บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นางทองกร ศรีบุญเรือง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนโพธิสารพิทยากร เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
ปีที่ศึกษาค้นคว้า 2565 - 2566
ความมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภายหลังจากการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ (ร้อยละ 70)
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนโพธิสารพิทยากร แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ที่ผู้รายงานสอนมีรายละเอียดดังนี้
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565จำนวน 42 คน
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 38 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทั้ง 14 ชุด มีประสิทธิสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 96.67/92.93 เมื่อพิจารณาเป็นรายชุดพบว่า ชุดการเรียนการสอนชุดที่ 1 ระยะทางระหว่างจุดสองจุด มีประสิทธิภาพ 95.41/91.75 ชุดการเรียนการสอนชุดที่ 2 จุดกึ่งกลางระหว่างจุดสองจุด มีประสิทธิภาพ 94.16/90.88 ชุดการเรียนการสอนชุดที่ 3 ความชันของเส้นตรง มีประสิทธิภาพ 91.64/90.35 ชุดการเรียนการสอนชุด ที่ 4 เส้นขนาน มีประสิทธิภาพ 95.80/93.18 ชุดการเรียนการสอนชุดที่ 5 เส้นตั้งฉาก มีประสิทธิภาพ 95.38/92.63 ชุดการเรียนการสอนชุดที่ 6 ความสัมพันธ์ซึ่งมีกราฟเป็นเส้นตรง มีประสิทธิภาพ 96.25/90.70 ชุดการเรียนการสอนชุดที่ 7 ระยะห่างระหว่างเส้นตรงกับจุด มีประสิทธิภาพ 96.74/92.11 ชุดการเรียนการสอนชุดที่ 8 วงกลม มีประสิทธิภาพ 98.32/94.91 ชุดการเรียนการสอนชุดที่ 9 วงรี มีประสิทธิภาพ 98.54/94.39 ชุดการเรียนการสอนชุดที่ 10 พาราโบลา มีประสิทธิภาพ 98.96/94.56 ชุดการเรียนการสอนชุดที่11 ไฮเพอร์โบลา มีประสิทธิภาพ 96.86/92.81 ชุดการเรียนการสอนชุดที่ 12 การเลื่อนกราฟวงรี มีประสิทธิภาพ 98.92/94.36 ชุดการเรียนการสอนชุดที่ 13 การเลื่อนกราฟพาราโบลา มีประสิทธิภาพ 97.68/95.96 และชุดการเรียนการสอนชุดที่ 14 การเลื่อนกราฟไฮเพอร์โบลา มีประสิทธิภาพ 98.69/92.46 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3
4. ด้านความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.81) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อคำถามโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ดังนี้ ชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์มีระดับความยากง่ายพอเหมาะกับความสามารถของข้าพเจ้าอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.16) การเรียนจากชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ทำให้ข้าพเจ้ามีผลการเรียนดีขึ้นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.05) และข้าพเจ้ารู้สึกว่าข้อความอ่านง่าย ชัดเจน จูงใจให้อยากเรียนอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.03) ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 4