนุนการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ควรมีการช่วยเหลือ นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลเพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
๒. สถานศึกษาที่นำร่องนโยบายหรือมีความสนใจในการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองแปน ควรศึกษาและเรียนรู้จากสถานศึกษาที่เป็นที่ยอมรับและมีแบบวิธีปฏิบัติ
ที่ดี (Best Practice) ให้มีความเข้าใจอย่างชัดเจนในการดำเนินการ
๓. ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจ มุ่งมั่น จริงจัง สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ให้กับการบริหารสถานศึกษาสู่ความพอเพียง เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน โดยมีการนิเทศ กำกับ ติดตามเป็นประจำในลักษณะกัลยาณมิตร และเสริมแรงเชิงบวก
๔. ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ทุกฝ่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาตระหนักและเห็นความสำคัญ ตลอดจนให้ความร่วมมือในการดำเนินการอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
๕. ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจิตอาสา มุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ เพื่อให้สถานศึกษาบริหารสถานศึกษาไปสู่ความพอเพียง