บทคัดย่อ
การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนในโรงเรียนสองระบบ ด้วย Wisdom Model : กรณีศึกษาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บางปอประชารักษ์ ครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนในโรงเรียนสองระบบ ด้วย Wisdom Model : กรณีศึกษาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บางปอประชารักษ์ 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม หลังการพัฒนา 3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนในโรงเรียนสองระบบ ด้วย Wisdom Model : กรณีศึกษาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บางปอประชารักษ์ หลังการพัฒนา และ 4.เพื่อศึกษาผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา หลังการพัฒนา ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปีการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 ต่อเนื่อง 3
ภาคเรียน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มประชากร ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 180 คน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 192 คน
2) ประชากรครู ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คน ปีการศึกษา 2565 จำนวน
28 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 180 คน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 192 คน และ 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 และ
ปีการศึกษา 2565 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่า
ความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง .975-.987 ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง โดยเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2565 ช่วงเดือนมีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS Version 23 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
 
ผลการวิจัย พบว่า
จากการดำเนินการตามกระบวนการวิจัย สามารถสรุปผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับคุณภาพพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนในโรงเรียนสองระบบ ด้วย Wisdom Model : กรณีศึกษาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บางปอประชารักษ์ ความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพมาก
ปีการศึกษา 2565 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพมาก เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มที่ประเมินพบว่า ปีการศึกษา 2564 ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( x̄=3.64 , S.D. = 0.70) รองลงมา คือ นักเรียน อยู่ในระดับมาก ( x̄= 3.63, S.D. = 0.70) ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄= 3.57 , S.D. x̄= 0.71) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน ปีการศึกษา 2565 ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.32, s.d = 0.43) รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( x̄=4.28, S.D.=0.39) ส่วนนักเรียนและผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄=3.20,S.D.=0.38) อยู่ในระดับมากเช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน
ตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติกรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์
บางปอประชารักษ์ หลังการพัฒนา ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง
ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมาก โดยผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄= 3.63, S.D. = 0.72) รองลงมาคือ ครู (x̄= 3.54 ,s.d = 0.60) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2565 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมาก โดยครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄= 4.15 , s.d = 0.50) รองลงมาคือ ผู้ปกครอง ( x̄= 4.13, S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมากเช่นกันสอดคล้องตามสมมติฐาน
3. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนในโรงเรียนสองระบบ ด้วย Wisdom Model : กรณีศึกษาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บางปอประชารักษ์ หลังการพัฒนา พบว่า
ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมาก
( x̄= 3.64 , S.D. = 0.73) รองลงมาคือผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก ( x̄= 3.61 , S.D. = 0.73) รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( x̄= 3.58 , S.D. = 0.56) ส่วนครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด (x̄= 3.54 , s.d = 0.62) อยู่ในระดับมาก
ปีการศึกษา 2565 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.29 ,S.D. = 0.41) รองลงมาคือ ครู อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.25 , s.d. = 0.41) ส่วนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด ( x̄= 4.21 , S.D. = 0.40) อยู่ในระดับมากเช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดี
ขึ้นไปโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติกรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ บางปอประชารักษ์ หลังการพัฒนา
ปีการศึกษา 2564-2565 พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดี
ขึ้นไป หลังการพัฒนา ทั้ง 2 ปีการศึกษามีค่าเฉลี่ยร้อยละมากกว่า ร้อยละ 90 ทั้ง 8 ประการ
โดยปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าปีการศึกษา 2564 ทั้ง 8 ประการ และเมื่อพิจารณา
ค่าพัฒนา พบว่า คุณลักษณะฯ รักความเป็นไทย มีค่าพัฒนาสูงสุด +2.56 รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ จิตอาสา +2.51 ส่วนคุณลักษณะมีวินัย มีค่าพัฒนาต่ำสุด +0.08