การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการ
เรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการ
เรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา วิธีดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัย
และพัฒนา (R&D) มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา
รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการ
เรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ ขั้นตอนที่ 3การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการ
คำนวณ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนอนุบาลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน
ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 3) คู่มือการใช้รูปแบบ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม
รูปแบบที่พัฒนาขึ้น 5) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ
7) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการ
คำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา พบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพ
ปัญหาของการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ตามความคิดเห็นของครูมีระดับ
การปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก 2) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการนักเรียน พบว่า นักเรียน
มีความต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะ
การแก้ปัญหา ในระดับมากที่สุด
ข
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะ
การแก้ปัญหา มีองค์ประกอบของรูปแบบ 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์
3) กระบวนการเรียนการสอน 4) ระบบสังคม และ 5) ระบบสนับสนุน โดยกระบวนการเรียนการสอน
มีวิธีดำเนินการ 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2ขั้นสังเกตและทำความเข้าใจ ขั้นที่ 3
ขั้นนำไปใช้ปฏิบัติ ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล และขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอผลงานและประยุกต์ใช้
ผลการประเมินคุณภาพความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับมากที่สุด และการหา
ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบ พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2)
เท่ากับ 81.93/80.56 ถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะ
การแก้ปัญหา พบว่า
3.1 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้
รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.24/84.11 ถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชา
วิทยาการคำนวณ มีคะแนนการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
3.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชา
วิทยาการคำนวณ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะ
การแก้ปัญหา พบว่า
4.1 ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อ
พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี นักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหา ในปีการศึกษา 2566 คิดเป็นร้อยละ 81.17
สูงกว่าปีการศึกษา 2565 คิดเป็นร้อยละ 79.17 คิดเป็นความต่างร้อยละ และคะแนนผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียน ในปีการศึกษา 2566 คิดเป็นร้อยละ 84.11 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 คิดเป็น
ร้อยละ 80.56 คิดเป็นความต่างร้อยละ
4.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการ
เรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (
X-bar = 4.57, S.D = 0.49)