บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานผลการวิจัยการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2) เพื่อรายงานผลการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6
ผลการดำเนินงาน พบว่า
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 รายงานผล ดังต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์สภาพโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 พบว่า ผลการประเมินตนเอง มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ของโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 แสดงให้เห็นว่าการจัดศึกษาปฐมวัยที่ควรได้รับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การสร้างทัศนคติที่ดี และความถูกต้องต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัย การพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์ให้เด็กในศตวรรษที่ 21 การเสริมสร้างให้เด็กมีวินัยในตนเอง และการสร้างวินัยเชิงบวกและการส่งเสริมด้านความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
2. การจัดทำ(ร่าง) แนวทางการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ได้กำหนดกรอบการดำเนินงานโดยมี 6 องค์ประกอบ คือ Knowledge (K) ความรู้ ความเข้าใจ Readiness (R) ความพร้อมของเด็กปฐมวัย Attitude (A) ทัศนคติที่ดีต่อการศึกษาปฐมวัย Discipline (D) ความมีระเบียบวินัย Upgrading (U) การยกระดับคุณภาพของเด็กปฐมวัย และ Mother nature (M) การเลี้ยงดู (พลังธรรมชาติของเด็กปฐมวัย) โดยระบุวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ และโครงการที่เกี่ยวข้อง
3. การประชุมสนทนากลุ่มร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาปฐมวัย พบว่า แนวทางการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 มีความเหมาะสม สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เข้าถึงธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ทุกตัวชี้วัด มีโครงการ/จัดกิจกรรม มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง บนพื้นฐานของการพัฒนาการ 4 ด้าน ของเด็ก
4. การจัดทำคู่มือการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 มอบให้ผู้บริหารและครูผู้สอนปฐมวัย โรงเรียนในสังกัด จำนวน 179 โรงเรียน ครบทุกโรงเรียน
5. การอบรมพัฒนาคุณภาพผู้บริหาร ครูผู้สอนระดับปฐมวัย และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาที่ผ่านการอบรม ร้อยละ 88.31 มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ครูผู้สอนระดับปฐมวัย ที่ผ่านการอบรม ร้อยละ 93.31 มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ผ่านการอบรม ร้อยละ 87.89 มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อรายงานผลการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานของโครงการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 รายงานผล ดังต่อไปนี้
1. ผลการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานของโครงการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 พบว่า โรงเรียนสามารถดำเนินการตามตัวชี้วัดในองค์ประกอบตามแนวทางการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ร้อยละ 95.53
ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ได้ข้อมูลผลการวิเคราะห์สภาพโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 เพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางโครงการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 มีแนวทางการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 และโรงเรียนได้รับคู่มือแนวทางการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6
3. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรที่รับผิดชอบเด็กปฐมวัย พร้อมทั้งผู้ปกครองเด็กปฐมวัย มีความรู้ความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย
4. โรงเรียนมีแนวทางการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model และมีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดทำสื่อและจัดบรรยากาศในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเพื่อประโยชน์ในการจัดประสบการณ์ และส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัย
5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 สนับสนุนการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหาร และผู้ปกครอง ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ในการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย
6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 นำผลการนิเทศ ติดตามการพัฒนาตามแนวทางยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1 จากผลการวิจัยการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ทำให้เกิดการมุ่งเป้าหมายร่วมกันของผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยดำเนินการตามคู่มือแนวทางการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model
1.2 โรงเรียนที่ดำเนินงานตามตัวชี้วัดในองค์ประกอบตามแนวทางการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ระยะที่ 1 พบว่า โรงเรียนสามารดำเนินการตามตัวชี้วัดในองค์ประกอบตามแนวทางการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ยังไม่ครบทุกตัวชี้วัด ทำให้ภาพรวมของการดำเนินงานยังไม่ครบทุกโรงเรียน และไม่ครบร้อยละ 100 ของตัวชี้วัด ดังนั้นจึงควรมีการนิเทศ ติดตาม โรงเรียน เพื่อสอบถาม ให้กำลังใจ และสนับสนุนช่วยเหลือให้กับโรงเรียนที่จะสามารถดำเนินงานตามแนวทางการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ได้
2. ข้อเสนอแนะเพื่อดำเนินโครงการต่อไป
2.1 ควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานของโครงการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วย KRADUM6 Model ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ในระยะต่อไป เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจ ในการดำเนินงานของโรงเรียน
2.2 ควรติดตาม การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินโครงการต่อไป